เนื่องจากประเทศไทยเปน็ ประเทศเกษตรกรรม มีผลไม้และพืชผลทางการเกษตรมากมาย ซึ่งในบางช่วงของฤดูกาลมีผลไม้ออกมามากจนล้นตลาด ทำให้เกิดปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกร ดังนั้นจึงมีการคิดวิธีการแก้ปัญหา ด้วยการนำผลไม้ที่มีราคาตกต่ำมาทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่า โดยการนำผลไม้มาผลิตทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าการแปรรูป หรือการถนอมอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำผลไม้ดังกล่าวมาเผาเป็นถ่านผลไม้ เพื่อใช้ในการดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีหลายทาง เลือกในการแก้ไขปัญหา
การผลิตถ่านผลไม้นั้นมีความยุ่งยากกว่าผลิตถ่านจากไม้ทั่วไป เนื่องจากผลไม้มีความเปราะบาง เมื่อได้รับความร้อนสูงก็จะแตกหัก และกลายเป็นขี้เถ้าได้ง่าย จากการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ถ่านผลไม้ที่ชุมชนผลิตพบว่าการดูดกลิ่นมีคุณภาพตํ่ากว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านดูดกลิ่น (มผช.180/2549) โดยพิจารณาจากค่าไอโอดีน และผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการแตกหักเสียหายค่อนข้างมาก จากปัญหาดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การควบคุมความร้อนระหว่างการเผากระทำได้ค่อนข้างยาก ทำให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหายที่ค่อนข้างมากคือ ร้อยละ 50–80
2. การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่สม่ำเสมอเพราะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างการเผาและระยะเวลาการเผาไม่แน่นอน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการแตกหักเสียหาย รูปทรงไม่สวยงามหรือบ่อยครั้งผลิตภัณฑ์กลายเป็นขี้เถ้า เนื่องจากอุณหภูมิในการเผาสูงเกินไป และการจัดวางผลไม้ก่อนเผาไม่เป็นระเบียบ ทำให้ผลิตภัณฑ์ถ่านที่ได้มีการทับซ้อนกัน
กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักเทคโนโลยีชุมชน เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาวิจัยการผลิตถ่านผลไม้ โดยนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าไปแก้ไขปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นไปตาม มผช. ถ่านดูดกลิ่น โดยพัฒนาเตาเผาที่ดัดแปลงจากถังน้ำมัน 200 ลิตร และ 50 ลิตร สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงแกลบ ลดการเสียหายลงเหลือเพียงร้อยละ 10-30 และผลไม้บางชนิดไม่มีการสูญเสียเลย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นางสาวอุราวรรณ อุ่นแกว้
นายอรุณ คงแก้ว
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7107, 0 2201 7112
โทรสาร : 0 2201 7102
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
,
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน