กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ผู้แทนหน่วยกักกันพืชออสซี่ชื่นชมมาตฐาน ศูนย์ฉายรังสี สทน. พร้อมฉายรังสีผลไม้ส่งออกไปออสเตรเลีย

ผู้แทนหน่วยกักกันพืชออสซี่ชื่นชมมาตฐาน ศูนย์ฉายรังสี สทน. พร้อมฉายรังสีผลไม้ส่งออกไปออสเตรเลีย

พิมพ์ PDF


การตรวจห้องควบคุมการฉายรังสี

 

               หลังจากที่ประเทศไทยสามารถใช้เทคนิคการฉายรังสีแกมมา เพื่อกำจัดแมลง ไข่แมลงวันผลไม้สำเร็จ และสามารถส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาได้เป็นครั้งแรกเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ประเทศไทยก็มีความพยายามที่จะสร้างความมั่นใจให้กับประเทศต่างๆ ยอมรับเทคนิคการฉายรังสี และนำเข้าผลไม้ฉายรังสีของไทย จนกระทั่งในปีที่ 2557 ไทยกับออสเตรเลียมีข้อตกลงร่วมกันในการส่งออกผลไม้สดจากทั้งสองประเทศ โดยไทยสามารถส่งออกผลไม้สด 3 ชนิดได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง ไปยังออสเตรเลีย

               นางสาวอรรจยา มาลากรอง ผู้จัดการศูนย์ฉายรังสี เปิดเผยถึงกระบวนการในการฉายรังสีผลไม้สดไปออสเตรเลียว่า ออสเตรลียอนุญาตให้ไทยใช้วิธีในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ 3 วิธี ได้แก่ การรมควันด้วยสารเคมี การอบไอน้ำ และการฉายรังสีแกมมา ซึ่งประเทศไทยเลือกใช้การฉายรังสีแกมมา เพราะนอกจากสามารถกำจัดไข่แมลง และแมลงวันผลไม้ได้แล้ว ยังสามารถกำจัดแมลงด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ซึ่งเป็นแมลงที่ออสเตรเลียมีความกังวลมากที่สุด ซึ่งอีก 2 วิธีไม่สามารถกำจัดแมลงประเภทนี้ได้ ซึ่งปริมาณรังสีที่สามารถกำจัดแมลงประเภทต่างๆได้จนหมดคือปริมาณ 400 กิโลเกรย์

 

การตรวจมังคุดที่เข้ามาฉายรังสี (ซ้าย) การตรวจโรงงานห้องฉายรังสี (ขวา)

 

 

ข่าวโดย : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์ 

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร. 02 333 3728-3732   โทรสาร 02 333 3834

E-Mail:     อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน     Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313


 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» สทน.เชิญร่วมประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งสำคัญของไทย พบสุดยอดนวัตกรรมจากทั่วโลก
» วท.ยก NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย
» ก.วิทย์ฯ เผยผลสำเร็จ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เปิดรับผลไม้ฉายรังสีของไทยเข้าประเทศเป็นครั้งแรก
» รมว.วิทย์ฯ นำทีมเยี่ยมชม สทน.นครนายก เน้นเร่งแก้ปัญหาการขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์
» พิเชฐ ย้ำ ให้ สทน. เพิ่มกำลังการฉายรังสีในผลไม้ส่งออก ตามนโยบายท่านนายกรัฐมนตรี
» สทน.เปิดประวัติศาสตร์ 50 ปี วิวัฒนาการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไทย สู่การพัฒนาในทศวรรษหน้า
» รมว.วท. เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “สมรภูมิไอเดีย เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทั่วไทย”
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป