กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก รวมเทคโนโลยีของ วท. เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณท์ชุมชน นาโนเทคโชว์ผลงานวิจัย smart soil...แปรรูปผักตบชวาให้เป็นสารปรับปรุงดิน

นาโนเทคโชว์ผลงานวิจัย smart soil...แปรรูปผักตบชวาให้เป็นสารปรับปรุงดิน

พิมพ์ PDF

 


 
    ทุกวันนี้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งในแหล่งน้ำธรรมชาติก็คือผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่เติบโตเร็ว (ผักตบชวา 2 ต้น สามารถแตกใบและเจริญเติบโตเป็นต้นได้ถึง 30 ต้น ภายในเวลา 20 วัน ถ้าเริ่มปล่อยผักตบชวาในแหล่งน้ำเพียง 10 ต้น จะสามารถแพร่กระจายเพิ่มปริมาณเป็น1 ล้านต้น ภายในระยะเวลา 1 ปี) ก่อให้เกิดปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำกีดขวางการระบายน้ำจนก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้เกิดการตื้นเขินของแหล่งน้ำจนต้องขุดลอกบ่อย เป็นต้น 

    การแก้ปัญหาที่ทำกันอยู่คือการนำผักตบชวาไปทำเป็นปุ๋ยหรือนำเส้นใยไปทำเป็นวัสดุจักสานต่างๆ แต่ก็ทำได้ในปริมาณที่จำกัด ดังนั้นนักวิจัยห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและการเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงริเริ่มโครงการแปรรูปผักตบชวาให้เป็นวัสดุทางการเกษตร หรือ SMART SOIL ซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยกระบวนการแปรรูปผักตบชวาที่ใช้สารนาโนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา กระบวนการแปรรูปผักตบชวาเป็น SMART SOIL นี้ นักวิจัยได้ใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน (Hydrothermal Carbonization) ซึ่งใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมง ทำให้ได้สารปรับปรุงดินจากผักตบชวาที่มีธาตุอาหารเหมาะกับการเพาะปลูก แถมยังมีคุณสมบัติที่เทียบเท่าดินที่ผ่านการหมักตามธรรมชาติเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี กระบวนการดังกล่าวสามารถช่วยร่นเวลาในการกำจัดผักตบชวาได้อย่างมาก และยังลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดผักตบชวาด้วยวิธีการเผาทำลายอีกด้วย
 
    ปัจจุบันโครงการแปรรูปผักตบชวาให้เป็นสารปรับปรุงดิน กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการขยายกำลังการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการเป็นระดับภาคสนาม เพื่อพัฒนาเสถียรภาพของกระบวนการให้นำไปสู่การสร้างโรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่อไป โดยมีอัตราการแปรรูปผักตบชวาอยู่ที่ 8 ตันต่อวัน รวมถึงการพัฒนาระบบการผลิตในรูปแบบเคลื่อนที่ได้ซึ่งจะสามารถนำไปใช้งานได้จริง ณ พื้นที่เป้าหมายเช่นตามประตูระบายน้ำในแม่น้ำสายหลักที่มีจำนวนผักตบชวาจำนวนมาก
    นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยศูนย์นาโนเทค ยังได้ขยายผลไปที่วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย เพื่อนำมาแปรรูปให้เป็นประโยชน์ด้านการเกษตร ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบและลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วยหากประเทศไทยสนับสนุนการผลิตในโครงการลักษณะนี้มากขึ้น เราอาจเห็นประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกวัสดุปลูก หรือดินที่แปรรูปจากวัชพืชและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้มากขึ้น และอาจส่งออกไปยังประเทศแถบทะเลทรายที่ยังต้องการดินหรือวัสดุปลูกพืชจำนวนมากในการเกษตร ซึ่งจะส่งผลดีให้งานวิจัยไทยสามารถสร้างรายได้และดึงเม็ดเงินเข้าประเทศได้ต่อไป 

แหล่งข้อมูล
http://www.nstda.or.th/news/15976--smart-soil-/
http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/w-variety/374-eichornia/
 
เผยแพร่ข้อมูลโดย : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป