กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก.วิทย์ฯ เดินหน้าชู iTAP Big Impact ยกระดับคุณภาพการผลิตกลุ่ม SMEs ภาคอีสาน

ก.วิทย์ฯ เดินหน้าชู iTAP Big Impact ยกระดับคุณภาพการผลิตกลุ่ม SMEs ภาคอีสาน

พิมพ์ PDF

              ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงาน “iTAP อีสาน Big Impact”  iTAP เครือข่ายอีสาน เสริมศักยภาพให้กลุ่ม SMEs ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงและพัฒนาภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดในระบบและสามารถแข่งขันได้อย่างทัดเทียม  อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้ผลอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรมในวงกว้าง สามารถสนองตอบความต้องการของ SMEs ได้โดยตรง  ที่ห้องสุรนารีแกรนด์บอลรูม  โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส จ.นครราชสีมา (เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552)


              ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีนโยบายที่จะนำเอาความรู้ความสามารถของกระทรวงฯ มาช่วยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม  ให้เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้  ลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ  โดย iTAP เน้นให้การช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นหลัก  โดยในวันนี้เน้น 3 ภาคการผลิตหลักที่สำคัญระดับมหาภาคของประเทศ และเกี่ยวข้องกับคนไทยจำนวนมาก  ได้แก่ 1.โรงสีข้าว ในภาคอีสาน มีโรงสีข้าว จำนวน  28,923 โรง  เกี่ยวข้องกับคนถึง 4 ล้านครอบครัว เราต้องพัฒนาโรงสีข้าวของไทยให้เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอีก 30 %  2. โรงเรือนเลี้ยงไก่  64,000 แห่ง เป็นโรงเรือนแบบปิดที่จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้ดี สามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้  และ 3. เตาอบรมควันยางพารา  

 

 
              ด้าน ศ.ดร.ชัชนาถ  เทพธรานนท์  รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ผู้ก่อตั้งโครงการ iTAP กล่าวว่า  จากความสำเร็จของโครงการ iTAP Big Impact ในการให้คำปรึกษาช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ และสามารถปฏิบัติได้จริง  เห็นผลชัดเจน ดังมีตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จร่วมไปกับโครงการ iTAP Big Impact โดยมุ่งเข้าถึง 3 ภาคการผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าว  ยางพารา และไก่  1 ใน 3 ของภาคการผลิตที่เข้าร่วมโครงการที่เราได้นำมาเป็นตัวเอกในงานวันนี้ได้แก่ ข้าว  ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่สำคัญที่สุดของประเทศ และข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย  สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศมากถึงปีละกว่า 200,000 ล้านบาท  และมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 2.2 ของมูลค่าจีดีพีของประเทศ  หากสามารถยกระดับเทคโนโลยีการผลิตข้าวได้ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์ยอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจของประเทศ  และต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจำนวนมาก
              ผู้เชี่ยวชาญของเราพบว่า กระบวนการผลิตในโรงสีข้าวหลายแห่งมีความสิ้นเปลืองอย่างมากในหลายขั้นตอน  อาทิ การตั้งระยะห่างระยะลูกยางกะเทาะข้าวที่ไม่เหมาะสม  ทำให้เกิดข้าวหักเป็นจำนวนมาก  ผลที่เกิดขึ้น คือ ทำให้คุณภาพและมูลค่าผลผลิตลดลง  ผู้เชี่ยวชาญของ iTAP นำโดย ผศ. พนมกร  ขวาของ  และทีมผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้ทำการขยายผล ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้าไปในโรงสีต่าง ๆ โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิต  ปรับตั้งค่าเครื่องจักรให้การสีข้าวให้มีประสิทธิภาพ ลดความสิ้นเปลือง โดยใช้เวลาดำเนินการเพียง 3 เดือน  ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา  เราได้เข้ามาดำเนินงานตามโครงการ iTAP อีสาน Big Impact ผ่านทางเครือข่ายหลัก 4 แห่ง  ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  โดยได้จัดกิจกรรมสัมมนาและให้ความรู้เรื่อง “เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนของโรงสีข้าว” ทั้งในจังหวัดขอนแก่น  อุบลราชธานี  และนครราชสีมา  โดยมีผู้ประกอบการโรงสีข้าวเข้าร่วมกิจกรรม 142  คน จาก 58 บริษัท  และได้ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น วิเคราะห์ปัญหา และทำข้อเสนอโครงการ iTAP อีสาน Big Impact ไปแล้วกว่า 17 โครงการ  และเสร็จสิ้นโครงการแล้ว 5 โครงการ  
              หากผู้ประกอบการโรงสีที่มีอยู่ทั่วภาพอีสาน ประมาณ 28,923 แห่ง เข้าร่วมโครงการฯ คาดว่าจะสามารถช่วยทำให้ผู้ประกอบการโรงสีข้าวทั่วประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 13,700 ล้านบาท และยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยลดปัญหาโลกร้อนอีกด้วย

 


              ด้าน ศ.ดร.ประสาท  สืบค้า  อธิการบดี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแห่งความภาคภูมิใจของ 4 มหาวิทยาลัย เครือข่าย iTAP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่ได้ผนึกกำลังร่วมใจจัดงาน iTAP อีสาน Big Impact เพื่อช่วยเอสเอ็มอีภาคอีสานให้สามารถปรับตัวสู้วิกฤติเศรษฐกิจให้ได้  โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเป็นไตรภาคี ได้แก่ สถานศึกษา  iTAP กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และผู้ประกอบการ  เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่มีความเข้มแข็ง  ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้และการร่วมกันแสวงหาแนวทางการยกระดับภาคการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทของการผลิตบุคลากรเพื่อสนับสนุน พัฒนาและยกระดับชุมชนผ่านองค์ความรู้ต่างๆ   
   
 

 

 

เขียนข่าวโดย  :  นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร  โทร. 0-2354-4466 ต่อ 118 
                         โทรสาร 02-354-3763     E-Mail :  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ถ่ายภาพโดย :    นายไววิทย์  ยอดประสิทธิ์  โทร. 0-2354-4466 ต่อ 199
 

 

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป