ปัจจุบันเทคโนโลยีในการสร้างชิ้นส่วนขนาดเล็ก ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการลดขนาดของอุปกรณ์ให้เล็กลง ดังนั้นแสงซินโครตรอนจึงถูกนำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว โดยการนำแบบที่ได้ไปอาบรังสีเอกซ์ที่สถานีทดลอง BL-6 : X-Ray Lithography รังสีเอกซ์จะผ่านทะลุเข้าไปในพอลิเมอร์ไวแสงมากกว่า 1,000 ไมโครเมตร(µm) ส่งผลให้โครงสร้างที่ได้มีความแม่นยำตามที่ออกแบบไว้ และสามารถพัฒนานำไปใช้เป็นแม่พิมพ์โลหะเพื่อผลิตชิ้นส่วนขนาดจิ๋วที่ต้องการ จำนวนมากได้ ส่งผลให้ต้นทุนการสร้างชิ้นงานลดลง จึงเหมาะสำหรับนำไปสร้างชิ้นงานต้นแบบ และชิ้นงานในอุตสาหกรรมที่มีการผลิตชิ้นส่วนขนาดจิ๋วต่าง ๆ เช่น
• อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา เช่น ชิ้นส่วนเฟืองขนาดเล็ก ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการประกอบเป็นนาฬิกา ยิ่งต้องการความแม่นยำในการทำงานมากเท่าไร ความละเอียดแม่นยำในการสร้างเฟืองขนาดเล็กก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
|
• อุตสาหกรรมการผลิตมอเตอร์ขนาดเล็ก ในปัจจุบันการผลิตชิ้นงานหลายประเภท มีความจำเป็นต้องใช้มอเตอร์ขนาดเล็กเป็นส่วนประกอบ เช่น อุปกรณ์การแพทย์ ส่วนขับเคลื่อนหัวอ่านแผ่นดิสก์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งระบบสั่นในโทรศัพท์มือถือ |
• อุตสาหกรรมการผลิตเลนส์กล้องถ่ายรูป หรือแม้กระทั่งกล้องดิจิตอลขนาดเล็กก็ยังมีส่วนประกอบของเฟืองขนาดเล็ก เพื่อช่วยในการโฟกัสภาพอัตโนมัติ และการซูมภาพเข้าออก ซึ่งเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างมากในการใช้
|
• ทางการแพทย์ปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีระดับไมโครเมตร และนาโนเมตร มาใช้การผลิตเครื่องมือต่าง ๆ เช่น อวัยวะต่าง ๆ เครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือสำหรับการวินิจฉัยโรค เป็นต้น
www.davance.com/intrend.html
|
• อุตสาหกรรมยานยนต์ (ส่วนของตัววัดความเร่งใน Airbag Sensor) เป็นการสร้างตัวตรวจจับ เพื่อนำไปใช้กับระบบถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ซึ่งได้แก่ สวิตช์ตรวจจับความเร่ง และตัวขับเร้าแบบซี่หวี |
• อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมกระดาษ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมอาหารและยา สามารถนำอุปกรณ์ตรวจวัดความชื้นมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น การตรวจความชื้นในเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้น |
ติดต่อสอบถามข้อมูล
คุณฉัตรชัย พิศพล และคุณรัชนก ศรีผึ้ง
ส่วนงานพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
อาคารสุรพัฒน์ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ : 0-4421-7040 ต่อ 1607, 1608
โทรสาร : 0-4421-7047
Website : www.slri.or.th
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
,
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน