กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช. ผนึกกำลังหน่วยงานรัฐ และสถาบันวิจัยรางฯญี่ปุ่น จัดโชว์นวัตกรรมระบบรางฝีมือคนไทยเสริมเมกะโปรเจกต์

กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช. ผนึกกำลังหน่วยงานรัฐ และสถาบันวิจัยรางฯญี่ปุ่น จัดโชว์นวัตกรรมระบบรางฝีมือคนไทยเสริมเมกะโปรเจกต์

พิมพ์ PDF

กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช.  ผนึกกำลัง  วช. รฟท. แอร์พอร์ตเรลลิงก์ รฟม. สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย และสถาบันวิจัยรางฯ ของญี่ปุ่น จัดงานโชว์นวัตกรรมระบบราง  ที่พัฒนาโดยคนไทยมีมาตรฐาน  หวังใช้เสริม Mega project
 
      3 มีนาคม 2559 : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) และ Railway Technical Research Institute (RTRI) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมแถลงข่าวการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” (The Second Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE2) "Railway Standard and Thai Railway Parts Manufacturing") ระหว่างวันที่ 16 - 17 มีนาคม 2559 ณ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมระบบรางของประเทศไทยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้จริง และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนระบบราง รวมทั้งนำเสนอความก้าวหน้าของการพัฒนาชิ้นส่วนระบบรางในต่างประเทศ เพื่อเป็นบทเรียนที่ดีในการนำมาประยุกต์และต่อยอดขยายผลในประเทศไทย อันเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
 
 
 
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการดูดซับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศ และถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์แก่ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถสั่งสมความรู้และเทคโนโลยีจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านการคมนาคมขนส่งทางรางที่มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศแต่ขาดการถ่ายทอดแก่คนในชาติ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงินตราให้แก่ต่างประเทศเป็นอันมาก ทั้งที่ประเทศไทยมีความสามารถพอสมควรในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการเดินรถ ด้านงานโยธา ด้านการซ่อมบำรุง การผลิตชิ้นส่วนประกอบรถไฟและระบบรถไฟ เป็นต้น ในการนี้ จึงได้มีการจัดประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” (The Second Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE2) "Railway Standard and Thai Railway Parts Manufacturing") ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการแสดงความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และภาคเอกชน รวมถึงประชาชนที่สนใจ รวมทั้งการแสดงนิทรรศการนวัตกรรมอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางที่มีมาตรฐานและใช้งานได้จริงซึ่งพัฒนาโดยคนไทย เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยได้รับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมรองรับการลงทุนระบบรางที่ประเทศไทยควรยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นต่อไป
 
 
สำหรับการพัฒนางานวิจัยระบบรางของไทย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้กำหนดให้งานวิจัยระบบรางเป็นหนึ่งในแผนงานวิจัยมุ่งเป้าของประเทศ และมอบหมายให้ สวทช. โดยโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ดำเนินการบริหารแผนงานวิจัย เพื่อให้มีผลงานวิจัยชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในด้านการคมนาคมระบบรางและตรงตามความต้องการของประเทศ พร้อมทั้งส่งมอบผลงานวิจัยสู่หน่วยงานผู้รับประโยชน์ โดยในปีนี้ เป็นการส่งมอบผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบประเมินความปลอดภัยและสภาวะการใช้งานได้ของระบบรางด้วยการตรวจวัดการสั่นสะเทือนสำหรับการประยุกต์ใช้งานกับระบบรางในไทย” พัฒนาโดย ดร. รัฐภูมิ ปริชาติปรีชา มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้แก่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
 
 
 
       การประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน” (The Second Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE2) "Railway Standard and Thai Railway Parts Manufacturing") จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 17 มีนาคม 2559 ณ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนร่วมงานฟรีได้ที่ www.thairailtech.or.th หรือโทรศัพท์ 02-644-8150 ต่อ 81839
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายวัฒนา  สมานจิตร
โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์ 02-644-8150 ต่อ 81839  โทรสาร  02- 644-8027 Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 71731  หรือลัญจนา (089-128-5004) วีระวุฒิ (081-614-4465)  Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 
เผยแพร่ข่าว :  นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ถ่ายภาพและวีดิโอ : สุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์ , นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์
โทรศัพท์ 02-333-3700 ต่อ 3728 – 3732 โทรสาร 02 -333 -3834 
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป