ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน ณ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 – ณ สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รักษาแทนผู้อำนวยการองค์พิพิธภัณฑ์ (อพวช.) และดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ) ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวงานเทศกาล “ท่องโลกเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ World Biotech Tour: WBT” หลังจากองค์กรสมาชิกเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิทยาศาสตร์ (ASTC) และมูลนิธิ BIOGEN Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา เลือกไทยเป็น 1 ใน 12 ประเทศจัดงานเทคโนโลยีชีวภาพระดับโลก พร้อมสนับสนุนให้องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นเจ้าภาพจัดงาน “ท่องโลกเทคโนโลยีชีวภาพ” ซึ่งงานจะจัดขึ้นที่อพวช. คลองห้า ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 16-18 มิถุนายนนี้
![]() |
![]() |
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมเดินดูกิจกรรมการทดลองผ่านชุดกิจกรรมแล็ปบ๊อกส์
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า ในปี 2559 นี้ทาง ASTC ได้คัดเลือกให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 12 ประเทศจากทั่วโลกร่วมโครงการนี้ โดยสนับสนุนให้อพวช. ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมและเป็นเจ้าภาพจัดงาน “ท่องโลกเทคโนโลยีชีวภาพ” ของประเทศไทย ทั้งนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยบูรพา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
“การจัดงานครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนเข้ามาเรียนรู้กับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ เกิดการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ และอาจทำให้เยาวชนรักวิทยาศาสตร์มากขึ้นด้วย” ดร.พิเชฐกล่าว
![]() |
นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รักษาแทนผู้อำนวยการ อพวช. ร่วมเดินดูกิจกรรมภายในงานแถลงข่าว
ด้านนายสาคร ชนะไพฑูรย์ รักษาแทนผู้อำนวยการ อพวช. กล่าวว่า อพวช.ได้เตรียมจัดกิจกรรมไว้อย่างมากมาย อาทิ นิทรรศการ “มหัศจรรย์แห่งเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ Miracle of Biotechmology Exhibition” กิจกรรมตะลุยแดนเทคโนโลยีชีวภาพ กิจกรรมการทดลองผ่านชุดกิจกรรมแล็ปบ๊อกส์ เช่น มารู้จักกับไมโครปิต (Pipette by Numbers) ส่องเซลล์กันเถอะ (Take a Celfie!) กำจัดไวรัสได้อย่างไร (Virus Slayer) พารามีเซียมเคลื่อนที่ตามสนามไฟฟ้า (Paramecium Symphony) เป็นต้น ซึ่งได้จัดเตรียมมาโชว์ในงานแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย รวมถึงการเปิดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ในชื่อ “Science Cafe” และการเรียนรู้เรื่องราวที่น่าสนใจกับคนไทยจากทูตเยาวชนเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ทั้ง 17 คน โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้จะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 16-18 มิถุนายน 2559 ที่อพวช. คลอง 5 จ.ปทุมธานี
“นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่ในปีนี้ที่ไทยได้ถูกเลือกให้จัดงานเทศกาล World Biotech Tour 2016 เพราะนอกจากที่เราจะเป็นเจ้าภาพจัดนิทรรศกาลแล้ว เรายังจะจัดให้มีบูธเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพอย่างรอบรู้และรอบด้านยิ่งขึ้นด้วย”
![]() |
ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการไบโอเทค (ขวามือทั้งภาพ 1 และภาพ 2)
ด้านดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการไบโอเทค กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ไบโอเทค ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานทำงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพโดยตรง ไบโอเทคจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนเทศกาล World Biotech Tour 2016 ในด้านการให้ข้อมูลและสื่อในการจัดทำนิทรรศการ ร่วมสนับสนุนนักวิจัยเป็นผู้ให้คำแนะนำกับเยาวชน รวมถึงเป็นวิทยากรในกิจกรรมค่ายของทูตเยาวชนเทคโนโลยีชีวภาพ
“เราจะพบว่าไบโอเทคสามารถแทรกเข้าไปในทุกสาขาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดจนเกิดประโยชน์ได้ ซึ่งคาดหวังว่างานครั้งนี้จะส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ” ดร.สมวงษ์กล่าว
กิจกรรมการทดลองผ่านชุดกิจกรรมแล็ปบ๊อกส์
ข้อมูลโดย: นางสาวสุรัตนา ผิวนวล
สำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด กองประชาสัมพันธ์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2128 มือถือ 086 409 1605
ข่าวและภาพโดย : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์
วิดีโอโดย : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834
E-Mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand