กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดการประชุมฯ วิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ปี 2559 หรือ International NuclearScience and Technology Conference (INST 2016) ในวันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2559 ซึ่งงานปีนี้เน้นการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ยกระดับคุณภาพชีวิต Nuclear for Better Life นำทัพผลงานวิจัยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากกว่า 130 ผลงาน กว่า 10 ประเทศทั่วโลก นำเสนอภายในงาน พร้อมโชว์สิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ผลงานเยาวชนและนักวิจัยวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดีเด่น
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนาบนพื้นฐานองค์ความรู้ และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ปี 2559 หรือ International Nuclear Science and Technology Conference (INST 2016) จึงเป็นโอกาสในการสื่อสารและเผยแพร่ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงการประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาต่างๆ และให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมและบริการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรวมทั้งเกิดการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือ International Nuclear Science and Technology Conference (INST 2016) ถือเป็นงานประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งสำคัญ ซึ่งจะจัดขึ้นเพียง 2 ปีครั้ง โดยงาน INST แบ่งการนำเสนอเป็น 2 รูปแบบ คือ Oral Presentation และ Poster Presentation มีนักวิจัยส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 133 ผลงาน แบ่งเป็น Oral Presentation จำนวน 39 ผลงาน และ Poster Presentation 94 ผลงาน จากนักวิจัย นักพัฒนา นักวิชาการกว่า 10 ประเทศทั่วโลก อาทิ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย เมียนมาร์ แอฟริกาใต้ สวีเดน เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานจากทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่น้อยกว่า 500 คน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ดร.พรเทพ กล่าวอีกว่า การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับโลก และระดับภูมิภาคมาร่วมบรรยาย ได้แก่ Mr. Yukiya Amano ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ บทบาทสำคัญของ IAEA และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงมีหมายกำหนดการเข้าพบหารือกับรัฐบาลถึงนโยบายและแนวทางความร่วมมือระดับประเทศกับ IAEA นอกจากนี้ยังมีวิทยากรชั้นนำจากนานาประเทศร่วมบรรยายในการประชุมครั้งนี้ อาทิ ผู้บริหารจากองค์การเซิร์น จากสวิตเซอร์แลนด์ หน่วยงานนิวเคลียร์ จากญี่ปุ่น เวียดนาม แคนาดา เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะเรียนรู้ทั้งด้านเทคโนโลยี แนวโน้มและการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
“นอกจากนี้ ยังมีการแสดงผลงานนิทรรศการนิวเคลียร์กับผลงานด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การโชว์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ประกวดหุ่นยนต์ปฎิบัติการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์แล้ว ปีนี้คณะกรรมการยังได้คัดเลือกและมอบรางวัลให้แก่ นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดีเด่น หรือ Young Nuclear Scientist Award ซึ่งผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่ ดร.วรรณวิมล ปาสาณพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Radiation chemistry and material sciences หัวหน้าภาควิชาหัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงการนำเสนอโครงการและผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษา” อีกกว่า 100 ผลงาน ดร.พรเทพ กล่าวในตอนท้าย
ตรวจข่าวโดย
ปณิธา รื่นบรรเทิง
ฝ่ายสื่อสารองค์การ สทน.
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : บริษัท อิน เฮ้าส์ เอเยนซี่ จำกัด
นายจตุพล ศิริเดช 099 519 3641/ นายวรพล ปัญญาผาบ 092 556 2461
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313