สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีห้องปฏิบัติการแสงสยามถือเป็นห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ด้วยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีแสงขั้นสูงสำหรับรองรับงานวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันมีนักวิจัยต่างชาติขอเข้าใช้บริการแสงซินโครตรอนกว่า 30 โครงการต่อปี ซึ่งนอกจากเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพแล้ว ทางสถาบันฯ ยังมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่พร้อมพัฒนาสถาบันฯ ให้ก้าวเข้าสู่สากล เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยในระดับแนวหน้า เมื่อเร็วๆ นี้ Dr. Bruce Ravel นักฟิสิกส์จาก National Institute of Standard and Technology สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ได้รับเชิญมาบรรยายพิเศษในการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (ASEAN Workshop on X-ray Absorption Spectroscopy – AWX2016) และในโอกาสเดียวกันนี้ Dr. Bruce Ravel ได้ขอใช้แสงซินโครตรอนในเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ณ ระบบลำลียงแสงที่ 8 สำหรับงานวิจัยของเขาอีกด้วย
Dr. Bruce Ravel กล่าวว่า “การมาซินโครตรอนไทยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดยที่ผ่านมาจะมาในฐานะวิทยากรของการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ASEAN Workshop on X-ray Absorption Spectroscopy โดยการเชิญของสถาบันฯ แต่ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกทีได้มาใช้แสงซินโครตรอนในเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ห้ององปฏิบัติการแสงสยาม จ.นครราชสีมา
ปัจจุบันผมและทีมวิจัยกำลังศึกษาเรื่องฝุ่นในระบบสุริยะ หรืออนุภาคของแร่ขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอวกาศ ซึ่งได้ร่วมกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NASA ในการศึกษาหาองค์ประกอบของฝุ่นเหล่านั้น แน่นอนว่าเราไม่สามารถเก็บตัวอย่างฝุ่นจากอวกาศมาวัดได้ เราจึงใช้วิธีวัดการดูดกลืนรังสีเอกซ์ของฝุ่น โดยใช้รังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้นในอวกาศอยู่แล้ว ผ่านตัวรับสัญญาณตามสถานีอวกาศต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับผลการทดลองการดูดกลืนรังสีเอกซ์ที่วัดจากห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยธาตุหลักๆ ที่กำลังศึกษาคือ แมกนีเซียม อะลูมิเนียม และซิลิกอน ซึ่งข้อมูลที่วัดได้ในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากกับงานวิจัยของผม นอกจากนี้ผมรู้สึกประทับใจทีมงานทุกท่าน ที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดช่วงเวลาที่ทำการทดลอง และหากมีโอกาสจะกลับมาใช้แสงซินโครตรอนที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนอีกแน่นอน”
ดร. วันทนา คล้ายสุบรรณ์ หัวหน้าทีมงานระบบลำเลียงแสงที่ 8 กล่าวปิดท้ายว่า "เราช่วย Bruce ทำการทดลองตลอดสามวันเต็ม บันทึกสเปกตรัมได้มากถึง 150 สแกน จากตัวอย่างหินแร่กว่า 30 ชนิด คาดว่าจะเป็นฐานข้อมูลขั้นเลิศของงานวิจัยอีกหลายๆ เรื่องในอนาคต"
ผู้ประสานงาน น.ส.ศศิพันธุ์ ไตรทาน, น.ส.กุลธิดา พิทยาภรณ์
เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1251-2 โทรสาร 0-4421-7047
อีเมลล์: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
เผยแพร่ข่าว : ชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834
E-Mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313