การดูข้างขึ้นข้างแรม ดูได้ง่ายนิดเดียว (กระซิบไม่ต้องอ่านจากปฏิทินกันด้วยนะ) เพียงแค่หนูๆ รู้ว่าทิศตะวันออกอยู่ด้านไหน แล้วก็แหงนหน้าขึ้นมองดูดวงจันทร์หากส่วนที่เป็นด้านมืด (ไม่ว่าจะแหล่งเป็นเสี้ยว หรือปูดนูนออกมาก็ตาม) หันไปทางทิศตะวันออก แสดงว่าเป็นช่วงเวลาข้างขึ้น และในทางตรงกันข้ามหากส่วนที่เป็นด้านมือของดวงจันทร์หันไปทางทิศตะวันตก ก็แสดงว่าเป็นช่วงเวลาข้างแรม นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตได้อีกว่าข้างขึ้นนั้นขึ้นกี่ค่ำ และข้างแรมนั้นกี่ค่ำ โดยสังเกตุได้จากการประมาณจากส่วนเว้าหรือแหว่งของดวงจันทร์
- ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง คือ ขึ้น 15 ค่ำ
- ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง คือ ขึ้น 7-8 ค่ำ หรือ แรม 7-8 ค่ำ
- ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวประมาณ 1 ใน 4 ดวง คือ ขึ้น 3-4 ค่ำ หรือ แรม 11-12 ค่ำ
- ดวงจันทร์มืดเต็มดวง คือ แรม 15 ค่ำ
เป็นยังไงคะ การดูข้างขึ้นข้างแรมไม่ใ่ช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วใช่ไหมคะ คืนนี้ลองชวนคุณพ่อคุณแม่ออกมาชมจันทร์กันนะคะว่าวันนี้เป็นวันที่มีข้างขึ้นหรือข้างแรมหรือไม่
หน่วยงานเจ้าของข้อมูล : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 7000
โทรสาร 0 2564 7001-5
เว็บไซต์ : http://www.nstda.or.th/