กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน การปฏิรูประบบวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาประเทศ

การปฏิรูประบบวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาประเทศ

พิมพ์ PDF

 

 

            ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง การปฏิรูประบบวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาประเทศ ในเวทีเสวนาระดมความคิด "กฎหมายปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาประเทศ" โดย คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อร่วมกันพิจารณาศึกษาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตลอดจนผลักดันร่างกฎหมายทั้งสองที่อยู่ระหว่างดำเนินการสเนอขอแก้ไขไปสู่การบังคับใช้เพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข 306-307 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559 

 

 

           ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สามารถที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก เรื่องวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความยืดหยุ่น มีความเร็วที่สูงกว่าสาขาหลายสาขา และยังแทรกซึมเข้าไปยังทุกวงการ วิจัยหรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในทุกกระทรวง แต่วิทยาศาสตร์ของประเทศ ท่านนายกรัฐมนตรี มองเห็นคือบูรณาการ วิจัยคือบูรณาการ ถ้าบูรณาการได้ดี จะออกแรงน้อยลง แต่ทำงานร่วมกัน ผมคิดว่า spirit ของกฎหมายฉบับนี้ คือประโยคหลังนี้ แต่กฎหมายอย่างเดียวไม่พอ ต้องมี spirit คอยดันกฎหมายด้วย

 

 

           เรื่องระบบงบประมาณ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้เวลามากกว่า 1 ปี ฉะนั้นระบบงบประมาณควรจะเป็นระบบที่มองไปข้างหน้า ให้เห็นจุดที่การวิจัยแต่ละเรื่องสามารถสำเร็จได้ ต้องมีแผนงานวิจัยที่ชัดเจนและการจัดสรรงบประมาณรายปีก็จัดสรรตามแผนวิจัย การกำกับงบประมาณก็จะง่ายขึ้น เพราะมองเห็นภาพรวม

 

 

           ดร.พิเชฐ กล่าวอีกว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเรามีการลงนามโครงการ Food Innopolis มี 14 บริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ของไทยมาร่วมลงนามด้วย และ 12 มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science) หรือที่เกี่ยวข้องกับอาหาร มาร่วมลงนามด้วย เริ่มจากบริษัทใหญ่แล้ว Startup ก็จะตามมา  เรื่อง R&D กับ Startup ต้องเริ่มคิดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะในอนาคตบริษัทใหญ่ก็จะไม่ลงทุนในการวิจัยอย่างเดียว แต่จะมองหา Startup ในกลุ่มอุตสาหกรรมของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ Startup คือ Open Innovation  Startup คือโอกาสของบริษัทที่ไม่มีเวลาทำวิจัย แต่เปิดให้ตลาดเข้ามาร่วมกันวิจัย และมีStartup ที่น่าสนใจอันหนึ่งคือ Startup ด้านการเกษตรและอาหาร และ Startup ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเราไม่ต้องพึ่งพาใคร ในโครงการ Food Innopolis เราจะมีพื้นที่ให้กับ Food Startup ด้วย ซึ่งหลายประเทศเริ่มเข้ามาแล้ว

 

 

 

 


    
ข่าวโดย : นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร
ภาพข่าว: นายรัฐพล  หงสไกร
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732   โทรสาร 02 333 3834
E-Mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน      Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป