กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish

เทคโนโลยีการทำความเย็นด้วยฮีเลียมเหลว

พิมพ์ PDF

        การทำความเย็นที่เราพบเห็นโดยทั่วไปนั้น  อุณหภูมิที่ได้ก็จะลดต่ำลงไม่มากเมื่อเทียบกับการทำความเย็นที่ต้องให้ อุณหภูมิต่ำมากที่เรียกว่า แบบไครโอเจนิกส์(Cryogenics) นั้น อุณหภูมิที่ได้จะต่ำกว่า -150°C หรือ -238°F  สถานะในการทำความเย็นแบบไครโอเจนนิกส์นั้น (ต่ำกว่า -150°C) จะมีผลต่อโครงสร้างวัสดุต่างๆ เป็นอย่างมาก
        สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ บริษัท แอร์ลิควิด จำกัด ประเทศฝรั่งเศส ได้ประสบความสำเร็จในการทำความเย็นแบบไครโอเจนนิกส์ด้วยฮีเลียมเหลว ซึ่งระบบผลิตฮีเลียมเหลวได้มีการทดสอบการทำงานภายในห้องปฏิบัติการแสงสยาม เป็นที่เรียบร้อย ปัจจุบันสถาบันฯ สามารถผลิตฮีเลียมเหลวได้ในอัตรา 21.6 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้ในการจ่ายความเย็นให้แก่ระบบแม่เหล็กตัวนำ ยวดยิ่ง(Superconducting Wavelength Shifter : WLS) เพื่อให้สามารถผลิตแสงซินโครตรอนที่มีพลังงานในย่านรังสีเอกซ์พลังงานสูง ซึ่งจะติดตั้งที่วงกักเก็บอิเล็กตรอนของเครื่องกำเนิดแสงสยาม และต้องเดินเครื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง/วัน

        สถาบันฯ ได้ดำเนินการโครงการระบบผลิตฮีเลียมเหลวขึ้นเพื่อใช้สำหรับแม่เหล็กตัวนำ ยวดยิ่ง WLS ขนาดความเข้มสนามแม่เหล็ก 6.4 เทสลา ที่จะติดตั้งเพื่อใช้ในการผลิตแสงซินโครตรอนในย่านรังสีเอกซ์พลังงานสูงของ ระบบลำเลียงแสง และสถานีทดลองที่ 7.2 หรือสถานีทดลองทางด้าน Macromolecular Crystallography โดยที่ระบบผลิตฮีเลียมเหลวต้องทำการจ่ายฮีเลียมให้แก่แม่เหล็กที่ต้องทำงาน ภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ ณ อุณหภูมิ 4.5 องศาเคลวิน (-269 องศาเซลเซียส) และนำฮีเลียมที่ระเหยจากการใช้งานวนกลับมาทำการควบแน่นเป็นฮีเลียมเหลวใหม่ ต่อไปเป็นวัฏจักร สถาบันฯ จึงได้ออกแบบระบบผลิตฮีเลียมเหลวนี้เป็นการเฉพาะเพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพ ของฮีเลียมเหลวให้ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ จากการดำเนินการดังกล่าวทำให้บุคลากรของสถาบันฯ มีความพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์สำหรับเทคนิคการทำความเย็นด้วยฮีเลียมเหลว

 

 

 

 ติดต่อสอบถามข้อมูล
คุณฉัตรชัย  พิศพล และคุณรัชนก  ศรีผึ้ง
ส่วนงานพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
อาคารสุรพัฒน์ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ถ.มหาวิทยาลัย  ต.สุรนารี  อ.เมือง  จ.นครราชสีมา  30000
โทรศัพท์  :  0-4421-7040  ต่อ 1607, 1608
โทรสาร  :  0-4421-7047
Website  :  www.slri.or.th
E-mail  :  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป