กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ปลายพฤษภา ดาวอังคารสว่างสุกใสใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 11 ปี

ปลายพฤษภา ดาวอังคารสว่างสุกใสใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 11 ปี

พิมพ์ PDF


     สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย 22-31 พฤษภาคม 2559 ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 11 ปี สุกสว่างส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้าและมีความสว่างมาก ดูได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องโทรทรรศน์จะสามารถเห็นลักษณะพื้นผิวดาวอังคารได้ชัดเจน จัดทีมตั้งจุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา โคราช พร้อมระดมเครือข่ายดาราศาสตร์กว่า 100 แห่ง ชวนประชาชนร่วมส่องดาวอังคารพร้อมกันทั่วประเทศ 22 พฤษภาคม นี้
     ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดา  รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า "ในช่วงระหว่างวันที่ 22-31 พฤษภาคม 2559 เป็นช่วงที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในคืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 76.31 ล้านกิโลเมตร และหลังจากนั้นจะโคจรเข้าใกล้โลกเรื่อยๆ จนกระทั่งจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ที่ระยะห่าง 75.28 ล้านกิโลเมตร นับเป็นการโคจรเข้าใจโลกมากที่สุดในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เราจะมองเห็นดาวอังคารสุกสว่างส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีความสว่างมาก สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กก็จะสามารถมองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวดาวอังคารได้ นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวยังจะสามารถสังเกตเห็นดาวเสาร์ และดวงจันทร์ปรากฎในบริเวณใกล้เคียงกันอีกด้วย

 


     ตามปกติแล้วเราจะมองเห็นดาวอังคารส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า เนื่องจากพื้นผิดของดาวอังคารมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กออกไซต์ เราจึงมักเรียกฉายาของดาวอังคารว่า "ดาวเคราะห์สีแดง" ดาวอังคารจะโคจรมาใกล้โลก ทุกๆ ประมาณ 26 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (opposition : ตำแหน่งที่ดาวอังคาร โลก และดาวงอาทิตย์ เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง) เป็นผลให้เราสามารถสังเกตเห็นดาวอังคารมีความสว่างมากกว่าปกติ และจะปรากฎบนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน สว่างมากกว่าดาวซิริอุสที่เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า ในค่ำคืนดังกล่าว ดาวอังคารจะโผล่พ้นจากขอบฟ้า เวลา 18.02 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มดาวแมงป่อง หากสังเกตในช่วงเช้ามืดจะมองเห็นดาวอังคารปรากฎอยู่สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวัตตกเฉียงใต้ ครั้งล่าสุดที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลก คือวันที่ 14 เมษายน 2557 และจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดครั้งต่อไปในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561

 

ภาพถ่ายดาวอังคารเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร

ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่

โดย ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดา, ธนกฤต  สันติคุณาภรต์

 


     สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เตรียมตั้ง 4 จุดสังเกตการณ์หลัก ชวนชม "ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบ 11 ปี" ดังนี้
     วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น.
     1. กรุงเทพฯ     - ลานพาร์คพารากอน  ศูนย์การค้าสยามพารากอน
     2. เชียงใหม่     - หอดูดาวสิรินธร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     3. นครราชสีมา    - หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
     4. ฉะเชิงเทรา     หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา



     วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2559 เวลา 18.00 - 22.00 น.
     เชียงใหม่      - ลานน้ำพุ  ศูนย์การค้าเมญ่า ไลฟ์สไตล์  ช็อปปิ้งเซนเตอร์

     พร้อมระดมเครือข่ายโรงเรียนในโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์มากกว่า 100 แห่ง จัดกิจกรรมชวนประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาพิเศษที่จะได้สัมผัสความสวยงานของดาวอังคารพร้อมกันทั่วประเทศ ติดตามรายละเอียด และสถานที่จัดกิจกรรมเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/NARITpage
 

 

 


กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทรศัพท์ 053-225569 ต่อ 210, 081 885 4353   โทรสาร 053-225524
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน      website : http://www.narit.or.th/
https://www.facebook.com/NARITpage
 

 



ถ่ายภาพ : นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร / นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
เผยแพร่ข่าว : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732  โทรสาร 02 333 3834
E-Mail :   อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป