กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (Thailand IT Contest Festival 2016) From STEM to Startup

มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (Thailand IT Contest Festival 2016) From STEM to Startup

พิมพ์ PDF

 


 

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร วันที 16มีนาคม 2559 เริ่มแล้วอย่างเป็นทางการกับมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หรือ Thailand" Contest Festival 2016 ภายใต้แนวคิด "From STEM to Startup: สรรค์สร้างทรัพยากรมนุษย์ บ่มเพาะธุรกิจ Startup ไทย"เป็นการนำองค์ความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาบูรณาการเข้าด้วยกันสร้างสรรค์เป็นผลงานเพื่อเข้าประกวด เวทีนี้จึงเวทีสำคัญที่เปิดให้มีการแสดงศักยภาพของเยาวชนไทยกับผลงานพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนนำเสนอผลงานความคิดสร้งสรรค์เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่จะนำประเทศไปสู่การพัฒนาด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อยอดสู่การใช้งานได้จริงสร้างโอกาสสู่การเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Startup) โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 17 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมมหิศรอาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถนนรัชโยธิน เขตจตุจักร กรุเทพมหานครผู้สนใจสามารถเข้าชมการนำเสนอผลงานได้ฟรี  


 

          ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธี กล่าวว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะโครงการที่เสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศอย่างยั่งยืนโดยมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญ พร้อมกับเป็นการสร้างคนในระดับเยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตและเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ อันจะทำให้คนไทยได้เพิ่มพูนองค์ความรู้ให้สูงขึ้น ตามที่รัฐบาลได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ ซึ่งจะต้องมีการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในสังคม ในขณะเดียวกัน คนในสังคมก็จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ เป็นการแปลงปัญญาหรือความรู้ที่มีอยู่ให้กลายเป็นทุน หรือสร้างธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Tech Startup สมดังนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีสายพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตและหลุดพ้นจากกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง

        ดร.พิเชฐ กล่าวต่อว่า ปีนี้เป็นปีที่รัฐบาลขับเคลื่อนด้วย Startup  อย่างเข้มข้น โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะจัดงานเปิดตัวที่ใหญ่ที่สุด Startup Thailand 2016 ในระหว่างวันที่ 28 เมษายน -1 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจะประกาศให้โลกรู้ถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการขับเคลื่อน Startup ให้เป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังสำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสร้างสรรค์ไอเดียดีๆ นำความคิดบรรเจิดสามารถแจ้งเกิดได้ตั้งแต่การออกแบบต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการ 

        รัฐบาลมีความมุ่งมันที่จะสร้างมิติใหม่ๆให้กับสังคมและเศรษฐกิจของไทย และได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนร่วมกันทำให้เกิดการปรับตัวและเปิดโอกาสให้กับเยาวชนไทยสามารถเติบโตได้ในวงการอุตสาหกรรม วงการผลิตและสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเข้มแข็งมากขึ้น ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญและผลักดัน STEM Education กันอย่างมาก ไม่เพียงแต่ STEM Education แต่เราต้องทำให้แรงงานหรือที่เรียกว่า STEM Workforce  สามารถที่จะยกระดับขีดความสามารถเพื่อที่ทำให้ระบบการผลิต ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น  

 

       “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย” เป็นงานประกวดแข่งขันสุดยอดผลงานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จากฝีมือและมันสมองของเยาวชนไทยจากทั่วประเทศ ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ความสามารถของเยาวชนไทยด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ให้สามารถพัฒนาผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเป็นการสั่งสม บ่มเพาะ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของประเทศ อันจะเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้แนวคิด “From STEM to Startup: สรรค์สร้างทรัพยากรมนุษย์ บ่มเพาะธุรกิจ Startup ไทย” โดยภายในการจัดงาน จะมีการประกวดแข่งขันสุดยอดผลงานนวัตกรรมด้าน IT ของเยาวชนไทยจากทั่วประเทศ 4 กิจกรรม คือ

         

 

        1. การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (The Eighteenth National Software Contest: NSC 2016) ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบกับซอฟต์แวร์ยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ อาทิ โปรแกรมเกม โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (CAI) โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ โปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งาน โปรแกรมประมวลผลภาษาไทย Internet of Things โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ โปรแกรม Open Source สุดยอดโปรแกรมของประเทศไทย โดยฝีมือและมันสมองของเยาวชนไทย

2. การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 18 (The Eighteenth Young Scientist Competition: YSC 2016) สรรหาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบปะกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ นักวิจัยในอนาคต ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ พลังงานและวิศวกรรมการขนส่ง คณิตศาสตร์ พิสิกส์และดาราศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์พืช วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

3. การประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 15 (The Fifteenth Youth's Electronics Circuit Contest: YECC 2016) โดยตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ เพื่อชิงชัยและค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์ นักอิเล็กทรอนิกส์วัยเยาว์ สร้างสรรค์อุปกรณ์สำหรับ Smart Farm, Smart Home และ Smart Machine

         4. โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” โดยได้รับการสนับสนุนมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่เยาวชนที่มีความตั้งใจจริงและมีผลงานที่มีศักยภาพในการต่อยอดพัฒนาผลงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาผลงานสู่การนำไปใช้งานได้จริง โดยเน้นการทำงานในรูปแบบใหม่ที่เน้นการสร้างกลไกการทำงานร่วมกับภาคีในลักษณะของเครือข่ายจิตอาสา เพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมไทย

 

 

ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ

ภาพข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร

ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
อีเมลล์ :      อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน Facebook : sciencethailand

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป