กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน สนช. ร่วมกับธนาคารออมสินผนึกกำลังปั้นสตาร์ทอัพและ SMEs ไทย เดินหน้ากลไก “นวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย”เพื่อเกื้อหนุนต่อธุรกิจสตาร์ทอัพและ SMEs

สนช. ร่วมกับธนาคารออมสินผนึกกำลังปั้นสตาร์ทอัพและ SMEs ไทย เดินหน้ากลไก “นวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย”เพื่อเกื้อหนุนต่อธุรกิจสตาร์ทอัพและ SMEs

พิมพ์ PDF

 

             กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับธนาคารออมสิน ลงนามความร่วมมือภายใต้ “โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้น” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยจะให้ความรู้และคำปรึกษาทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการ ระบบการเงิน การตลาด ตลอดจนด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งต่อผู้ประกอบการะหว่างกันให้สามารถเข้าถึงบริการของแต่ละหน่วยงานอย่างทั่วถึง

 

             ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “สนช. เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ “MOST startup” ซึ่งได้วางแผนการดำเนินงานระยะยาวแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้วิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะกลุ่มเทคสตาร์ทอัพของประเทศมีศักยภาพในการขยายธุรกิจและสร้างตลาดใหม่ และสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับความร่วมมือกับธนาคารออมสินในครั้งนี้ สนช. จะเป็นช่องทางในการแนะนำสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและผ่านการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้านนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี และด้านอื่น ๆ ตามที่ สนช.เห็นสมควร แก่ธนาคารเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านการเงิน ได้แก่ การร่วมลงทุน หรือการขอสินเชื่อจากธนาคาร ตลอดจนให้การสนับสนุนภายใต้บันทึกความร่วมมือในโครงการนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย โดยจะให้ความร่วมมือในการส่งต่อผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระหว่างกัน รวมถึงการจัดส่งผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ ด้านต่างๆ ของ สนช. เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการ หรือร่วมกิจกรรมอื่นๆ ในโครงการ GSB StartUP ของธนาคาร นอกจากนี้ สนช. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านผู้ประกอบการเพื่อสังคม โดยได้วางกรอบการพัฒนาแผนงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โครงการนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม และโครงการนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ โดยนำร่องสนับสนุนคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์ คลัสเตอร์ประมงชายฝั่งและการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่คลัสเตอร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป และสนช.ยังมีโครงการ “นวัตกรรมดี..ไม่มีดอกเบี้ย” สนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการทุนสนับสนุนไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน MLR+2 โดย สนช.จะชำระดอกเบี้ยแทนให้ผู้ประกอบการ เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะช่วยยกระดับความร่วมมือของทั้งขององค์กรให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น”

 

             ด้านธนาคารออมสิน นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงิน อีกทั้งยังเป็นแหล่งทุนเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจตั้งแต่ระดับฐานรากของประเทศ ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงให้บริการทางการเงินที่หลากหลายและครอบคลุมทุกบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกสาขาอาชีพ

 

             สำหรับความร่วมมือ โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้น ในครั้งนี้เกิดจากความประสงค์
ที่จะให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม(SMEs) ได้เข้าถึงแหล่งทุนอันจะเป็นการสร้างโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เชิงพาณิชย์ ผลิตสินค้าป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยธนาคารมีโครงการรองรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและได้รับการรับรองจาก สนช. ถึง 2 รูปแบบ คือ ด้านการให้สินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อ SMEs Start Up วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.99 ต่อปี สินเชื่อ GSB SMEs ส่งเสริมศักยภาพธุรกิจไทย วงเงินไม่เกิน 50ล้านบาท กรณีธนาคารร่วมลงทุน อัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.99 ต่อปี กรณีธนาคารไม่ร่วมลงทุน อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 4.99 ต่อปี ปัจจุบัน MLR=6.5 ต่อปี MOR=7.1 ต่อปี

 

             และ ด้านการลงทุน กองทุน SMEs Private Equity ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสิน กับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และภายใต้กรอบความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากการเป็นแหล่งเงินทุนแล้ว ทั้ง 2 หน่วยงาน ยังจะร่วมกันให้ความรู้ อันเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางสื่อของแต่ละองค์กร และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ธนาคารออมสินคาดหวังว่าผู้ประกอบการ SMEs Startup จะสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และดำเนินกิจการด้วยความแข็งแกร่ง และมีการเจริญเติบโตทางธุรกิจมากขึ้นไปส่งผลโดยตรงให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของไทยก็มีการเติบโตไปตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับอาเซียน (AEC) หรือแม้กระทั่งในระดับโลก ซึ่งถ้าหลายๆ SMEs
มีความแข็งแรง ก็ย่อมจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีความแข็งแกร่งในระยะยาว

 

 



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 0 – 2017 5555 โทรสาร 0 – 2017 5566 เว็บไซต์: www.nia.or.th อีเมล์: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

และสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสิน

Website : www.gsb.or.th,www: GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115


เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :    อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 

 


 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป