|
|
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงฯ |
![]() |
|
ดร.พิเชฐฯ เยี่ยมชมนิทรรศการระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน |
ตามที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีข้อสั่งการในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวบรวมเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียของครัวเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียของแหล่งน้ำในชุมชนที่มีประสิทธิภาพและสะดวกต่อการใช้งาน
![]() |
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด เยี่ยมชมนิทรรศการระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
วันนี้ (7 กรกฎาคม 2559) ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมอบหมายให้สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวบรวมและนำเสนอเทคโนโลยีที่สามารถใช้หรือประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเอง หรือเทคโนโลยีที่เกิดจากการร่วมวิจัยและพัฒนากับเครือข่ายพันธมิตร และการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากเวทีต่าง ๆ โดยรวบรวมได้กว่า 11 เทคโนโลยี ดังนี้ 1. เครื่องกลเติมอากาศแบบกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 2. เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศลงใต้ผิวน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 3. กังหันตีน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 4. เรือดูดตะกอนระบบไฮดรอลิค 5. ต้นแบบเรือขุดลอกตะกอน 6. เรือดูดเลน 7. เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนที่ได้ (โอเอ็มอาร์) 8. ถังดักไขมันครัวเรือน 9. ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ 10. ระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาดครัวเรือน : สำหรับปศุสัตว์ และ 11. ระบบผลิตก๊าซชีวภาพขนาดครัวเรือน : สำหรับบำบัดน้ำเสียโรงงานยางพารา
![]() ![]() |
||
ดร.พิเชฐฯ ชมการสาธิตเรือดูดตะกอนระบบไฮครอลิค |
![]() |
![]() |
เยี่ยมชมนวัตกรรมเพื่อการบำบัดน้ำเสีย และถังดักไขมันสำหรับครัวเรือน |
![]() |
![]() |
เครื่องกลเติมอากาศแบบกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศลงใต้ผิวน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ |
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าว่า วันนี้ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ขอให้นักวิชาการและภาคเอกชน นำอุปกรณ์ที่ท่านนายกรัฐมนตรี อยากเห็นการใช้งานที่เป็นประโยชน์กับประชาชน จำนวนมากมาสาธิตให้ชม ซึ่งมีหลายชิ้นที่น่าสนใจมาก ตัวอย่างเช่น เครื่องอัดอากาศหรือกังหันน้ำ หากจะใช้เป็นการทั่วไปมีการนำโซล่าร์เซลล์มาใช้จะสะดวกขึ้น ที่พิจารณาวันนี้มี 2 ลักษณะ ได้แก่ กังหันน้ำที่ใช้ระบบตะกรุนน้ำ เพื่อให้เกิดฟองอากาศ แต่จะได้เฉพาะผิวน้ำ กับอีกส่วนหนึ่งซึ่งจะเหมาะกับสภาพเมืองไทย เป็นตัวที่ใช้โซล่าร์เซลล์แต่ใช้เทคโนโลยีอัดอากาศลงไปใต้ผิวน้ำจะลงลึกกี่เมตรก็ออกแบบได้ ข้อดีคืออากาศหรือออกซิเจนจะเข้าไปในเนื้อน้ำ ทำให้น้ำได้ออกซิเจนมากขึ้น ราคามีตั้งแต่หลักหมื่นถึงแสน อีกระบบหนึ่ง เป็นการบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน แต่มีระบบบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมมาให้ชมด้วย บ้านเรือนทำครัวแล้วมีน้ำเสียบางครั้งมีตะกอนลงไปด้วย นำไปดักไว้ เป็นเทคโนโลยีพื้นๆ ราคาไม่กี่ร้อยก็ทำได้ โดยมีตะแกรงกรองตะกอนก่อน และนำตะกอนไปทิ้ง โดยใช้ระบบกาลักน้ำ ถ้าหากในครัวเรือนใช้ระบบนี้กันมากๆ น้ำเสียที่จะลงในคูคลองก็จะน้อยลง การที่จะบำบัดคลองแสนแสบก็จะง่ายขึ้น
เราได้ให้โจทย์ผู้นำผลงานมาแสดงและสาธิตให้ชม ไปกำหนดราคาตามจำนวนผลิตน้อย-มาก และระบบสุดท้ายเป็นเรือดูดโคลนเลน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวคิดมาว่า ลำคลองในกรุงเทพมหานคร ถ้าทำให้ตะกอนที่ทับถมมานานขึ้นมาข้างบน จะทำให้คูคลองมีความลึกมากขึ้น การระบายน้ำจะง่ายขึ้นและรองรับน้ำได้มากขึ้น บางเทคโนโลยีแพงมากเพราะมาจากต่างประเทศ บางเทคโนโลยีต้องไปออกแบบให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะใช้กับคูคลองจะต้องทำให้มันแคบลง วันนี้ได้ให้โจทย์ไปทำให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ อีกโจทย์คือทำอย่างไรให้ตะกรุนดินเลนข้างล่างมีประสิทธิภาพสูงและต้องดูดออกไปด้วย แบบที่นำมาแสดงดูดออกมาทิ้งข้างทาง ซึ่งเป็นภาระในการทักใส่รถขนไปทิ้งหรือถมที่อื่น ได้แนะนำให้ทำระบบที่สามารถดูดออกมาใส่รถบรรทุกได้เลย ซึ่งก็จะติดปัญหาเทคนิคที่โคลนที่ดูดออกมามีน้ำผสม 40-60% ทำอย่างไรจะรีดเอาน้ำออกก่อนแล้วเอาเฉพาะเนื้อโคลนออกไป ดร.พิเชฐ กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3700 ต่อ 3927
Call Center โทร.1313
ข่าวโดย : ปราโมทย์ ป้องสุธาธาร
ภาพโดย : นายเอกชัย สุนทรเดช
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313