กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวอบรม สัมมนา

ข่าวอบรม สัมมนา

รวบรวมข่าวการอบรม สัมมนา ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 



ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและความท้าทายของการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำ

พิมพ์ PDF

การสัมมนาทางวิชาการและการจัดนิทรรศการ

ภายใต้หัวข้อ “ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและความท้าทายของการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำ”

จัดโดยสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการไทย รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำ ภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการใช้ทรัพยากรน้ำ**

๑. หลักการและเหตุผล
     ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ที่ยาวนานของประเทศในการบริหารจัดการน้ำ ประกอบกับโครงการพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่า ที่ควรได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยทั่วผืนแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ อนุมัติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ (2nd Asia – Pacific Water Summit : 2nd APWS) ระหว่างวันที่ ๑๔–๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖      ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดประชุม 2nd APWSดังกล่าวโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี) เป็นประธาน และเห็นว่าในโอกาสที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวควรนำเสนอโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านพรัพยากรน้ำ ให้ผู้นำและคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสจากประเทศในภูมิภาคได้ตระหนัก เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา จึงจะได้จัดนิทรรศการและการประชุมวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำขึ้นคู่ขนานกับการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ (2nd APWS) อีกทั้งจะได้เชิญชวนประชาชนชาวไทยให้เข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกับผู้นำและเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อีก ๔๙ ประเทศ

๒. วัตถุประสงค์
     ๒.๑ เพื่อนำเสนอแนวทางพระราชดำริในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นที่ประจักษ์แก่ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
     ๒.๒ เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องน้ำในวงกว้าง
     ๒.๓ เปิดโอกาสให้หน่วยงานได้เผยแพร่การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ

๓. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม

     ชาวไทยและชาวต่างชาติ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนไทย ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ เครือข่ายของคณะกรรมการลุ่มน้ำ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน คาดว่าจะมีผู้เข้าประชุมและเยี่ยมชมงานที่เป็นชาวต่างชาติ ประมาณ ๘๐๐ คน และชาวไทยประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน

๔. รูปแบบการจัดงาน
     รูปแบบการจัดนิทรรศการสำหรับการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ประกอบด้วย Leaders Forum ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖, The Focus Area Sessions วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖, Technical Workshops ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และ Exhibitions ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖

๕. หัวข้อหลัก/หัวข้อสำหรับการประชุม Focus Area Sessions ประกอบด้วย
     ๕.๑ หัวข้อหลัก (Theme) คือ “Water Security and Water-related Disaster Challenges : Leadership and Commitment”
     ๕.๒ หัวข้อสำหรับการประชุม Focus Area Sessions ได้แก่
            ๑) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อเศรษฐกิจและอาหาร (Economic, Food and Water Security)
            ๒) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อชุมชนเมือง (Urban Water Security)
            ๓) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Water Security)
            ๔) ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (Household Water Security)
            ๕) ความมั่นคงด้านน้ำและความสามารถในการฟื้นตัว (Water Risks and Resilience)
            ๖) กระบวนการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานเพื่อโลกที่มีความมั่นคงด้านน้ำ (IWRM Process for a Water Secure World)
            ๗) ภัยพิบัติอันเนื่องมาจากน้ำ (Water-related Disaster Challenges)

๖. หัวข้อสำหรับ Technical Workshops และ การนำเสนอ Poster
     ๖.๑ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อเศรษฐกิจและอาหาร (Economic, Food and Water Security)
     ๖.๒ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อชุมชนเมือง (Urban Water Security)
     ๖.๓ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Water Security)
     ๖.๔ ความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (Household Water Security)
     ๖.๕ ความมั่นคงด้านน้ำและความสามารถในการฟื้นตัว (Water Risks and Resilience)
     ๖.๖ กระบวนการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสานเพื่อโลกที่มีความมั่นคงด้านน้ำ (IWRM Process for a Water Secure World)
     ๖.๗ ภัยพิบัติอันเนื่องมาจากน้ำ (Water-related Disaster Challenges)

๗. หัวข้อของการแสดงนิทรรศการ
     ๗.๑ พาวิลเลี่ยนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
     ๗.๒ พาวิลเลี่ยนมหาอุทกภัยในประเทศไทย
     ๗.๓ บูธนิทรรศการด้านวิชาการและโปสเตอร์ด้านวิชาการ
     ๗.๔ บูธแสดงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และบูธแสดงสินค้า

๘. ภาษาที่ใช้ในการจัดประชุม
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
 


ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องชำระค่าลงทะเบียนจำนวน 9,000 บาท เพื่อเข้าร่วมในการประชุมวิชาการ (Workshops) ระหว่างวันที่  16 -18  พฤษภาคม 2556 .

ผู้ที่ลงทะเบียนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
     1. เข้าร่วมชมงานนิทรรศการระหว่างวันที่ 14 -20 พฤษภาคม 2556
     2. เข้าร่วมการดูงานวิชาการ 1 วัน ซึ่งรวมค่าเดินทาง อาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อในวันที่ 19 พฤษภาคม 2556  โปรดดูรายละเอียดเส้นทางได้ที่ ->> Technical Visits
     3. เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองและงานเลี้ยงขอบคุณ
     4. อาหารกลางวันและอาหารว่างวันละ 2 มื้อ ตลอดระยะเวลาการจัดงานประชุมวิชาการ (Workshops) ระหว่างวันที่ 16 -18 พฤษภาคม 2556
     5. เอกสารการประชุมวิชาการ
     6. กระเป๋าเอกสารและของที่ระลึก
     7. พาหนะเดินทางในเส้นที่กำหนด เช่น จากโรงแรมไปยังศูนย์ประชุม  จากโรงแรมไปยังใจกลางเมืองเชียงใหม่

 

ที่มา : กรมทรัพยากรน้ำ และ เว็บไซต์ http://info.apwatersummit2.org/

 

 

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2555

พิมพ์ PDF

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญเที่ยวงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2555” พบกับสุดยอดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแห่งปี ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” ให้น้องๆ เยาวชนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันอย่างสนุก ตื่นเต้น ท้าทาย พร้อมจุดประกายความคิดกับหลากหลายกิจกรรมและหลากหลายองค์ความรู้ ตั้งแต่วันที่ 17 – 31 สิงหาคม 2555 ณ ไบเทค บางนา เวลา 09.00-20.00 น. (ยกเว้นวันที่ 22 สิงหาคม)  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.nsm.or.th/nst2012

ภายในงาน พบกับ

- นิทรรศการเทิดพระเกียรติ (Royal Pavilion) แสดงพระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” รวมทั้งผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบรมวงศานุวงศ์
     * ร่วมเทิดพระเกียรติใน วโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระชนมายุ ครบรอบ 80 พรรษา
     * ร่วมเทิดพระเกียรติใน วโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯมีพระชนมายุ ครบรอบ 60 พรรษา
- นิทรรศการหลัก ที่ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคม โดยจัดแสดงและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น ความรู้สู้พิบัติภัย ร่วมค้นหาคำตอบว่า โลกจะแตกในปี 2012 จริงหรือไม่, 100 ปี นักคณิตศาสตร์และนักถอดรหัส อลัน ทัวริง  และเกาะติดกระแสโลกกับ “นวัตกรรมเพื่อสังคมสีเขียว” และ “อาหารกับสุขภาพ”
- กิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มต่างๆ ให้ได้รับประสบการณ์ตรงด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
    1) ตื่นเต้นกับลานกิจกรรมสำหรับเยาวชน
    2) ชมการประกวดและแข่งขันผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
    3) ติดตามความก้าวหน้าและผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    4) ฝึกสมองต่อยอดความคิด สร้างจินตนาการกับหลากหลายกิจกรรม จากหน่วยงานรัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ กว่า 100 หน่วยงาน


 

แบบฟอร์มการจองเข้าชมแบบเป็นหมู่คณะ

ที่มา : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านฟิสิกส์ทางการแพทย์(Medical Physics) หัวข้อ “การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยการฉายแสงเพื่อศึกษาและตรวจวิเคราะห์โรคเนื้องอกและมะเร็ง"

พิมพ์ PDF

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน(ปว.(วต.) ร่วมกับ

สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) และภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านฟิสิกส์ทางการแพทย์(Medical Physics) หัวข้อ  
“การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยการฉายแสงเพื่อศึกษาและตรวจวิเคราะห์โรคเนื้องอกและมะเร็ง"
(Training workshop in Medical Physics - Imaging and Computation in Radiation Oncology)
-------------------------

 

หัวข้อเรื่อง “การฝึกอบรมด้านฟิสิกส์ทางการแพทย์: การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยการ

                  ฉายแสงเพื่อศึกษาและตรวจวิเคราะห์โรคเนื้องอกและมะเร็ง” (Training workshop in

                   Medical Physics – Imaging and Computation in Radiation Oncology)

 

ระยะเวลาและสถานที่:  จำนวน ๔ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

                             ณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

หลักการและเหตุผล

 

           นักฟิสิกส์ทางการแพทย์ คือ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคผู้ที่อย่างใกล้ชิดกับรังสีแพทย์และแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านเนื้องอกของร่างกายเพื่อสร้างความปลอดภัยและการใช้วิธีการฉายแสงเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ นักฟิสิกส์ทางการแพทย์มีขอบเขตความรับผิดชอบที่ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่การพัฒนารูปแบบระเบียบการและการนำการวินิจฉัยและการรักษาด้วยการฉายภาพทางการแพทย์ไปใช้จริง รวมไปถึงการสร้างระบบการนำเสนอผลการฉายแสง

 

          ในปัจจุบันนี้ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือได้นำเทคโนโลยีการฉายภาพทางการแพทย์แบบซับซ้อนและเครื่องมือการทำวิจัยเพื่อการคำนวนมาใช้จริงเพื่อปรับปรุงความแม่นยำและความถูกต้องของการรักษาด้วยการฉายแสง เช่นเดียวกัน ประเทศไทยมีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงขึ้น สถาบันชั้นนำหลายๆ แห่งได้ลงทุนในการพัฒนาการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางด้านการฉายแสงสมัยใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว อย่างไร    ก็ตามการลงทุนดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอโดยเฉพาะการลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

          เป้าหมายการของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติทางด้านการฉายภาพและการคำนวนทางฟิสิกส์เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการทำวิจัยของนักฟิสิกส์ทางการแพทย์มืออาชีพ รวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในวงการดังกล่าว ผลจากการฝึกอบรมเชิงวิชาการนี้จะเป็นการสนับสนุนและส่งผลสำคัญแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เช่น การปรับปรุงวิธีการตรวจหาโรค การวินิจฉัยโรค การให้การรักษา การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเพิ่มผลลัพธ์ทางการแพทย์

 

 

วัตถประสงค์หลัก:

           ๑. เพื่อถ่ายทอดความรู้และการฝึกปฏิบัติทางแก่นักฟิสิกส์ทางการแพทย์มืออาชีพ รวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในวงการดังกล่าว โดยเนื้อหาหลัก คือ พื้นฐานการฉายภาพและการฉายแสงเพื่อการศึกษาและการรักษาโรคเนื้องอก

          ๒. แนะนำเครื่องมือการทำวิจัยและวิธีการทางการคำนวณ เพื่อสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการฉายแสงทางการแพทย์

          ๓. เพื่อพัฒนาทักษะการวางโครงการทางการแพทย์เพื่อการทำวิจัยทางการฉายแสงเพื่อศึกษาและรักษาโรคเนื้องอก

          ๔. เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการวิจัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้านการฉายแสงเพื่อศึกษาและรักษาโรคเนื้องอก

 

กลุ่มเป้าหมาย:  จำนวน ๕๐ คน ประกอบด้วย

                    1.นักเรียนนักศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาฟิกสิกส์ทางการแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี

                         มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่หนึ่ง สอง และสามจำนวน ๓๐ คน

                    1. นักฟิสิกส์เพื่อการแพทย์ และรังสีแพทย์เพื่อการรักษาโรคเนื้องอก จากโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน๑๐ คน              

                    1.บุคลากรจากโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลเชียงใหม่และอื่นอีกจำนวน ๑๐ คน

                    1.นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พว.

 

วิธีดำเนินการ:

                   1.สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ  ดำเนินการประสานงานการจัดประชุมฯ ร่วมกับนักวิชาชีพไทยในสหรัฐฯ ที่เสนอโครงการและเป็นวิทยากร

                   1.สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ (สม.สป.วท.) เป็นฝ่ายเลขานุการเพื่อดำเนินการประสานงานและจัดการประชุม รวมทั้งบริหารการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมดังกล่าวที่ประเทศไทย

 

หน่วยงานรับผิดชอบ:

                    1.สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รับผิดชอบในการประสานโครงการ วิทยากรจากประเทศสหรัฐอเมริกา  และงบประมาณ

                    1.สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี (หมายเลขโทรศัพท์02-333-3901,   โทรสาร02-333-3930, e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน )รับผิดชอบในการประสานโครงการ  จัดทำหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมการประชุม  บริหารจัดการประชุมและงบประมาณในประเทศไทย  และประเมินผลการสัมมนา

 

 

หน่วยงานเจ้าภาพร่วมจัดการประชุม:

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ผู้ประสานงาน: ดร. พวงเพ็ญ

ตั้งบุญดวงจิตร ผู้บริหารโครงการ)

 

ร่างกำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ

วันที่๑:

ภาคเช้า         นำเสนอภาพรวมของการฉายภาพทางการแพทย์หัวข้อพื้นฐาน เช่น ความละเอียดเชิงพื้นที่ของข้อมูลภาพ ความแตกต่างในข้อมูลภาพ คุณภาพของข้อมูลภาพ การตรวจหาข้อมูลภาพ และ การแสดงผลของข้อมูลภาพ รวมไปถึงหัวข้อเกี่ยวกับการตรวจหาโรค การระบุระดับความรุนแรงของโรค และการลดความรุนแรงของโรค

ภาคบ่าย         การแนะนำการเขียนโปรแกรม MATLAB สำหรับอุปกรณ์การฉายภาพทางการแพทย์ เช่น

การนำเสนอภาพชนิดดิจิตัล การแสดงและการอ่านผลภาพ การระบุชนิดของภาพ และการแปรรูป

ของผลภาพ

วันที่ ๒:

ภาคเช้า         นำเสนอภาพรวมของระบบการวางแผนการรักษาด้วยการฉายแสง การทำ TCP และ NTCP เพื่อ

การฉายแสง รวมทั้งการจัดลำดับผลภาพ การประทับจำผลภาพ ความเหมือนและความสัมพันธ์ของผลภาพ

ภาคบ่าย         การแนะนำการเขียนโปรแกรมการใช้การฉายแสง การทำ CT, MRI, US และ PET/CT

เพื่อการฉายภาพทางการแพทย์ รวมถึงการตรวจหาโรค การบรรเทาความรุนแรง การแสดง

ผลภาพของอวัยวะที่เกิดโรค เช่น ปอด หน้าอก ศีรษะและคอ สมอง ลูกอัณฑะและอื่นๆ

วันที่ ๓:

ภาคเช้า         ทฤษฎีการวางแผนและการวางขั้นตอนวิธีการรักษารวมถึงการจำลองการอบเหนียว

                   (Stimulated annealing) และวิธีการทางสถิติ

ภาคบ่าย         การเขียนโปรแกรมและการวางแผนการรักษาด้วยการฉายแสง ลำแสง Pencil Beam และการ

วางขั้นตอนแบบทับซ้อน (Superposition algorithms) และแบบบิดม้วน (Convolution algorithms)

วันที่ ๔:

ภาคเช้า         สรุปผลจากการฝึกอบรม การนำเสนอโครงการ และการสนทนา

 

Tentative Schedule

 

Date

Time

Topics

Lecturers

May 19,

2011

08.50-09.00

Overview of objective of the workshop: Project  supporting by Office of Science and Technology (OSTC), Royal Thai Embassy, Ministry of  Science and Technology,  and Association of Thai Professionals in America and Canada ( ATPAC)

Representative

From MOST

or ??

09.00-10.30

Overview of medical imaging fundamentals:

spatial resolution, contrast, noise, image quality

Dr.Napapong

10.30-10.40

Break

 

10.40-12.10

Issues in lesion detection, staging, contouring

for various diseases

Dr.Mantana

12.10-13.00

Lunch

 

13.00-16.00

Hands- on introduction to MATLAB programming

Dr.Vorakarn &

B. Harrawood

May 20,

2011

09.00-10.30

Radiobiologically-based TCP and NTCP

models

Dr.Vipa

10.30-10.40

Break

 

10.40-12.10

Image segmentation, image registration, image similarity, cross-correlation, squared error, mutual information

Dr.Vorakarn

12.10-13.00

Lunch

 

13.00-16.00

Hands-on applications w/MATLAB

Dr.Vorakarn &

B. Harrawood

May 21,

2011

09.00-10.30

Overview of treatment planning system

Dr.Puangpen

10.30-10.40

Break

 

10.40-12.10

Optimization; theory and algorithms, including gradient descent, simulated annealing, and statistical approaches

Dr.Vorakarn

12.10-13.00

Lunch

 

13.00-16.00

Hands-on applications w/MATLAB

Dr.Vorakarn &

B. Harrawood

May 22,

2011

09.00-10.30

Finalize programming activities, project

Presentations

Dr.Vorakarn &

Dr.Puangpen

10.30-10.40

Break

 

10.40-12.00

Wrap-up discussion

Dr.Vorakarn

 

วิทยากร(Speakers)

           1. ดร.วรกานต์ จรรยาวณิชย์ (Vorakarn  Chanyavanich, Ph.D.)

Medical Physicist, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.

Department of Radiology, Duke University Medical Center

2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302

Durham, North Carolina 27705, U.S.A.

Tel: 303-880-4801

E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 

1.Mr. Brian  Harrawood

Scientific Programmer, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.

Department of Radiology, Duke University Medical Center

2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302

Durham, North Carolina 27705, U.S.A.

1.ดร. พวงเพ็ญ ตั้งบุญดวงจิตร (Puangpen  Tangboonduangjit, Ph.D.)

Program Director for the Master of Science Graduate Program in Medical Physics

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

1.ดร. มัณฑนา ธนะไชย(Mantana  Dhanachai, M.D.)

       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

     1.ดร. วิภา บุญกิตติเจริญ(Vipa  Boonkitticharoen, Ph.D.)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

1.ดร. นภาพงษ์ พงษ์นภางค์(Napapong Pongnapang, Ph.D.)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ประมาณการงประมาณ:  เบิกจ่ายจากงบประมาณ (งบรายจ่ายอื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔) ของสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ดังเอกสารแนบ

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:

                          สนับสนุนการผสานองค์ความรู้ด้านการฉายภาพทางการแพทย์เพื่อการรักษาทางกายภาพโดยการใช้การฉายแสง

                          ช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับผลงานวิจัยและเครื่องมือการคำนวณในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาฟิสิกส์ทางการแพทย์

                          มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของวงการวิจัยและเครื่องมือการวิเคราะห์สำหรับการถอดรหัสทางการแพทย์สำหรับการรักษาทางกายภาพด้วยการฉายแสง

-------------------------

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติย่อของวิทยากรจากต่างประเทศ

 

  

 

ดร.วรกานต์ จรรยาวณิชย์ (Vorakarn  Chanyavanich, Ph.D.)

Medical Physicist, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.

Department of Radiology, Duke University Medical Center

2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302

Durham, North Carolina 27705, U.S.A.

Tel: 303-880-4801

E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

Dr. Vorakarn Chanyavanich, Ph.D is a medical physicist at the Carl. E. Ravin Advanced

Imaging Labs, Department of Radiology, at Duke University Medical Center, Durham, North

Carolina. He completed his M.S. in medical physics at the University of Colorado Health

Sciences Center, and his Ph.D. in medical physics at Duke University. He has previously

worked as a clinical medical physicist at the University of Colorado, a consultant medical

physicist, and as the project manager at Argus Software, a medical physics quality

assurance software company. His research areas of interest include radiotherapy treatment

planning, medical imaging informatics, and machine learning in healthcare applications. He

is a member of the American Association of Physicists in Medicine (AAPM) and the

Radiological Society of North America (RSNA), and the Association of Thai Professionals in

America and Canada (ATPAC).

 

Mr. Brian  Harrawood

Scientific Programmer, Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs.

Department of Radiology, Duke University Medical Center

2424 Erwin Rd., Hock Plaza, Suite 302

Durham, North Carolina 27705, U.S.A.

 

 

 

Brian Harrawood is a scientific programmer in the Carl E. Ravin Advanced Imaging Labs,

Department of Radiology, at Duke University Medical Center, Durham, NC. He has worked

extensively in medical imaging at Duke for over 20 years in both Cardiology and Radiology

Departments. He earned a BA in Physics from the University of North Carolina at Chapel

Hill in 1978. Prior to Duke, Mr Harrawood worked as a software engineer with the U.S. EPA

and various smaller firms, including Bell Northern Research where he developed and

delivered training courses for software engineers. While at Duke, he developed DICOM

applications in cardiology and a PACS system for Philips Medical Systems Inturis product.

His current interests include deploying massively parallel computing to speed the

development of research in CAD algorithms and modeling in Monte Carlo applications.

 

การสัมมนา เรื่อง Technology Commercialization : Strategic Views from the Overseas Experts

พิมพ์ PDF

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน(ปว.(วต.) ร่วมกับ

สม.สป. และ สวทน.

จัดการสัมมนา เรื่อง Technology Commercialization :

Strategic Views from the Overseas Experts 

ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2554  ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้

กำหนดการสัมมนา

Technology Commercialization:

Strategic Views from the Overseas Experts

วันศุกร์ที่ 20พฤษภาคม 2554ระหว่างเวลา 8.30 – 16.00น.

ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้

จัดโดย 

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์

สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

ภายใต้ความร่วมมือของ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

และสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ

ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

...........................

 

8.30 – 9.00 น.          ลงทะเบียน

9.00 - 9.10 น.           กล่าวรายงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน

โดย ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

9.10 – 9.20 น.          กล่าวเปิดการสัมมนา

                             โดย ดร. พรชัย รุจิประภา

                             ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

9.20 – 9.50น.          ปาฐกถาพิเศษ : ยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย

                             โดย นางปัจฉิมา ธนสันติ

                             อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา   กระทรวงพาณิชย์ 

9.50 -10.10 น.          พักรับประทานอาหารว่าง

10.10 – 11.00น.       Strategies for Successful Technology Commercialization: University Perspective  

โดย Mr. Mark  Crowell

Executive Director and Associate Vice President for Innovation Partnerships and Commercialization, University of Virginia, USA 

11.00 – 11.50 น.       Strategies for Successful Technology Commercialization: Private Sector Perspective  

โดย  Mr. Steven Tepp

Senior Director, Global IP Center, US Chamber of Commerce, USA

11.50 – 12.30 น.       ถาม-ตอบ

12.30 – 13.30 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 14.15 น.       Strategies for Successful Technology Commercialization: Public R&D Institution Perspective  

โดย Mr. Philip Lim

CEO, Exploit Technologies Pte Ltd, Singapore

14.15 -14.30 น.         ถาม-ตอบ

14.30 – 16.00น.         การอภิปรายในหัวข้อ “Effective U-I-G Collaborations on Technology Commercialization: Roles and Mechanism"

                             ผู้ร่วมอภิปราย:

ศ.ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์     ที่ปรึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ

ที่ปรึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

Mr. Mark  Crowell                       

Executive Director and Associate Vice President for Innovation Partnerships and Commercialization, University of Virginia, USA 

Mr. Steven Tepp                         

Senior Director, Global IP Center, US Chamber of Commerce, USA

Mr. Philip Lim                                     

CEO, Exploit Technologies Pte Ltd, Singapore

ผู้ดำเนินการอภิปราย:ดร. เลอสรร ธนสุกาญจน์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

                      

 

                                         

 

 

 

              

การสัมมนาเรื่อง

Technology Commercialization:
Strategic Views from the Overseas Experts”

หลักการและเหตุผล

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มีภารกิจในการจัดทำนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติโดยมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งได้แก่ การสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ มาตรการ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการดำเนินการดำเนินการดังกล่าว สวทน. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมด้านระบบทรัพย์สินทางปัญญากับการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการนำผลการวิจัยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ในระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังขาดการนำทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างขึ้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้สร้างทรัพย์สินทางปัญญากับภาคอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ยังขาดความเข้มแข็ง

ในการจัดงานสัมมนาครั้งนี้ สวทน. ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตัน สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จำนวน 3คน ซึ่งมีความชำนาญด้านการบริหารจัดการผลงานวิจัยและการนำผลงานไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะนำเสนอมุมมองและตัวอย่างของกรณีที่ประสบความสำเร็จในการทำเทคโนโลยีไปขยายประโยชน์เชิงพาณิชย์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งด้าน วทน. ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างทักษะในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและพัฒนา และการวางกลยุทธ์ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา และเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย:  

- ผู้แทนจากสำนักงานจัดการเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย

- นักวิจัยจากภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย

- ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

- ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรม

 

หลักสูตรฝึกอบรมเสริม ศักยภาพด้านดิจิทัลคอนเทนท์ สำหรับคณาจารย์และผู้ประกอบการ

พิมพ์ PDF

หลักสูตรฝึกอบรมเสริม ศักยภาพด้านดิจิทัลคอนเทนท์ สำหรับคณาจารย์และผู้ประกอบการ

 

 

          มุ่งเน้นเสริมศักยภาพ สร้างเครือข่ายผู้พัฒนาและผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนท์ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยไปสู่เวทีโลกพร้อมที่จะเป็นกลไกของ องค์กรในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไอซีทีขององค์กร์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จริง เน้นศึกษา เรียนรู้ ประสบการณ์ ของผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ของต่างประเทศ และเยี่ยมชมการแสดงผลงานของบริษัทชั้นนำในงาน TOKYO INTERNATIONAL ANIME FAIR 2011 และร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบริษัทผู้ผลิตดิจิทัลคอนเทนท์ในประเทศผู้ ผลิตดิจิทัลคอนเทนท์รายใหญ่ของกลุ่มเอเชียแปซิฟิก รวมทั้ง ศึกษากรณีตัวอย่างของการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
    * ผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนท์และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
    * คณาจารย์จากสถาบันการศึกษารัฐและเอกชน
    * นักพัฒนาดิจิทัลคอนเทนท์จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
    * หน่วยงานที่สนใจนำสื่อดิจิทัลมาประยุกตฺใช้เพื่อเสริมขีดความสามารถในการ แข่งขัน

เปิดรับลงทะเบียนแล้ววันนี้! http://www.nstdaacademy.com/anime2011/index.php?page=register

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
Executive Education Program: EEP
NSTDA Academy
โทรศัพท์   0 2642 5001 ต่อ  จิดาภา (161), โฉมสิริ (127) , พรพรหม (121)
e-Mail:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 เปิดรับลงทะเบียนแล้ว วันนี้  !

หลัก สูตรอบรมสัมมนาประจำปี 2554 ของ NSTDA Academyคลิกที่นี่
 หากสนใจจัดหลักสูตรสำหรับภาย ในองค์กรของท่าน (In-House Training) โปรดติดต่อ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่
Call Center: 0 2642 5001-8

สถาบันวิทยาการ สวทช. NSTDA Academy 

Paving the way for practical S&T Knowledge

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ
539/2 ชั้น 21 อาคารมหานครยิบซั่ม

ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

 

Email : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

Twitter : http://www.twitter.com/NSTDAacademy

Facebook : http://www.facebook.com/nectecacademy

Website

http://www.NSTDAacademy.com/

 

 

 

 
หน้า 1 จาก 4
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป