ในปัจจุบันได้มีการนำการผลิตกระดาษหัตถกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ใบสับปะรด ฟางข้าว ต้นกล้วย เปลือกข้าวโพด ปอสา เป็นต้น เพื่อเข้าสู่ระบบหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นนโยบายของภาครัฐ ที่จะสนับสนุนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน หรือกลุ่มแม่บ้าน และใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ แต่บุคลากรในท้องถิ่นยังขาดความรู้พื้นฐาน ในการผลิตเยื่อ การฟอกเยื่อ และการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์กระดาษมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เกิดการสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการต่างๆ และเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าว กลุ่มเยื่อกระดาษ โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้นโดยใช้สารเคมีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปริมาณที่เหมาะสมได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า
ประโยชน์ต่อชุมชน :
1. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตกระดาษหัตถกรรมโดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการศึกษารวมทั้งการนำผลิตภัณฑไ์ปจำหนา่ยให้แก่หน่วยงานองค์กรต่างๆ ชุมชนในท้องถิ่น
2. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การสร้างรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น
3. ช่วยส่งเสริมและทำให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น
4. เพื่อเปน็ การเพิ่มมูลคา่ การใชป้ ระโยชนจ์ ากพืชเส้นใยชนิดต่างๆ และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น เปลือกปอสา ฟางข้าว ต้นกล้วย ผักตบชวา และใบสับปะรด เป็นต้น
5. เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
6. เพื่อสร้างความร่วมมือกันระหว่าง เทศบาล โรงเรียนชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
7. สามารถพัฒนาบุคลากรของท้องถิ่นให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสะอาดในการผลิตกระดาษหัตถกรรม
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นายจรวย ธงชัย
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7123
โทรสาร : 0 2201 7123
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน