สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน(ปว.(วต.) ร่วมกับ
สม.สป. และ สวทน.
จัดการสัมมนา เรื่อง Technology Commercialization :
Strategic Views from the Overseas Experts
ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้
กำหนดการสัมมนา
Technology Commercialization:
Strategic Views from the Overseas Experts
วันศุกร์ที่ 20พฤษภาคม 2554ระหว่างเวลา 8.30 – 16.00น.
ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้
จัดโดย
สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
ภายใต้ความร่วมมือของ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
และสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ
ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
...........................
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 - 9.10 น. กล่าวรายงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
โดย ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
9.10 – 9.20 น. กล่าวเปิดการสัมมนา
โดย ดร. พรชัย รุจิประภา
ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9.20 – 9.50น. ปาฐกถาพิเศษ : ยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย
โดย นางปัจฉิมา ธนสันติ
อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
9.50 -10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.10 – 11.00น. Strategies for Successful Technology Commercialization: University Perspective
โดย Mr. Mark Crowell
Executive Director and Associate Vice President for Innovation Partnerships and Commercialization, University of Virginia, USA
11.00 – 11.50 น. Strategies for Successful Technology Commercialization: Private Sector Perspective
โดย Mr. Steven Tepp
Senior Director, Global IP Center, US Chamber of Commerce, USA
11.50 – 12.30 น. ถาม-ตอบ
12.30 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 14.15 น. Strategies for Successful Technology Commercialization: Public R&D Institution Perspective
โดย Mr. Philip Lim
CEO, Exploit Technologies Pte Ltd, Singapore
14.15 -14.30 น. ถาม-ตอบ
14.30 – 16.00น. การอภิปรายในหัวข้อ “Effective U-I-G Collaborations on Technology Commercialization: Roles and Mechanism"
ผู้ร่วมอภิปราย:
ศ.ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่ปรึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่ปรึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
Mr. Mark Crowell
Executive Director and Associate Vice President for Innovation Partnerships and Commercialization, University of Virginia, USA
Mr. Steven Tepp
Senior Director, Global IP Center, US Chamber of Commerce, USA
Mr. Philip Lim
CEO, Exploit Technologies Pte Ltd, Singapore
ผู้ดำเนินการอภิปราย:ดร. เลอสรร ธนสุกาญจน์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การสัมมนาเรื่อง
“Technology Commercialization:
Strategic Views from the Overseas Experts”
หลักการและเหตุผล
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มีภารกิจในการจัดทำนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติโดยมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งได้แก่ การสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ มาตรการ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการดำเนินการดำเนินการดังกล่าว สวทน. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมด้านระบบทรัพย์สินทางปัญญากับการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการนำผลการวิจัยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ในระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังขาดการนำทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างขึ้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้สร้างทรัพย์สินทางปัญญากับภาคอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ยังขาดความเข้มแข็ง
ในการจัดงานสัมมนาครั้งนี้ สวทน. ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตัน สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จำนวน 3คน ซึ่งมีความชำนาญด้านการบริหารจัดการผลงานวิจัยและการนำผลงานไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะนำเสนอมุมมองและตัวอย่างของกรณีที่ประสบความสำเร็จในการทำเทคโนโลยีไปขยายประโยชน์เชิงพาณิชย์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งด้าน วทน. ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างทักษะในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและพัฒนา และการวางกลยุทธ์ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา และเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย:
- ผู้แทนจากสำนักงานจัดการเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย
- นักวิจัยจากภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย
- ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
- ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรม