ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปสร้างอาชีพ เพิ่มมูลค่าได้ ถ้ามีการพัฒนาให้มีสมบัติด้านความคงทนของสีดี และยังสามารถเป็นรายได้เสริมให้กับชุมชนได้เป็นการสร้างรากฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสำนักเทคโนโลยีชุมชนตระหนักถึงการนำวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นใบหูกวางหรือ เปลือกผลมังคุด ที่วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร สามารถสกัดและทำเป็นสีย้อมฝ้ายได้ จึงได้มีการศึกษาวิจัยพัฒนากระบวนการย้อมฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ จากใบหูกวาง และจากเปลือกผลมังคุด เริ่มตั้งแต่การเตรียมเส้นด้ายฝ้ายก่อนย้อม การเตรียมสีย้อม การย้อมสี การใช้สารช่วยติดสี และการทำให้ฝ้ายที่ย้อมสีมีความคงทนของสีต่อการซักฟอกได้ดี มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มแม่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีประกอบด้วยภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติจริง ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะเรียนรู้เทคนิค วิธีการและเข้าใจเหตุผลทุกขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ สามารถนำไปปฏิบัติ และสามารถขยายผลให้กับชุมชนได้ต่อไป
ประโยชน์
1. เป็นการสร้างงาน เพิ่มรายได้ ทำให้ไม่เกิดการย้ายถิ่นและน้ำทิ้งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมชุมชน
2. ผู้รับการถ่ายทอดสามารถนำไปขยายผลทดลองต่อยอดกับพืชให้สีชนิดอื่นได้
3. เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มแม่บ้านที่ใช้สีเคมีย้อมผ้าไม่ต้องเสี่ยงกับไอของสีเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
4. นํ้าสีหลังย้อมแล้วสามารถเก็บไว้ย้อมซ้ำได้อีก
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นางพิศมัย เลิศวัฒนะพงษ์ชัย
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7108
โทรศัพท์มือถือ : 08 9445 1689
โทรสาร : 0 2201 7102
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน