กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน เจาะลึก ‘ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก’ ของนักวิจัยม.อ. ช่วยสืบสวนคดี พิสูจน์หลักฐานในพื้นที่ภาคใต้

เจาะลึก ‘ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก’ ของนักวิจัยม.อ. ช่วยสืบสวนคดี พิสูจน์หลักฐานในพื้นที่ภาคใต้

พิมพ์ PDF

 

 

 

              ภายหลังการประกาศรางวัลนวัตกรรมธุรกิจระดับประเทศ (MOST Innovation Awards 2016) ภายในงาน RSP Innovation 2016 (Regional Science Park Innovation Day) จัดขึ้นโดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง ระหว่างวันที่ 9 - 10 กรกฏาคม  2559 ณ เซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพฯที่ผ่านมา 

 

              ก่อนจะมาเป็นงาน RSP innovation Day 2016 ในครั้งนี้ สอว.ได้ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 แห่งจัดงานในส่วนภูมิภาค ได้แก่  1.Northern Science Park Innovation Fair (NSP Innovation Fair) ณ จังหวัดเชียงใหม่ 2. Northeastern Science Park Fair 2016 (NESP Innovation Fair) ณ จังหวัดขอนแก่น และ Southern Thailand Science Park Innovation Fair 2016 (STSP Innovation Fair) ณ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจและบทบาทของ สอว.และการบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง ต่างได้เฟ้นหาผลงานนวัตกรรมเพื่อรับรางวัลในสาขาต่าง ๆ สู่การช่วงชิงรางวัลนวัตกรรมธุรกิจระดับประเทศ

 

               สำหรับรางวัลนวัตกรรมธุรกิจระดับประเทศ หรือ MOST Innovation Awards 2016 ไม่ได้ทำให้ผู้เข้าร่วมงานผิดหวัง เนื่องจากแต่ละชิ้นงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศนั้น ได้วิจัยและพัฒนาจนเกิดการนำไปใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วหลายชิ้น ซึ่งหนึ่งในชิ้นงานที่ได้รับความสนใจมากมายจากผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกลอกลายแบบ  3 มิติ สำหรับงานพิสูจน์หลักฐาน ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ - ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดย ดร.เอกวิภู กสลกรณ์สุรปราณี ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

 

  ดร.เอกวิภู กสลกรณ์สุรปราณี

 

               ดร.เอกวิภู กสลกรณ์สุรปราณี กล่าวว่า ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกนี้  สามารถลอกลายได้และใช้งานได้ง่ายในภาคสนาม สำหรับวิธีการใช้งาน อันดับแรกนำยางมาแปรรูปด้วยความร้อนที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส โดยสามารถใช้น้ำร้อนจากการต้มน้ำหรือไดร์ฟเป่าผมได้ หลังจากนั้นวัสดุจะกลายเป็นยางอ่อนนุ่มคล้ายดินน้ำมันและสามารถนำวัสดุไปพิมพ์ในจุดที่ต้องการลอกลาย พร้อมกดไว้ประมาณ 10 นาที แล้วรอ กระทั่งวัสดุเย็นตัวลง ท้ายสุดยางธรรมชาติเทอร์โบพลาสติกจะแสดงพิมพ์แบบเป็น 3 มิติ ตามพื้นที่นั้น ๆ แม้อุณหภูมิห้องก็ไม่สามารถทำให้ลายพิมพ์ลอก ลบหรือเปลี่ยนแปลงได้ 

 

              นอกจากนี้ ยางธรรมชาติเทอร์โบพลาสติกได้ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานพิสูจน์หลักฐาน ซึ่งสามารถช่วยสืบสวนสอบสวนมาแล้วหลายคดี เช่น คดีงัดแงะในอำเภอจะนะ สามารถลอกลายร่องรอยการงัดแงะที่เกิดจากการใช้เครื่องมือขนาดเล็ก และคดีลอบยิง โดยใช้ยางเทอร์โมพลาสติกลอกลายรูกระสุนปืนจนสามารถรู้ชนิดของกระสุนปืนและวิถีกระสุนได้ นอกจากนี้ ยังใช้ในงานด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล โดยเฉพาะร่องรอยลายนิ้วมือในผู้เสียชีวิตได้แบบ 3 มิติ ซึ่งอาจนำไปเป็นหลักฐานประกอบชั้นดีในการประกอบคดีความตัดสินได้ 

 

              นายสมปอง เพชรโรจน์ ผู้จัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่นักวิจัยได้พัฒนาวิจัยยางเทอร์โมพลาสติกขึ้นมา นักวิจัยก็ได้เข้ามายื่นจดอนุสิทธิบัตรกับทางอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือและสนับส่งเสริม พร้อมทั้งช่วยตรวจคำร่างที่นักวิจัยจะยื่นจดต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งตอนนี้ได้จดอนุสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินของทางมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว และพยายามผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมต่อไป 


 

 

ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์ 

ภาพและวิดีโอโดย : นายเอกชัย สุนทรเดช และ นายรัฐพล หงสไกร 

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :          อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป