กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ซินโครตรอน เปิดใช้ห้องสะอาด (Clean room) ผลิตชิ้นส่วนจิ๋ว รองรับภาคอุตสาหกรรม

ซินโครตรอน เปิดใช้ห้องสะอาด (Clean room) ผลิตชิ้นส่วนจิ๋ว รองรับภาคอุตสาหกรรม

พิมพ์ PDF

                                                  

         ซินโครตรอน เปิดห้องสะอาด (Clean room) สำหรับกระบวนการผลิตโครงสร้างจุลภาค ที่ควบคุมการปนเปื้อนของอนุภาคเป็นพิเศษ รองรับงานวิจัยและพัฒนาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์ วัสดุศาสตร์ และอัญมณี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา พร้อม เปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ววันนี้!  ทั้งจากภาควิชาการ และภาคอุตสาหกรรม

                              

          ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า “ระบบลำเลียงแสงเทคนิคการอาบรังสีเอกซ์ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ถือได้ว่าเป็นห้องปฏิบัติการผลิตชิ้นส่วนจุลภาค (Microparts) ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง สร้างด้วยรังสีเอกซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ชิ้นส่วนจุลภาคจะมีขนาดเล็กมากในระดับไมโครเมตรหรือเทียบเท่าเส้นผม โดยมีอุตสาหกรรมที่ใช้ชิ้นส่วนดังกล่าว  เช่น อุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตเซนเซอร์ อุตสาหกรรมทางด้านการตรวจสอบวัสดุ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมการผลิตความละเอียดสูง เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือความสะอาด ชิ้นงานต้องไม่มีการปนเปื้อนฝุ่นละอองต่างๆ ดังนั้น หากสถาบันฯ มีห้องสะอาด (Clean room) ก็จะสามารถรองรับกลุ่มวิจัยเหล่านี้ได้”

                                                
                                               ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

          ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล รักษาการหัวหน้าส่วนงานระบบลำเลียงแสงเทคนิคการอาบรังสีเอกซ์ กล่าวว่า “ห้องสะอาด หรือห้อง clean room สำหรับผลิตชิ้นส่วนจุลภาค สร้างขึ้นตามมาตรฐาน FED-STD-209D คลาส 10,000 และ 1,000  เพื่อใช้ในงานที่ต้องควบคุมการปนเปื้อนของอนุภาคเป็นพิเศษ ฝุ่นถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการทำงานประเภทนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากมีฝุ่นปนเปื้อนลงไป อาจเกิดการลัดวงจรและเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ได้  ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนาที่ใช้เทคโนโลยีห้องสะอาด ได้แก่ ห้องปฏิบัติการบนชิพ อุปกรณ์วัดการดูดกลืนแสงทางเคมีคลินิก ชิพเลี้ยงเซลล์ และเซนเซอร์วัดความชื้น นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังมีกลุ่มอุตสาหกรรมเข้ามาใช้บริการเพื่อพัฒนางานต่างๆ เช่น บริษัท CPF พัฒนาวงจรและชุดประมวลผลเซนเซอร์ในโรงเลี้ยงไก่-เป็ด บริษัท EPSON Precision Thailand พัฒนาเทคนิคการสกัดผิวคลิสตัล บริษัท Microform Thailand พัฒนาการสร้างลวดลายจุลภาคบนอัญมณี เป็นต้น”

         
         ทั้งนี้ สถาบันฯ ได้ให้มีการอบรมความรู้เทคโนโลยีการใช้ห้องสะอาดสำหรับกระบวนการผลิตโครงสร้างจุลภาค เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของสถาบันฯ มีการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามระบบมาตรฐานห้องสะอาด โดยมี คุณกฤต ชัยกวิน ผู้เชี่ยวชาญจาก บ. ซีเอ็ม นาโนเทคโนโลยี จำกัด ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรพิเศษ

          สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเข้าใช้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระบบลำเลียงแสง6a: ห้องปฏิบัติการผลิตชิ้นส่วนจุลภาค เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1410, 1407, 1641 / e-mail:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน







ข่าวโดย : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวนฤมล รัตนสุวรรณ์ 
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3728-3732  โทรสาร 02 333 3834
E-Mail :
   อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   Facebook : sciencethailand 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป