กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก บริการประชาชน บริการธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ วิธีการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย

วิธีการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย


2.1  วิธีการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทยทาง  Internet  ด้วยระบบ NTP
     การปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทยทาง Internet ด้วยระบบ Network Time Protocol (NTP) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลเวลามาตรฐานไปยังเครื่องปลายทาง เพื่อปรับเทียบเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐาน ประเทศไทย โดยห้องปฏิบัติด้านเวลาและความถี่ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้ทำการสถาปนาหน่วยวัดเวลามาตรฐานประเทศไทย โดยการใช้นาฬิกาซีเซี่ยม (Cesium Clock) ซึ่งมีการรักษาค่ามาตรฐานโดยวิธีการเปรียบเทียบกับเวลามาตรฐานสากล (Universal Time Coordinate : UTC) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ วิธีการใช้งานแค่เพียงมีคอมพิวเตอร์ และ นาฬิกา ซึ่งรองรับระบบการปรับเทียบเวลา ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Internet และ โปรแกรมสำหรับปรับเทียบเวลา (Client software) เท่านี้ผู้ใช้สามารถที่จะ ปรับเทียบเวลา มาตรฐานประเทศไทยได้ทันทีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ระบบการปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านทางด้วยระบบ NTP

 

คุณสมบัติเด่น
1.    ค่าความถูกต้องอยู่ที่ประมาณหลักร้อยมิลลิวินาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทาง คุณภาพของเครือข่าย และจำนวนผู้ใช้งาน นับว่าเป็นความคลาดเคลื่อนที่อยู่ในระดับยอมรับได้
2.    สามารถใช้เป็นเวลาอ้างอิงสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
3.    สนับสนุนประกาศกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร  เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บ       ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ซึ่งระบุไว้ในข้อ 9 ของประกาศ
4.    ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ใช้ทั่วไป

 

2.2  วิธีการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทยทางโทรศัพท์พื้นฐาน

 

     การปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านทางระบบโทรศัพท์พื้นฐาน เป็นบริการอีกช่องทางหนึ่งที่ทาง ห้องปฏิบัติการด้านเวลาและความถี่ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้ทำขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของประชาชน โดยระบบนี้ถูกออกแบบให้ใช้โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ดังนั้น นาฬิกาดิจิตอล ที่ถูกติดตั้งในที่สถานที่ต่างๆ หรือ คอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ Modem เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวต้องการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย ก็จะทำการโทรโดยอัตโนมัติ เข้ามายังเครื่องแม่ข่ายของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จากนั้นเวลามาตรฐานประเทศไทยก็จะถูกส่งกลับไปในรูปของชุดข้อมูลเวลา เมื่อได้รับชุดข้อมูลเวลาแล้ว นาฬิกา หรือ คอมพิวเตอร์ปลายทางก็จะถูกปรับเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานโดยอัตโนมัติ

 

คุณสมบัติเด่น
1.   ค่าความถูกต้องอยู่ที่ประมาณหลักร้อยมิลลิวินาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทาง คุณภาพของเครือข่าย และจำนวนผู้ใช้งาน นับว่าเป็นความคลาดเคลื่อนที่อยู่ในระดับยอมรับได้
2.   สามารถใช้เป็นเวลาอ้างอิงสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้
3.   สนับสนุนประกาศกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บ   ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ซึ่งระบุไว้ในข้อ 9 ของประกาศ
4.   ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีระบบ Internet ใช้งาน

 

นาฬิกาซีเซี่ยม (Cesium Clock)

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป