กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก รวมเทคโนโลยีของ วท. เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณท์ชุมชน การป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวา

การป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวา

พิมพ์ PDF

    ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เช่น ตะกร้า กระเป๋า หมวก รองเท้า เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดเชื้อราเมื่ออยู่ในสภาวะอากาศ ชื้น สำหรับวิธีที่กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผักตบชวาใช้ในการป้องกันการเกดิ เชื้อรา คือ การอบก้านผัก ตบชวาแห้งด้วยกำมะถัน ซึ่งมีวิธีการคือ นำก้านผักตบชวาแห้งใส่ในภาชนะเช่น ตู้ไม้ โอ่งน้ำ เป็นต้น แล้วเทผงกำมะถันลงบนถ่านที่ติดไฟที่วางอยู่ด้านล่างของภาชนะ จากนั้นปิดภาชนะให้สนิท ทิ้งไว้เป็นเวลา 1-2 วัน ก็นำก้านผักตบชวาแห้งมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แล้วทาผลิตภัณฑ์ด้วยแลกเกอร์หรือนำมา อบกำมะถันอีกครั้งแล้วทาด้วยแลกเกอร์ก็ได้ แต่วิธีการดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่ออากาศชื้น เชื้อราก็สามารถเจริญเติบโตได้อีกนอกจากนี้ การเผากำมะถันในกระบวนการอบด้วยกำมะถันยังทำให้เกิดก๊าซพิษและฝนกรดที่ทำลาย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
    กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสำนักเทคโนโลยีชุมชน ได้ศึกษาวิจัยหาวิธีป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่ป้องกันการ เกิดเชื้อราได้เป็นเวลานาน ปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม วิธีการไม่ยุ่งยาก ได้เป็นผลสำเร็จและ ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยนำก้านผักตบชวาแห้งที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ มาล้างน้ำให้สะอาดผึ่งให้สะเด็ดน้ำพอหมาดๆ จากนั้นนำก้านผักตบชวาแช่ลงในสารละลายโซเดียมเบนโซเอตหรือสารกันบูด ความเข้มข้นร้อยละ 3 ถึง 5 เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แล้วนำก้านผักตบชวาไปผึ่งลมให้แห้งสนิท จึงนำไปจักสานเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ และในขณะจักสานผลิตภัณฑ์ผักตบชวาให้ฉีดพ่นสารละลายโซเดียมเบนโซเอต เจือจางความเข้มข้นร้อยละ 0.1 แทนน้ำสะอาดธรรมดา ซึ่งนอกจากทำให้ก้านผักตบชวานิ่ม ง่ายต่อการจักสานแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราอีกชั้นหนึ่งด้วย จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ไปทำให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง
    กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยี "การป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวา" ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผักตบชวาตั้งแต่ปี 2546 - ปัจจุบัน ในทุกภาคของประเทศ เช่น พะเยา สุพรรณบุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา อุตรดิตถ์ พิจิตร สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา นนทบุรี เป็นต้น รวม 43 กลุ่ม จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยตรง 1,235 คน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดวิทยากรในท้องถิ่น (training for the trainer) เป็นเครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ วศ. อย่างต่อเนื่อง

สาขาผลงาน : เทคโนโลยีวัสดุและเซรามิก

ชื่อผู้ผลิตผลงาน : นายสุพะไชย์ จินดาวุฒิกุล

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป