กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ผลผลิต/โครงการ การพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย

การพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย

พิมพ์ PDF

“ดาวเทียมไทยโชต”

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอพระราชทานชื่อดาวเทียม THEOS (ธีออส) (Thailand Earth Observation System) ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ว่า “ดาวเทียมไทยโชต”ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thaichote” หรือ  ซึ่งมีหมายความว่า “ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง”

 

โครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย

          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง และมีแนวโน้ม ที่จะทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ ซึ่งจากหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้มีการระดมเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ   เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ : สทอภ. เป็นอีกเครื่องมือ หนึ่งที่แจกจ่ายให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง    เพื่อประกอบการวางแผนการเข้าถึงพื้นที่ประสบภัย อย่างรวดเร็ว และประเมินความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง

          จากประสบการณ์การให้บริการข้อมูลจากดาวเทียมกว่า 20 ปีที่ผ่านมาของ สทอภ. ประกอบกับ    การที่รัฐบาลไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นของตนเอง เพื่อการ เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต รวมถึงการนำไปใช้ ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรในการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้เกิดโครงการพัฒนาดาวเทียม สำรวจทรัพยากรของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า โครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติไทยโชต  ซึ่งเป็นโครงการ     ความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลฝรั่งเศส ในการพัฒนาสร้างดาวเทียม สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ของประเทศไทย รวมถึงระบบสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ การส่งดาวเทียมขึ้นสู่    วงโคจร, การพัฒนาระบบควบคุมการทำงานดาวเทียม และการปรับปรุง ระบบรับสัญญาณและประมวลผลข้อมูล ดาวเทียมในประเทศไทย โดยมี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  และบริษัท EADS Astrium ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการลงนาม ในสัญญาโครงการ เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2547 ณ ห้องรีเจนซี่ โรงแรมโอเรียลเต็ล กรุงเทพมหานคร

          ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติขนาดเล็ก มีน้ำหนักรวมประมาณ 750 กิโลกรัม มีแนววงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ในแนวเหนือ-ใต้ ที่ความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 822 กิโลเมตร มุมเอียงประมาณ 98.7 องศา ติดตั้งกล้องบันทึกข้อมูลภาพ 2 กล้อง เป็นกล้องบันทึกภาพขาว-ดำ รายละเอียดสูง 2 เมตร (Panchromatic camera) และกล้องบันทึกภาพสีรายละเอียดภาพ 15 เมตร (Multispectral camera) นอกจากนี้แล้วระบบควบคุมการโคจรของดาวเทียมไทยโชต ถูกออกแบบเป็นพิเศษ ให้มีความสามารถในการเอียงตัวดาวเทียมไปด้านซ้ายและขวาของแนวการโคจรได้ ถึง 30 องศา จากแนวดิ่ง ทำให้สามารถถ่ายภาพซ้ำในพื้นที่ที่ต้องการในรอบการโคจรถัดไป เพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพ ในพื้นที่หนึ่งๆ ให้สูงขึ้นได้

 

เจ้าของโครงการ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
                         120 หมู่ 3 อาคารอาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 6 และชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง  เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
                         โทร : 0 2143 8877
                         แฟกซ์ : 0 2143 9586-7
                         Website :http://www.gistda.or.th
                         E-mail  : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
                                   :   อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป