กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน 4 องค์กร (เอ็มเทค / กยท. / ส.อ.ท. / ม.อ.) สานพลัง “เครือข่ายนวัตกรรมยางพารา” ร่วมมือพัฒนายางพารารอบด้าน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทย

4 องค์กร (เอ็มเทค / กยท. / ส.อ.ท. / ม.อ.) สานพลัง “เครือข่ายนวัตกรรมยางพารา” ร่วมมือพัฒนายางพารารอบด้าน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทย

พิมพ์ PDF

                                         
 

         

           (13 พ.ค. 59) ณ อาคาร 50 ปี การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “เครือข่ายนวัตกรรมยางพารา” ร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในรูปแบบของเครือข่ายระหว่างภาคส่วนหลักที่สำคัญ ของประเทศไทย ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคราชการ และภาคการศึกษา ที่มีบทบาทในการพัฒนาเกี่ยวข้องกับยางพาราในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านบุคลากร ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวจะเป็นฐานสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

                                                        
                                                 ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

       ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “เอ็มเทค สวทช. มีพันธกิจหลักในการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีวัสดุให้แก่ ภาครัฐและภาคเอกชน โดยดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รองรับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งเอ็มเทคได้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านยางพารา โดยมีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะทางด้านยางธรรมชาติขึ้น มีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนายางคอมพาวด์ การออกแบบและวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และเทคโนโลยีน้ำยาง เช่น เทคโนโลยีสารรักษาสภาพน้ำยางธรรมชาติไร้แอมโมเนีย (TAPS Technology) การพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบยางล้อรถ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางแท่งคุณภาพสูงระดับชุมชน เป็นต้น”“การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนวัตกรรมยางพาราในครั้งนี้ เอ็มเทคมีภารกิจและความรับผิดชอบหลักในการดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการและการผลิตยางพาราตลอดกลางน้ำจนถึงปลาย น้ำ เช่น การเก็บรักษาน้ำยางพารา เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปยางพาราขั้นต้น นวัตกรรมด้านการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงงานมาตรฐานต่างๆ จากโจทย์ที่ได้รับจากการยางแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการร่วมมือกันของเครือข่ายครั้งนี้ มีความคาดหวังคือ การได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมีการใช้งานในตลาดอย่างแพร่หลายมากขึ้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยจะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานได้อย่าง เหมาะสม ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งาน ราคา ตลอดจนความเชื่อมั่นและมาตรฐาน”



ข่าวโดย : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732  โทรสาร 02 333 3834
E-Mail : 
  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป