กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวอบรม สัมมนา กระทรวงวิทย์ฯ แจงขีดความสามารถการแข่งขันไทยขึ้นอันดับ 28 สถิติการใช้เน็ตนำโด่งเล่นโซเชียลติดเกมส์ ห่วงแรงงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขาดแคลน

กระทรวงวิทย์ฯ แจงขีดความสามารถการแข่งขันไทยขึ้นอันดับ 28 สถิติการใช้เน็ตนำโด่งเล่นโซเชียลติดเกมส์ ห่วงแรงงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขาดแคลน

พิมพ์ PDF

 

               กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) ชี้ไทยขึ้นอันดับ 28 จาก 30 ในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (IMD World Competitiveness) จากประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐ นโยบายการเงินการคลังมีอันดับดีขึ้น ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอันดับทรงตัว ห่วงอันดับด้านการศึกษากลับลดลง สถิติการใช้อินเตอร์เน็ตไทยนำโด่งเรื่องการเล่นเกมส์ โซเชียลเน็ตเวิร์ค และดูหนังฟังเพลง ตัวเลขแรงงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทำงานไม่ตรงสายจำนวนมาก

 

               ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. ได้ให้ข้อมูลว่า ไอเอ็มดี (International Institute for Management Development: IMD) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน (IMD World Competitiveness)ล่าสุด ปี 2559 การจัดอันดับภาพรวมปีนี้ของไทยอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 61 ประเทศ ขึ้นมา 2 อันดับ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างฮ่องกง ขึ้นอยู่ในอันดับที่ 1 และสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 4 ของโลก โดยหลักเกณฑ์การพิจารณา จะใช้เกณฑ์วัดเรื่องด้านเศรษฐกิจ ด้านประสิทธิภาพการบริหาร ด้านประสิทธิภาพทางธุรกิจ และด้านโครงสร้างซึ่งรวมถึงเรื่องการศึกษา โครงสร้างด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไว้ด้วย  โดยในปีนี้การจัดดันดับประสิทธิภาพการบริหารภาครัฐ นโยบายการเงินการคลังมีอันดับที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากอันดับที่ 27 ในปีที่แล้ว เป็นอันดับที่ 23 จึงส่งผลให้การจัดอันดับโดยรวมขึ้นมาในอันดับที่ 28 ได้ ในขณะที่อันดับประสิทธิภาพทางธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับลงลงเล็กน้อย หากพิจารณาเกณฑ์วัดเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งของการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แต่โดยภาพรวมประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ หากเปรียบเทียบกับประเทศทั่วโลกหรือในภูมิภาคเดียวกัน โดยรั้งอันดับที่ 47 มา 2 ปีซ้อน

 

               ดร.กิติพงค์ฯ กล่าวต่อว่าผลการประมาณการตัวเลขการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของไทย พบว่าสัดส่วนการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (Gross domestic expenditure on R&D : Gross domestic product -GERD:GDP) ปี 2558 ตัวเลขการลงทุนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.65 โดยคาดว่าตัวเลขสัดส่วนการลงทุนจะขึ้นไปถึงร้อยละ 1 ได้ในปี 2561 และมีสัดส่วนการลงทุนภาคเอกชนต่อภาครัฐที่ 71:29 หากสถิติเป็นไปตามที่คาด อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยจะสูงขึ้นไปอยู่ในกลุ่ม 20 ประเทศแรกอย่างแน่นอน

 

               หากพิจารณาตัวเลขด้านทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพิจารณาการเลื่อนอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ พบว่า ณ สิ้นปี 2557 ตัวเลขบุคลากรวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน มีจำนวนประมาณ 84,000 คน คิดเป็นสัดส่วน 13 คน ต่อประชากร 10,000 คน แต่ยังถือว่าเรายังอยู่ในอันดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ อาทิ สัดส่วนบุคลากรวิจัยของประเทศมาเลเซียมีจำนวน 21 ต่อ ประชากร 10,000 หรือประเทศสิงคโปร์มีสัดส่วน 77:10,000 คน เป็นต้น “เป้าหมายคือเราต้องขยับสัดส่วนบุคคลากรวิจัยให้ถึง 25 คน ต่อประชากร10,000 คนในปี 2564” ดร.กิติพงค์ฯ กล่าว

 

               หากมองลงไปถึงกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศไทยที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีจำนวนประมาณ 3.97 ล้านคน เติบโตจากปี 2557 ร้อยละ 5.2 ในจำนวนนี้พบว่ามีคนที่จบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ แต่ทำงานไม่ตรงสาย มากถึง 1.5 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงถึงแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานและบุคลากรเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตได้

  

               ดร.กิติพงค์ฯ กล่าวทิ้งท้ายในเรื่องดัชนีชี้วัดด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีในปี 2558 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่42 โดยเลื่อนอันดับขึ้นมาจาก 44 ว่ามีตัวเลขที่น่าสนใจคือ สถิติด้านไอซีทีในปี 2558 จำนวนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์มีเพียงร้อยละ 34 ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีสัดส่วนครัวเรือนทีมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 67 ประเทศสิงคโปร์มีสัดส่วนร้อยละ 88  โดยประเทศไทยมีสถิติกิจกรรมการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ในการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค การอัพโหลด ดาว์นโหลดหนัง เพลง และเล่นเกมส์มากถึง 53% แต่สถิติด้านการสืบค้นหาความรู้ ใช้งานและเรื่องการเรียนมีเพียง 26% เท่านั้น


 

ขอข้อมูลเพิ่มเติมงานประชาสัมพันธ์ : นางสาวนิรมล เทพทวีพิทักษ์ หรือ นางสาวมนต์ศิริ ธรมธัช

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

โทรศัพท์ 02 160 5432 ต่อ 703 (นิรมล) หรือ 081 – 9225149 (มนต์ศิริ)

อีเมล    อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน    Website: www.sti.or.th


เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์ 

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :      อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
 
Tags IMD - สวทน.
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» “กิติพงค์” ถอดรหัสประเทศไทย แนะนวัตกรรมแห่งอนาคตปูทางสู่ไทยแลนด์ 4.0
» สทน. ลงนามความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร ร่วมวิจัยพัฒนาแมลงวันผลไม้สายพันธุ์ใหม่ ใช้ลดปริมาณแมลงในพื้นที่เกษตรกรรม
» สทน. ลงนามความร่วมมือกับวินอะตอม เวียดนาม ร่วมวิจัยและสร้างมาตรการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
» ก.วิทย์ฯ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมกับประเทศอาเซียน เร่งเดินหน้าแผน APASTI 2015-2025 ให้สมบูรณ์
» ก.วิทย์ฯ จัดประชุมระดมความคิด 10 สมาชิกอาเซียน สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์ฯร่วมกัน!
» กระทรวงวิทย์ฯ เดินหน้าปฏิรูปกลไกบริหารจัดการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
» กระทรวงวิทย์ฯ ผลิตรายการ “ส่องโลกนวัตกรรม” ออกอากาศทางช่องไทยพีบีเอส คัด 80 นวัตกรรมฝีมือคนไทย
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป