กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

พิมพ์ PDF

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (ครั้งที่ 1) 

ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ตามแนวทางการตรวจสอบ  และประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.  2559 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ  (ค.ต.ป.)  มีอำนาจหน้าที่ตามนัยของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ.  2548 ได้มุ่งเน้นการติดตาม ตรวจสอบและ ประเมินผลโครงการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลโดยประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ  ตามมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ

                      คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ตามหนังสือ ที่ นร 1201.1/1911  ลงวันที่  11  ธันวาคม 2550  ได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการตามมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน  41  รายการ วงเงินงบประมาณ  จำนวน  19,783,800.-  บาท  ปฏิบัติงานสอบทานประเมินผลโดยการจัดทำแผนการสอบทาน  ประชุมติดตามงาน  ปรึกษาหารือกับผู้บริหาร  หัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการ สำนัก ศูนย์ กลุ่มต่างๆ  ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการและกิจกรรม  วิเคราะห์จัดทำรายงานการตรวจสอบ  ประเมินผลโครงการ  โดยสรุป ดังนี้

 

               1) ภาพรวมการดำเนินงาน

                       1.1  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้รับอนุมัติโครงการ จำนวน  41  รายการ  วงเงิน  19,783,800.-  บาท  ดำเนินการจัดซื้อ – จัดจ้าง กับผู้ประกอบการได้ 36  รายการ  คิดเป็นร้อยละ 87.80 วงเงินตามสัญญา  14,943,628.13  บาท  มีเงินเหลือเนื่องจากจัดซื้อ – จัดจ้าง ต่ำกว่าวงเงินที่ได้รับ  1,411,771.87  บาท  รวมวงเงินที่ดำเนินการได้  16,355,400.-  บาท  คิดเป็นร้อยละ  82.67  ณ วันที่  31  มีนาคม  2559  มีงานเสร็จสิ้น  จำนวน  29  รายการ  คิดเป็นร้อยละ  80.56  ของจำนวนที่ดำเนินการได้  ( มี  5  รายการ  ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิด  4  รายการ และได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ  1  รายการ )

                       1.2  การดำเนินงานตามโครงการเกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจากการจัดซื้อ – จัดจ้าง กับผู้ประกอบการโดยตรง จำนวน 14,943,628.13 บาท  คิดเป็นร้อยละ  75.53  ของงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ หน่วยงานภาครัฐ มีอุปกรณ์เครื่องมือ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมให้บริการประชาชนที่มีประสิทธิภาพ

                        ภาพรวมโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นส่วนใหญ่  โครงการสนองตอบนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในหน่วยงานภาครัฐ

 

               2)  ข้อค้นพบที่สำคัญ

                        2.1  การดำเนินโครงการมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณได้รับไม่เพียงพอจัดซื้อ – จัดจ้างและระยะเวลาดำเนินการกระชั้นชิด เนื่องจากเป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล การจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการหน่วยงานเจ้าของโครงการควรจะต้องมีความพร้อมเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อมิให้เสียโอกาสในการจัดทำโครงการ

                        2.2  ผู้ประกอบการต้องทำสัญญาจัดซื้อ – จัดจ้างกับหน่วยงานพร้อมๆ กันหลายหน่วยงานทำให้เกิดข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาทำงาน สภาพคล่อง วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน เป็นสาเหตุให้ปฏิเสธงานไม่มาลงนามสัญญาจ้าง

 

               3)  ข้อเสนอแนะ

                    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                     เพื่อสนับสนุนนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ หากรัฐบาลมีนโยบายดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจลักษณะนี้ในโอกาสต่อไปควรพิจารณาเพิ่มความยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลาดำเนินโครงการและควรเป็นโครงการที่มีลักษณะกระจายรายได้ให้กับประชาชน  รวมทั้งมีการพิจารณาจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เป็น
หรือมีส่วนประกอบของ Local Contents ในสัดส่วนที่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้

 

คลิกดาวน์โหลดเอกสาร


ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง โทรศัพท์ 0 2333 3962

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป