สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน(ปว.(วต.) ร่วมกับ
สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) และภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านฟิสิกส์ทางการแพทย์(Medical Physics) หัวข้อ
“การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยการฉายแสงเพื่อศึกษาและตรวจวิเคราะห์โรคเนื้องอกและมะเร็ง"
(Training workshop in Medical Physics - Imaging and Computation in Radiation Oncology)
-------------------------
หัวข้อเรื่อง : “การฝึกอบรมด้านฟิสิกส์ทางการแพทย์: การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยการ
ฉายแสงเพื่อศึกษาและตรวจวิเคราะห์โรคเนื้องอกและมะเร็ง” (Training workshop in
Medical Physics – Imaging and Computation in Radiation Oncology)
ระยะเวลาและสถานที่: จำนวน ๔ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักการและเหตุผล
นักฟิสิกส์ทางการแพทย์ คือ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคผู้ที่อย่างใกล้ชิดกับรังสีแพทย์และแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านเนื้องอกของร่างกายเพื่อสร้างความปลอดภัยและการใช้วิธีการฉายแสงเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ นักฟิสิกส์ทางการแพทย์มีขอบเขตความรับผิดชอบที่ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่การพัฒนารูปแบบระเบียบการและการนำการวินิจฉัยและการรักษาด้วยการฉายภาพทางการแพทย์ไปใช้จริง รวมไปถึงการสร้างระบบการนำเสนอผลการฉายแสง
ในปัจจุบันนี้ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือได้นำเทคโนโลยีการฉายภาพทางการแพทย์แบบซับซ้อนและเครื่องมือการทำวิจัยเพื่อการคำนวนมาใช้จริงเพื่อปรับปรุงความแม่นยำและความถูกต้องของการรักษาด้วยการฉายแสง เช่นเดียวกัน ประเทศไทยมีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงขึ้น สถาบันชั้นนำหลายๆ แห่งได้ลงทุนในการพัฒนาการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางด้านการฉายแสงสมัยใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว อย่างไร ก็ตามการลงทุนดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอโดยเฉพาะการลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์
เป้าหมายการของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติทางด้านการฉายภาพและการคำนวนทางฟิสิกส์เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการทำวิจัยของนักฟิสิกส์ทางการแพทย์มืออาชีพ รวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในวงการดังกล่าว ผลจากการฝึกอบรมเชิงวิชาการนี้จะเป็นการสนับสนุนและส่งผลสำคัญแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เช่น การปรับปรุงวิธีการตรวจหาโรค การวินิจฉัยโรค การให้การรักษา การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเพิ่มผลลัพธ์ทางการแพทย์
วัตถประสงค์หลัก:
๑. เพื่อถ่ายทอดความรู้และการฝึกปฏิบัติทางแก่นักฟิสิกส์ทางการแพทย์มืออาชีพ รวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในวงการดังกล่าว โดยเนื้อหาหลัก คือ พื้นฐานการฉายภาพและการฉายแสงเพื่อการศึกษาและการรักษาโรคเนื้องอก
๒. แนะนำเครื่องมือการทำวิจัยและวิธีการทางการคำนวณ เพื่อสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการฉายแสงทางการแพทย์
๓. เพื่อพัฒนาทักษะการวางโครงการทางการแพทย์เพื่อการทำวิจัยทางการฉายแสงเพื่อศึกษาและรักษาโรคเนื้องอก
๔. เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการวิจัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้านการฉายแสงเพื่อศึกษาและรักษาโรคเนื้องอก
กลุ่มเป้าหมาย: จำนวน ๕๐ คน ประกอบด้วย
1.นักเรียนนักศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาฟิกสิกส์ทางการแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่หนึ่ง สอง และสามจำนวน ๓๐ คน
1. นักฟิสิกส์เพื่อการแพทย์ และรังสีแพทย์เพื่อการรักษาโรคเนื้องอก จากโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน๑๐ คน
1.บุคลากรจากโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลเชียงใหม่และอื่นอีกจำนวน ๑๐ คน
1.นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พว.
วิธีดำเนินการ:
1.สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ดำเนินการประสานงานการจัดประชุมฯ ร่วมกับนักวิชาชีพไทยในสหรัฐฯ ที่เสนอโครงการและเป็นวิทยากร
1.สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ (สม.สป.วท.) เป็นฝ่ายเลขานุการเพื่อดำเนินการประสานงานและจัดการประชุม รวมทั้งบริหารการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมดังกล่าวที่ประเทศไทย
หน่วยงานรับผิดชอบ:
1.สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รับผิดชอบในการประสานโครงการ วิทยากรจากประเทศสหรัฐอเมริกา และงบประมาณ
1.สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (หมายเลขโทรศัพท์02-333-3901, โทรสาร02-333-3930, e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน )รับผิดชอบในการประสานโครงการ จัดทำหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมการประชุม บริหารจัดการประชุมและงบประมาณในประเทศไทย และประเมินผลการสัมมนา
หน่วยงานเจ้าภาพร่วมจัดการประชุม:
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ผู้ประสานงาน: ดร. พวงเพ็ญ
ตั้งบุญดวงจิตร ผู้บริหารโครงการ)
ร่างกำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ:
วันที่๑:
ภาคเช้า นำเสนอภาพรวมของการฉายภาพทางการแพทย์หัวข้อพื้นฐาน เช่น ความละเอียดเชิงพื้นที่ของข้อมูลภาพ ความแตกต่างในข้อมูลภาพ คุณภาพของข้อมูลภาพ การตรวจหาข้อมูลภาพ และ การแสดงผลของข้อมูลภาพ รวมไปถึงหัวข้อเกี่ยวกับการตรวจหาโรค การระบุระดับความรุนแรงของโรค และการลดความรุนแรงของโรค
ภาคบ่าย การแนะนำการเขียนโปรแกรม MATLAB สำหรับอุปกรณ์การฉายภาพทางการแพทย์ เช่น
การนำเสนอภาพชนิดดิจิตัล การแสดงและการอ่านผลภาพ การระบุชนิดของภาพ และการแปรรูป
ของผลภาพ
วันที่ ๒:
ภาคเช้า นำเสนอภาพรวมของระบบการวางแผนการรักษาด้วยการฉายแสง การทำ TCP และ NTCP เพื่อ
การฉายแสง รวมทั้งการจัดลำดับผลภาพ การประทับจำผลภาพ ความเหมือนและความสัมพันธ์ของผลภาพ
ภาคบ่าย การแนะนำการเขียนโปรแกรมการใช้การฉายแสง การทำ CT, MRI, US และ PET/CT
เพื่อการฉายภาพทางการแพทย์ รวมถึงการตรวจหาโรค การบรรเทาความรุนแรง การแสดง
ผลภาพของอวัยวะที่เกิดโรค เช่น ปอด หน้าอก ศีรษะและคอ สมอง ลูกอัณฑะและอื่นๆ
วันที่ ๓:
ภาคเช้า ทฤษฎีการวางแผนและการวางขั้นตอนวิธีการรักษารวมถึงการจำลองการอบเหนียว
(Stimulated annealing) และวิธีการทางสถิติ
ภาคบ่าย การเขียนโปรแกรมและการวางแผนการรักษาด้วยการฉายแสง ลำแสง Pencil Beam และการ
วางขั้นตอนแบบทับซ้อน (Superposition algorithms) และแบบบิดม้วน (Convolution algorithms)
วันที่ ๔:
ภาคเช้า สรุปผลจากการฝึกอบรม การนำเสนอโครงการ และการสนทนา
Tentative Schedule
Date |
Time |
Topics |
Lecturers |
May 19, 2011 |
08.50-09.00 |
Overview of objective of the workshop: Project supporting by Office of Science and Technology (OSTC), Royal Thai Embassy, Ministry of Science and Technology, and Association of Thai Professionals in America and Canada ( ATPAC) |
Representative From MOST or ?? |
09.00-10.30 |
Overview of medical imaging fundamentals: spatial resolution, contrast, noise, image quality |
Dr.Napapong |
|
10.30-10.40 |
Break |
|
|
10.40-12.10 |
Issues in lesion detection, staging, contouring for various diseases |
Dr.Mantana |
|
12.10-13.00 |
Lunch |
|
|
13.00-16.00 |
Hands- on introduction to MATLAB programming |
Dr.Vorakarn & B. Harrawood |
|
May 20, 2011 |
09.00-10.30 |
Radiobiologically-based TCP and NTCP models |
Dr.Vipa |
10.30-10.40 |
Break |
|
|
10.40-12.10 |
Image segmentation, image registration, image similarity, cross-correlation, squared error, mutual information |
Dr.Vorakarn |
|
12.10-13.00 |
Lunch |
|
|
13.00-16.00 |
Hands-on applications w/MATLAB |
Dr.Vorakarn & B. Harrawood |
|
May 21, 2011 |
09.00-10.30 |
Overview of treatment planning system |
Dr.Puangpen |
10.30-10.40 |
Break |
|
|
10.40-12.10 |
Optimization; theory and algorithms, including gradient descent, simulated annealing, and statistical approaches |
Dr.Vorakarn |
|
12.10-13.00 |
Lunch |
|
|
13.00-16.00 |
Hands-on applications w/MATLAB |
Dr.Vorakarn & B. Harrawood |
|
May 22, 2011 |
09.00-10.30 |
Finalize programming activities, project Presentations |
Dr.Vorakarn & Dr.Puangpen |
10.30-10.40 |
Break |
|
|
10.40-12.00 |
Wrap-up discussion |
Dr.Vorakarn
|
วิทยากร(Speakers)
1. ดร.วรกานต์ จรรยาวณิชย์ (Vorakarn Chanyavanich, Ph.D.)
Medical Physicist, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.
Department of Radiology, Duke University Medical Center
2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302
Durham, North Carolina 27705, U.S.A.
Tel: 303-880-4801
E-mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
1.Mr. Brian Harrawood
Scientific Programmer, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.
Department of Radiology, Duke University Medical Center
2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302
Durham, North Carolina 27705, U.S.A.
1.ดร. พวงเพ็ญ ตั้งบุญดวงจิตร (Puangpen Tangboonduangjit, Ph.D.)
Program Director for the Master of Science Graduate Program in Medical Physics
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
1.ดร. มัณฑนา ธนะไชย(Mantana Dhanachai, M.D.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
1.ดร. วิภา บุญกิตติเจริญ(Vipa Boonkitticharoen, Ph.D.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
1.ดร. นภาพงษ์ พงษ์นภางค์(Napapong Pongnapang, Ph.D.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ประมาณการงประมาณ: เบิกจ่ายจากงบประมาณ (งบรายจ่ายอื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔) ของสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ดังเอกสารแนบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
สนับสนุนการผสานองค์ความรู้ด้านการฉายภาพทางการแพทย์เพื่อการรักษาทางกายภาพโดยการใช้การฉายแสง
ช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับผลงานวิจัยและเครื่องมือการคำนวณในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาฟิสิกส์ทางการแพทย์
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของวงการวิจัยและเครื่องมือการวิเคราะห์สำหรับการถอดรหัสทางการแพทย์สำหรับการรักษาทางกายภาพด้วยการฉายแสง
-------------------------
ประวัติย่อของวิทยากรจากต่างประเทศ
ดร.วรกานต์ จรรยาวณิชย์ (Vorakarn Chanyavanich, Ph.D.)
Medical Physicist, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.
Department of Radiology, Duke University Medical Center
2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302
Durham, North Carolina 27705, U.S.A.
Tel: 303-880-4801
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Dr. Vorakarn Chanyavanich, Ph.D is a medical physicist at the Carl. E. Ravin Advanced
Imaging Labs, Department of Radiology, at Duke University Medical Center, Durham, North
Carolina. He completed his M.S. in medical physics at the University of Colorado Health
Sciences Center, and his Ph.D. in medical physics at Duke University. He has previously
worked as a clinical medical physicist at the University of Colorado, a consultant medical
physicist, and as the project manager at Argus Software, a medical physics quality
assurance software company. His research areas of interest include radiotherapy treatment
planning, medical imaging informatics, and machine learning in healthcare applications. He
is a member of the American Association of Physicists in Medicine (AAPM) and the
Radiological Society of North America (RSNA), and the Association of Thai Professionals in
America and Canada (ATPAC).
Mr. Brian Harrawood
Scientific Programmer, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.
Department of Radiology, Duke University Medical Center
2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302
Durham, North Carolina 27705, U.S.A.
Brian Harrawood is a scientific programmer in the Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs,
Department of Radiology, at Duke University Medical Center, Durham, NC. He has worked
extensively in medical imaging at Duke for over 20 years in both Cardiology and Radiology
Departments. He earned a BA in Physics from the University of North Carolina at Chapel
Hill in 1978. Prior to Duke, Mr Harrawood worked as a software engineer with the U.S. EPA
and various smaller firms, including Bell Northern Research where he developed and
delivered training courses for software engineers. While at Duke, he developed DICOM
applications in cardiology and a PACS system for Philips Medical Systems Inturis product.
His current interests include deploying massively parallel computing to speed the
development of research in CAD algorithms and modeling in Monte Carlo applications.