ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชากรส่วนมากของประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีประชากรในพื้นที่ต่างๆ ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งปัญหาภัยแล้ง หรือปัญหาน้ำหลาก เนื่องจากพื้นที่เกษตรกรรมประเทศไทย มีประมาณ 130 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน 30 ล้านไร่ และพื้นที่เกษตรน้ำฝน 100 ล้านไร่ ซึ่งในส่วนนี้อาจแก้ปัญหาได้หากชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบในพื้นที่ของตนเอง แม้ในอดีตจะมีความพยายามในการแก้ปัญหาในพื้นที่ต่างๆ แต่การปฏิบัติที่ผ่านมายังแก้ปัญหาได้ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับภูมิสังคมของชุมชน จึงเกิดผลต่อเนื่องเป็นปัญหาความยากจน และปัญหาหนี้สินของครัวเรือน เพราะการทำเกษตรไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
![]() |
![]() |
การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา
หลักการในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนในเบื้องต้นนั้น จำเป็นที่จะต้องมีระบบข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการผลิตภาคเกษตรกรรมของชุมชนในฤดูกาลต่างๆ
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) - สสนก. ได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูลของชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- ใช้แผนที่ภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง และเครื่องจับพิกัดจุด GPS ในการสำรวจแหล่งน้ำ ทำแผนที่แหล่งน้ำ ทำแผนที่แนวเขตป่าอนุรักษ์ ทำข้อมูลตำแหน่งฝายชะลอความชุ่มชื้น และจัดการทรัพยากรน้ำท้องถิ่น
- ใช้อุปกรณ์โทรมาตรขนาดเล็ก ในการเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม เพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- ใช้โปรแกรม Excel ในการแก้ปัญหารายได้-รายจ่าย-หนี้สินครัวเรือน โดยการทำระบบบัญชีครัวเรือน บัญชีชุมชน ฐานข้อมูลครัวเรือน บัญชีน้ำ และสนับสนุนให้ชุมชนมีการวางแผนการผลิต การจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จ
ความสำเร็จของเครือข่ายปฏิบัติการน้ำชุมชน สามารถแสดงให้เห็นเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้
1. ชุมชนสามารถหาแหล่งกักเก็บน้ำ และดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำ
2. ชุมชนสามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้อย่างเพียงพอ ในช่วงฤดูแล้ง และฝนทิ้งช่วง
3. เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแผนการผลิตที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น
4. เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และมีคณะกรรมการในการติดตามผล
5. มีการขยายเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนไปยังบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง และนำต้นแบบการจัดการน้ำไปประยุกต์ใช้ได้กับสภาพภูมิสังคมของแต่ละชุมชน
ตัวอย่างความสำเร็จของเครือข่ายปฏิบัติการน้ำชุมชน
ด้านผลผลิต
ตัวอย่างการวางแผนการผลิตของนางอรุณ เหลือสืบพันธ์ ในปี 2552 มีต้นทุนในการผลิต 564,923 บาท ได้รายรับทั้งหมด 1,349,746 บาท รวมได้กำไรจากการขายผลผลิตทางการเกษตรเป็นมูลค่า 784,823 บาท จากเดิมมีรายรับทั้งหมดเพียง 157,500 บาท
![]() |
![]() |
เงินออม
ตัวอย่างแสดงการลดค่าใช้จ่ายของชุมชนบ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ จากการดำเนินโครงการของ สสนก.
* เฉลี่ยเงินออม 4,800 บาท/เดือน (57,600 บาท/ปี) จากการสุ่มตัวอย่าง 20 ครัวเรือน
ทรัพย์สินของชุมชน
*ราคารถแทร็คเตอร์แตกต่างกันตามกำลังเครื่องยนต์