แยม (jam or fruit jam) โดยปกติผลิตจากผลไม้ ซึ่งองค์ประกอบหลักในการผลิตแยม คือต้องใช้ผลไม้ที่มีปริมาณเพคตินสูง หรือมีการเติมเพคตินผง ร่วมกับการเติมนํ้าตาลใหมี้ความหวานที่เหมาะสม ซึ่งตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) แยมผลไม้ต้องมีปริมาณสารที่ละลายได้ทั้งหมด (สัมพันกับค่าความหวาน) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 3.0-3.2
กรมวิทยาศาสตร์บริการได้พัฒนาเทคนิคการผลิตแยมโดยใช้เ้นื้อกล้วยเป็นแหล่งของเพคติน หรือกล่าวได้ว่าเป็นการใช้เพคตินธรรมชาติจากเนื้อกล้วย ทั้งนี้เทคนิคการผลิต คือ ใช้กลวยนํ้าว้า กล้วยไข่ หรือกล้วยเล็บมือนาง ที่ระดับความสุกเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกวา่ ห่าม ซึ่งจะมีปริมาณเพคตินอยูสู่ง นำเนื้อกล้วยผ่านความร้อนเพื่อทำลายเอนไซม์เพื่อป้องกันไม่ให้เ้นื้อกล้วยเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล และใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแยมผลไม้หรือแยมพืชผักสมุนไพรการเติมผลไม้ชนิดอื่นเพื่อให้ได้แยมผลไม้ผสม(mixed fruit jam) ทำให้แยมมีสีสวย รสชาติดี หรือการเติมผัก เช่น แครอทก็สามารถทำได้้เมื่อใช้เ้ทคนิคดังนี้ ทำใหผู้ผลิตแยมได้โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องใช้เ้พคตินผงที่มีราคาแพง
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นางวรรณดี มหรรณพกุล
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7420,7415
โทรสาร : 0 2201 7102
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน