การสัมมนาทางวิชาการและการจัดนิทรรศการ
ภายใต้หัวข้อ “ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและความท้าทายของการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำ”
จัดโดยสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการไทย รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำ ภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการใช้ทรัพยากรน้ำ**
๑. หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ที่ยาวนานของประเทศในการบริหารจัดการน้ำ ประกอบกับโครงการพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่า ที่ควรได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยทั่วผืนแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ อนุมัติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ (2nd Asia – Pacific Water Summit : 2nd APWS) ระหว่างวันที่ ๑๔–๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดประชุม 2nd APWSดังกล่าวโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี) เป็นประธาน และเห็นว่าในโอกาสที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวควรนำเสนอโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านพรัพยากรน้ำ ให้ผู้นำและคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสจากประเทศในภูมิภาคได้ตระหนัก เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา จึงจะได้จัดนิทรรศการและการประชุมวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำขึ้นคู่ขนานกับการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ (2nd APWS) อีกทั้งจะได้เชิญชวนประชาชนชาวไทยให้เข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกับผู้นำและเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อีก ๔๙ ประเทศ
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อนำเสนอแนวทางพระราชดำริในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นที่ประจักษ์แก่ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
๒.๒ เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องน้ำในวงกว้าง
๒.๓ เปิดโอกาสให้หน่วยงานได้เผยแพร่การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ
๓. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม
ชาวไทยและชาวต่างชาติ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนไทย ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ เครือข่ายของคณะกรรมการลุ่มน้ำ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน คาดว่าจะมีผู้เข้าประชุมและเยี่ยมชมงานที่เป็นชาวต่างชาติ ประมาณ ๘๐๐ คน และชาวไทยประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน
๔. รูปแบบการจัดงาน
รูปแบบการจัดนิทรรศการสำหรับการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ประกอบด้วย Leaders Forum ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖, The Focus Area Sessions วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖, Technical Workshops ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และ Exhibitions ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
๕. หัวข้อหลัก/หัวข้อสำหรับการประชุม Focus Area Sessions ประกอบด้วย
๕.๑ หัวข้อหลัก (Theme) คือ “Water Security and Water-related Disaster Challenges : Leadership and Commitment”
๕.๒ หัวข้อสำหรับการประชุม Focus Area Sessions ได้แก่
๑) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อเศรษฐกิจและอาหาร (Economic, Food and Water Security)
๒) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อชุมชนเมือง (Urban Water Security)
๓) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Water Security)
๔) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (Household Water Security)
๕) ความมั่นคงด้านน้ำและความสามารถในการฟื้นตัว (Water Risks and Resilience)
๖) กระบวนการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานเพื่อโลกที่มีความมั่นคงด้านน้ำ (IWRM Process for a Water Secure World)
๗) ภัยพิบัติอันเนื่องมาจากน้ำ (Water-related Disaster Challenges)
๖. หัวข้อสำหรับ Technical Workshops และ การนำเสนอ Poster
๖.๑ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อเศรษฐกิจและอาหาร (Economic, Food and Water Security)
๖.๒ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อชุมชนเมือง (Urban Water Security)
๖.๓ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Water Security)
๖.๔ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (Household Water Security)
๖.๕ ความมั่นคงด้านน้ำและความสามารถในการฟื้นตัว (Water Risks and Resilience)
๖.๖ กระบวนการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานเพื่อโลกที่มีความมั่นคงด้านน้ำ (IWRM Process for a Water Secure World)
๖.๗ ภัยพิบัติอันเนื่องมาจากน้ำ (Water-related Disaster Challenges)
๗. หัวข้อของการแสดงนิทรรศการ
๗.๑ พาวิลเลี่ยนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๗.๒ พาวิลเลี่ยนมหาอุทกภัยในประเทศไทย
๗.๓ บูธนิทรรศการด้านวิชาการและโปสเตอร์ด้านวิชาการ
๗.๔ บูธแสดงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และบูธแสดงสินค้า
๘. ภาษาที่ใช้ในการจัดประชุม
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องชำระค่าลงทะเบียนจำนวน 9,000 บาท เพื่อเข้าร่วมในการประชุมวิชาการ (Workshops) ระหว่างวันที่ 16 -18 พฤษภาคม 2556 .
ผู้ที่ลงทะเบียนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. เข้าร่วมชมงานนิทรรศการระหว่างวันที่ 14 -20 พฤษภาคม 2556
2. เข้าร่วมการดูงานวิชาการ 1 วัน ซึ่งรวมค่าเดินทาง อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อในวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 โปรดดูรายละเอียดเส้นทางได้ที่ ->> Technical Visits
3. เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองและงานเลี้ยงขอบคุณ
4. อาหารกลางวันและอาหารว่างวันละ 2 มื้อ ตลอดระยะเวลาการจัดงานประชุมวิชาการ (Workshops) ระหว่างวันที่ 16 -18 พฤษภาคม 2556
5. เอกสารการประชุมวิชาการ
6. กระเป๋าเอกสารและของที่ระลึก
7. พาหนะเดินทางในเส้นที่กำหนด เช่น จากโรงแรมไปยังศูนย์ประชุม จากโรงแรมไปยังใจกลางเมืองเชียงใหม่
ที่มา : กรมทรัพยากรน้ำ และ เว็บไซต์ http://info.apwatersummit2.org/