การสร้างระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ ทีมวิจัยเนคเทคได้ทำการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่ขึ้นมาเองเป็นแบบ สถาปัตยกรรมเปิด ซึ่งมีข้อดีคือสามารถหาฮาร์ดแวร์ต่างๆได้ในท้องตลาด เมื่อระบบควบคุมเสียไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ทั้งชุดผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยน เฉพาะส่วนที่เสียเท่านั้น ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญของระบบ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม การ์ด Motion Control และ I/O Module ถ้าส่วนใดเสียผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยนเป็นส่วนได้ อีกทั้งเนื่องจากทางทีมวิจัยได้พัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาเอง เมื่อฮาร์ดแวร์ใดในตลาดเลิกผลิตไปแล้วทางทีมวิจัยสามารถนำซอฟท์แวร์ไปปรับ ปรุงเพื่อใช้งานในฮาร์ดแวร์ใหม่ได้ง่าย ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากพื้นฐานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีแต่ละชนิดมีพื้นฐานคล้ายคลึง กัน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ ไปพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรอื่นเช่น เครื่องกลึง เครื่องเจียระไน หรือเครื่องตัดเลเซอร์ได้รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาในเครื่องจักรที่ มีความซับซ้อนเช่นเครื่องซีเอ็นซีแบบ 5 แกน หรือ Robot Armต่อไปในอนาคต
ลักษณะของการใช้งาน
การนำระบบควบคุมไปติดตั้งกับเครื่องจักรสามารถทำได้ง่ายเหมือนระบบควบ คุมที่ซื้อจากต่างประเทศ สามารถ นำไปติดตั้งได้ทั้งเครื่องจักรใหม่และเครื่องจักรเก่า ภายในตัวชุดควบคุมมีหน้าจอแสดงผล (Man Machine Interface) สำหรับแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรและแผงคีย์บอร์ดควบคุม ชุดควบคุมจะมีสัญญาณควบคุมมอเตอร์ ด้วยสัญญาณอนาล็อก (+/- 10 V) และรับสัญญาณ Encoder จากมอเตอร์ ในชุดควบคุมจะมีส่วนติดต่อกับ I/O ภายนอก เช่น ลิมิตสวิตซ์ สปินเดิล หรือส่วนน้ำหล่อเย็น เป็นต้น
ประโยชน์ของผลงาน
- ช่วยลดการนำเข้าชุดเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ
- เป็นการนำเครื่องจักรกลซีเอ็นซีที่เสื่อมสภาพมาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้อีก แทนการทิ้งเครื่อง
- เนื่องจากพื้นฐานของเครื่องจักรกลซีเอ็นซีแต่ละชนิดมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน สามารถนำความรู้ที่ได้
จากการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องกัดอัตโนมัติ ไปพัฒนาระบบควบคุมเครื่องจักรอื่นเช่น เครื่องกลึง เครื่องเจียระไน หรือเครื่องตัดได้ ในอนาคต รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาในเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนเช่นเครื่อง ซีเอ็นซีแบบ 5 แกน หรือRobot Arm ต่อไป
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนไทย เพื่อประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่อไป
การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรม : การผลิต
การผลิต : การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เป็นต้น
สาขาผลงาน : อุตสาหกรรม
ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
นายกิตติพงศ์ เอกไชย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ICA)