
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559 : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) โดย นายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และ ดร. สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้อำนวนยการศูนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรวิทยาสู่เชิงพาณิชย์ ณ อาคาร SCG 100 ปี กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การวิจัยและพัฒนาด้านมาตรวิทยาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม และให้ความต้องการของผู้ประกอบการในการยกระดับคุณภาพสินค้าในกระบวนผลิตได้รับการตอบสนองตรงตามความต้องการของตลาด โดยจะมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรวิทยาในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ และเพื่อสนับสนุนแนวคิดการประหยัดพลังงาน พร้อมทั้งยังเป็นการสอดรับกับโมเดลการพัฒนาประเทศไทย 4.0 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
.jpg) |
|
ภาครัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนเป้าหมายของการพัฒนาขีดความสามารถของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยผ่านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure: NQI) มีงานด้านมาตรวิทยาที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ มีพันธกิจในการสถาปนาหน่วยวัดมาตรฐานแห่งชาติตามระบบหน่วยวัดสากลให้เป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ เป็นแหล่งอ้างอิงได้ทางการวัดของประเทศ โดยได้จัดหามาตรฐานในสาขาการวัดด้านต่างๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศและได้ถ่ายทอดค่าความถูกต้องทางการวัดสู่ภาคส่วนต่างๆ ปัจจุบันนโยบายของสถาบันได้มุ่งเน้นการส่งมอบองค์ความรู้ด้านมาตรวิทยาให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และให้เข้าถึงผู้ประกอบการภาคส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น โดยกิจกรรมการนำองค์ความรู้ด้านมาตรวิทยาไปประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการด้านพลังงานเป็นเป้าหมายหนึ่งของสถาบันเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ มุ่งเน้นภาคการผลิตที่มีต้นทุนการใช้พลังงานสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้ว กระเบื้อง เซรามิก วัสดุก่อสร้าง ปูนซิเมนต์ อาหาร เป็นต้น
 |
 |
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ได้รับการสนันสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของ SCG โดยการให้ใช้พื้นที่เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตเพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านมาตรวิทยา และต่อมาได้ขยายผลเป็นความร่วมมือด้านการศึกษาเทคนิคการวัดและการประเมินประสิทธิภาพความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมของ SCG สู่เชิงพาณิชย์ ความร่วมมือเช่นนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องอาศัยกิจกรรมการวัดด้านมาตรวิทยาที่เกิดจากวิธีการวัดที่แม่นยำมากขึ้นลดความสิ้นเปลืองในการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ช่วยประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถยกระดับคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น ตลอดจมร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานและสามารถพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ สู่ตลาดตามความต้องการของผู้บริโภคได้
ผู้เขียนข่าว/ผู้ประสานงาน นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา
http://www.nimt.or.th เบอร์โทรศัพท์ 02 577 5100 ต่อ 4226 เบอร์แฟกซ์ 02 577 2823
e-mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพจนพร แสงสว่าง
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834
E-Mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand