กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวอบรม สัมมนา มาตรวิทยาแสงแท็คทีมผู้เชี่ยวชาญ ถกประเด็นยุทธศาสตร์ชาติพัฒนาแผนพลังงานทดแทน เน้น NQI แกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนที่ดี ตอบโจทย์แผนชาติ ชัวร์

มาตรวิทยาแสงแท็คทีมผู้เชี่ยวชาญ ถกประเด็นยุทธศาสตร์ชาติพัฒนาแผนพลังงานทดแทน เน้น NQI แกร่งสร้างแรงขับเคลื่อนที่ดี ตอบโจทย์แผนชาติ ชัวร์

พิมพ์ PDF

 

             กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย ฝ่ายมาตรวิทยาแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จัดงานสัมมนา หัวข้อ มาตรวิทยาต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน (เน้นพลังงานแสงอาทิตย์) โดยมี ร.ท. อุทัย นรนิ่ม รักษาการหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาแสงกล่าวเปิดงานสัมมนา ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องแกรนด์บอลลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานครฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ และรวบรวมข้อมูลความต้องการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในทุกภาคส่วน ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของระบบมาตรวิทยาต่อการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติในเรื่องของการสนับสนุนพลังงานทดแทนของรัฐบาล โดยการสัมมนาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การสัมมนาให้ความรู้เรื่อง มาตรวิทยาต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน และ ส่วนที่เป็นการอภิปรายไขข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายและการสนับสนุนของภาครัฐ ต่อการประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงท้าย

 

 

             โดยภาคเช้ามีการบรรยายหัวข้อ “ บทบาทของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติต่อการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน” โดย นางสาวโรจนา ลี้เจริญ รักษาการหัวหน้าห้องปฏิบัติการสีและการกระจายคลื่นแสง ฝ่ายมาตรวิทยาแสง มว. , “ศักยภาพและการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน” โดย รศ. ดร. เสริม จันทร์ฉาย หัวหน้าห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดรังสีอาทิตย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ,  “การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และการทดสอบประสิทธิภาพแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ” โดย ดร. ธีรยุทธ์ เจนวิทยา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

 

             ภาคบ่ายในหัวข้อ “รูปแบบทางธุรกิจและช่องทางการจัดหาเงินทุนสำหรับระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในประเทศไทย”โดย นาย ธนัย โพธิสัตย์ ที่ปรึกษาโครงการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), “ระบบการผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์”โดย รศ. ดร. ธนรัฐ ศรีวีระกุล กรรมการบริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน สถาบันวิจัยและบริการด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ  “นโยบายและการสนับสนุนของภาครัฐ ต่อการประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนด้านพลังงานแสงอาทิตย์” โดย นายสุรีย์ จรูญศักดิ์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มออกแบบ มาตรฐานและทดสอบ) สำนักพัฒนนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และ นายเลิศชาย แก้ววิเชียร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

             และช่วงสุดท้ายของการประชุมเป็นการอภิปราย เพื่อไขข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ เช่น นโยบายการจัดการและสนับสนุนเพื่อใช้ส่งเสริมพลังงานทดแทนพลังงานแสงอาทิตย์ควรเป็นไปในทิศทางใด, การรับซื้อพลังงานทดแทน, ความเป็นไปได้ของโครงการนำร่อง “Solar เสรี” เป็นต้น โดยเหล่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้มีการเชื่อมโยงถึงโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดีในการผลักดันยุทธศาสตร์ด้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในเรื่องของพลังงานทดแทน โดย บทบาทด้านมาตรวิทยา (M: Metrology) ของ มว. จะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญเพื่อนำประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งวัฒนธรรมคุณภาพ

 


 

 

ผู้เขียนข่าว : นางสาวกล่องเพชร จันทรโคตร
ผู้ประสานงาน : นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา

http://www.nimt.or.th เบอร์โทรศัพท์ 02 577 5100 ต่อ 4226 -7 เบอร์แฟกซ์ 02 577 2823

 e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :        อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 



Tags NQI - Solar
 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป