ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เช่น ตะกร้า กระเป๋า หมวก รองเท้า เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดเชื้อราเมื่ออยู่ในสภาวะอากาศชื้น สำหรับวิธีที่กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผักตบชวาใช้ในการป้องกันการเกิดเชื้อรา คือ การอบก้านผักตบชวาแห้งด้วยกำมะถัน ซึ่งมีวิธีการคือ นำกา้นผักตบชวาแห้งใส่ในภาชนะ เช่น ตู้ไม้ โอ่งน้ำ เป็นต้น แล้วเทผงกำมะถันลงบนถ่านที่ติดไฟที่วางอยู่ด้านล่างของภาชนะ จากนั้นปิดภาชนะให้สนิท ทิ้งไว้เป็นเวลา 1-2 วัน ก็นำก้านผักตบชวาแห้งมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ แล้วทาผลิตภัณฑ์ด้วยแลกเกอร์หรือนำมาอบกำมะถันอีกครั้งแล้วทาด้วยแลกเกอร์ก็ได้ แต่วิธีการดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่ออากาศชื้น เชื้อราก็สามารถเจริญเติบโตได้อีก นอกจากนี้การเผากำมะถันในกระบวนการอบด้วยกำมะถันยังทำให้เกิดก๊าซพิษและฝนกรดที่ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสำนักเทคโนโลยีชุมชน ได้ศึกษาวิจัยหาวิธีป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่ป้องกันการเกิดเชื้อราได้เป็นเวลานานปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อมวิธีการไม่ยุ่งยาก ได้เป็นผลสำเร็จและได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยนำก้านผักตบชวาแช่ลงในสารละลายโซเดียมเบนโซเอต ทีมีความเข้มข้นและระยะเวลาการแช่ที่เหมาะสม แล้วนำก้านผักตบชวาไปผึ่งลมให้แ้ห้งสนิท จึงนำไปจักสานเปน็ ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ต่อไป
กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยี “การป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวา” ให้แก่ กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผักตบชวาตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน ในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น พะเยา สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา อุตรดิตถ์ พิจิตร สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา นนทบุรี เป็นต้น รวม 43 กลุ่ม จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยตรง 1,235 คน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดวิทยากรในท้องถิ่น (training for the trainer) เป็นเครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์
กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผักตบชวาใช้เทคโนโลยีการป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่ได้รับการถ่ายทอดจากกรมวิทยาศาสตร์บริการไปพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ปราศจากปัญหาจากเชื้อรา ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผักตบชวาสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นายสุพะไชย์ จินดาวุฒิกุล
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7108
โทรสาร : 0 2201 7102
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน