กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

เทคโนโลยีสุญญากาศ

พิมพ์ PDF

                  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีภารกิจในการติดตั้งและพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงสยาม(Siam Photon Source)  เพื่อให้บริการแสงซินโครตรอนในงานวิจัยสาขาต่างๆ ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จังหวัดนครราชสีมา กระบวนการผลิตแสงซินโครตรอนนั้นต้องใช้เทคโนโลยีสุญญากาศขั้นสูงที่เรียกว่า ระดับ Ultra High Vacuum (UHV)  มีความดันระดับ 10-10 ทอร์(torr) เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญ  สถาบันฯ ได้พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีสุญญากาศระดับสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสามารถผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบสุญญากาศระดับสูง(ที่มีความดันต่ำมาก) ที่สุดที่สามารถทำได้ในประเทศไทยขณะนี้

ภาพตัวอย่างชิ้นส่วนสุญญากาศ

 

ปั๊มสุญญากาศแบบไอออน (Ion Pump)

     

        แบบ Sputter Ion Pump

                     ระบบสุญญากาศที่ใช้ในเครื่องกำเนิดแสงสยามนั้นเป็นสุญญากาศในระดับที่สูงมาก  ซึ่งไม่สามารถสร้างได้ด้วยปั๊มสุญญากาศแบบทั่วไป  แต่ใช้ปั๊มสุญญากาศแบบไอออน มีหลักการทำงาน คือ การทำให้อากาศที่เหลืออยู่ในบริเวณนั้นแตกตัวเป็นไอออน แล้วควบคุมการเคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร่งภายใต้สนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก มาพุ่งชนไททาเทียมบริสุทธิ์ให้หลุดออกมาจับกับโมเลกุลของอากาศ และฝังตัวอยู่ภายในเซลล์ของตัวปั๊ม ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตปั๊มสุญญากาศแบบไอออนนี้ ยังไม่มีในประเทศไทย ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาสูง สถาบันฯ จึงได้พัฒนา และปรับปรุงปั๊มสุญญากาศแบบไอออนขึ้นมาใช้ภายในสถาบันฯ โดยทำการศึกษา ออกแบบ และสร้างต้นแบบปั๊มสุญญากาศขนาด 150 ลิตรต่อวินาที ได้เป็นผลสำเร็จ ปั๊มสุญญากาศแบบไอออนที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถสร้างระบบสุญญากาศระดับสูง ที่มีความดันอยู่ในระดับ 3 x 10- 10 ทอร์(torr) ซึ่งเทียบเคียงได้กับปั๊มสุญญากาศแบบไอออนที่นำเข้าจากต่างประเทศ  อีกทั้งยังราคาถูกกว่าการนำเข้ามากกว่ากึ่งหนึ่งด้วย  ปัจจุบันสถาบันฯ ได้พัฒนาปั๊มสุญญากาศแบบไอออนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตรา 500 ลิตรต่อวินาที  ซึ่งปั๊มสุญญากาศแบบไอออนที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ประโยชน์ที่ได้รับ
•    ทำให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมระดับสูงที่คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรไทย
•    เกิดอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นในประเทศ  คือ อุตสาหกรรมการผลิตปั๊มสุญญากาศ ซึ่งสถาบันฯ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นนี้สู่ภาคอุตสาหกรรมของไทย
•    ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างความได้เปรียบทางการค้า
•    ลดต้นทุนการจัดทำระบบสุญญากาศ


ติดต่อสอบถามข้อมูล
คุณฉัตรชัย  พิศพล และคุณรัชนก  ศรีผึ้ง
ส่วนงานพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
อาคารสุรพัฒน์ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ถ.มหาวิทยาลัย  ต.สุรนารี  อ.เมือง  จ.นครราชสีมา  30000
โทรศัพท์  :  0-4421-7040  ต่อ 1607, 1608
โทรสาร  :  0-4421-7047
Website  :  www.slri.or.th
E-mail  :  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป