กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก รวมเทคโนโลยีของ วท. เทคโนโลยีแปรรูปอาหาร การใช้วิธีการฉายรังสีแกมมาลดการสูญเสียของมะขามหวาน ระหว่างการเก็บรักษา

การใช้วิธีการฉายรังสีแกมมาลดการสูญเสียของมะขามหวาน ระหว่างการเก็บรักษา

พิมพ์ PDF

การใช้วิธีการฉายรังสีแกมมาลดการสูญเสียของมะขามหวาน ระหว่างการเก็บรักษา     เชื้อราและแมลงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่มะขามหวาน การผึ่งแดด การอบด้วยไอน้ำ ลมร้อน และเตาไมโครเวฟ สามารถลดปัญหาที่เกิดจากเชื้อราได้ แต่ไม่สามารถกำจัดแมลงที่อยู่ภายในฝักมะขามหวานได้ทั้งหมด จากการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้านำมะขามหวาน ไปลดความชื้นลงด้วยการผึ่งแดด หรืออบไอน้ำ หรืออบด้วยตู้อบไมโครเวฟและนำไปฉายรังสีปริมาณ 1 กิโลเกรย์ จะสามารถลดการสูญเสียของมะขามหวานจากเชื้อราและแมลงได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ การลดความชื้นในเนื้อมะขามหวานลงจะทำให้เชื้อราไม่สามารถเจริญได้ ส่วนแมลงที่อาจติดมาในฝักมะขามหวานจะถูกทำลายจนหมดสิ้นด้วยการฉายรังสีแกมมามะขามหวานที่ผ่านการฉายรังสีแล้วสามารถเก็บได้นานไม่น้อยกว่า 8 เดือน โดยยังมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ชิมการทดลองวางจำหน่ายมะขามหวานฉายรังสีในบริเวณองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) ศูนย์การค้าของกรุงเทพมหานครและบางจังหวัดในภาคอีสาน พบวา่ ผู้บริโภคที่ซื้อมะขามหวานฉายรังสีไปรับประทานแล้ว ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95) มีความพอใจคุณภาพของมะขามหวานฉายรังสีในเรื่องการปลอดจากเชื้อราและแมลง

 

ขั้นตอนการปฏิบัติก่อนการนำมะขามหวานไปฉายรังสี
1. ก่อนนำมะขามหวานไปฉายรังสีจะต้องไปยื่นขอใบอนุญาตการใช้ฉลากมะขามหวานฉายรังสีจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน เมื่อได้รับเลขทะเบียน อย. มะขามหวานฉายรังสีแล้ว จึงจะนำมะขามหวานไปรับการฉายรังสีได้
2. สวนมะขามหวานควรมีการควบคุมการระบาดของราและแมลงโดยการพ่นสารเคมีหากพบการระบาดเก็บมะขามหวานที่แกจัดอย่าให้ฝักแตก ตัดก้านที่ขั้วให้สั้น คัดเลือกเอาแต่ฝักที่ดี ไม่แตก และไม่มีร่องรอยการทำลายของแมลง
3. นำไปผึ่งแดดประมาณ 1/2 วัน แล้วนำมากองรวมกันในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
4. เรียงบรรจุมะขามหวานลงในกล่องพีวีซีที่สามารถป้องกันแมลงจากภายนอกไม่ให้เข้าไปได้อีก
5. บรรจุน้ำหนัก 1 หรือ 1/2 กิโลกรัม ปิดฝาให้สนิทและปิดผนึกด้วยกาวเทปพลาสติก ติดฉลากผลิตภัณฑ์ฉายรังสีให้เรียบร้อย
6. ส่งมะขามหวานไปฉายรังสีที่ศูนย์ฉายรังสี หรือโรงงานฉายรังสีที่อยู่ใกล้เท่าที่โอกาสจะอำนวย

 

ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นายยุทธ์พงศ์ ประชาสิทธิศักดิ์
กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
16 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0 2579 5230, 0 2596 7600 ต่อ 2321
โทรสาร   : 0 2562 0121
โทรศัพท์มือถือ : 08 9817 2142
E-mail     : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป