ซินโครตรอน จัดใหญ่! เปิดงานประชุมและนิทรรศการ Thailand Synchrotron Conference & Exhibition 2016 โชว์ผลงานวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมลงนามความร่วมมือด้านวิชาการกับเบทาโกรและกรีนอินโนเวทีฟ หวังพัฒนาความเข้มแข็งดเนวิชาการของบริษัทด้วยเครื่องมือชั้นสูง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) จัดงานประชุมและนิทรรศการ Thailand Synchrotron Conference & Exhibition (TSCE2016 ) inconjunction with SME BIZ ASIA 2016 อย่างยิ่งใหญ่และเต็มรูปแบบครั้งแรก พร้อม ! นำแสงซินโครตรอนมาใช้ประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรม เปิดคลินิกรับปรึกษา-ตอบโจทย์อุตสาหกรรม SME แบบครบวงจร อีกทั้งมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับภาคเอกชน ยกระดับความสามารถเพิ่มศักยภาพและพัฒนาการวิจัย
![]() |
รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตระหนักถึงความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้เป็นรากฐานสนับสนุนการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีส่วนสำคัญในการขยายผลต่อยอดความสามารถในการผลิต และพัฒนาผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และ SMEs โดยเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่สังคมนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รศ.ดร. วีระพงษ์ เปิดเผยว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดให้บริการแสงซินโครตรอนมานานกว่า 12 ปี แก่นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียน อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจเรื่องของแสงซินโครตรอนยังอยู่ในวงจำกัด เฉพาะภาคการศึกษาและวิจัยเท่านั้น ทั้งที่แสงซินโครตรอนนั้น มีประโยชน์อีกหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีส่วนในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมาสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 3,200 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่ของการจัดประชุมใหญ่ Thailand Synchrotron Conference & Exhibition (TSCE 2016) ที่มุ่งหวังให้เกิดการพบปะกันระหว่างผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอน ทั้งภาควิชาการจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจากภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำไปสู่การสร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของแสงซินโครตรอนและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านงานวิจัยโดยใช้แสงซินโครตรอน
![]() |
![]() |
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “การจัดงาน TSCE 2016 ถือเป็นการจัดงานประชุมและนิทรรศการที่เต็มรูปแบบเป็นครั้งใหญ่และถือเป็นครั้งแรกของซินโครตรอน โดยผนวกรวมกับงาน SME BIZ ASIA 2016การประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน ครั้งที่ 6 (AUM 2016) และงาน 4th Synchrotron Advanced Technology for Industry (SATI4) ภายในงานจัดแสดงนิทรรศการยิ่งใหญ่ ประกอบด้วยข้อมูลการดำเนินงานของสถาบันนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน การแสดงผลงานวิจัยที่ใช้แสงซินโครตรอนทางวิชาการ และด้านอุตสาหกรรม (show case) จากภายในประเทศและจากต่างประเทศทั่วโลก
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
นายสักกฉัฐ ศิวะบวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอบริก จำกัด กล่าวว่า ภายในงานมีไฮไลด์เรื่องหัวข้อการบรรยายพิเศษที่น่าสนใจมากมายที่เอสเอ็มอีพลาดไม่ได้ โดยมีวิทยากรระดับแนวหน้า อาทิ “AEC สู่ RCEP,APEC,TPP…SMEs ในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค”โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, ธุรกิจและการปรับตัวของ SMEs ในยุค New Normal” โดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์, “China’s New Normal : ผลกระทบต่อโลกและAEC โดย รศ.ดร.สมภพมานะรังสรรค์, “ซินโครตรอน : แสงแห่งอนาคตเพื่อ SMEs” โดย ศ.นท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร, “ Big Data : อำนาจแห่งข้อมูลในมือ SMEs “โดยสันติเมธาวิกุล และการสนทนาในหัวข้อ “เจาะใจนักสู้เพื่อ SNEs “โดย นายสักกฉัฐ ศิวะบวร และนายพีรวงศ์ จาตุรงคกุล รวมทั้งหัวข้อที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น BM intelligence Group (HK)
![]() |
![]() |
นอกจากนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนมีความยินดีอย่างยิ่ง ในการสานสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม โดยจัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรีน อินโนเวทีฟ ไบโอเทคโนโลยี จำกัดขึ้นในวันนี้ เพื่อเป็นนิมิตหมายอันดี ในการขยายความร่วมมือในการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัย ให้เกิดความเข้มแข็งในเชิงวิชาการ เพื่อต่อยอดสู่งานวิจัยในเชิงพาณิชย์ในอนาคต
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับงานTSCE 2016 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2559 ณ อิมแพค ฮอลล์ 1 เมืองทองธานี ผู้มาร่วมงานจะได้พบกับผลงานวิจัยที่ใช้แสงซินโครตรอนในการความลับเพื่อหาคำตอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การไขความลับภาพเขียนของแวนโก๊ะ ศิลปินชื่อก้องโลกด้วยแสงซินโครตรอน การสืบหาสูตรการหุงกระจกเกรียบโบราณ กระจกสีที่ประดับประดาอยู่ตามเสาหาร ณ วัดพระแก้ว เพื่อการบูรณาปฏิสังขรณ์ให้เหมือนเดิมทุกประการ อีกทั้งยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ การเปลี่ยนสีไข่มุกให้เป็นสีทองด้วยแสงซินโครตรอน ครั้งแรกของโลก! และนิทรรศการเปิดตัวทีมรุก 3ทีมสำคัญของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน รองรับการให้บริการอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Synchrotron Solution (SS)เพื่อแก้โจทย์ปัญหาอุตสาหกรรมอย่างเบ็ดเสร็จ, ทีม Automation Vacumm Machine (AVM) ออกแบบ/สร้างระบบสุญญากาศและระบบควบคุมเพื่ออุตสาหกรรม และทีม Microsystems, Electronics และ Control System (MECs) ออกแบบ/สร้างระบบการทำงานจุลภาคที่ผนวกรวมระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบชาญฉลาดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ที่มาข้อมูล : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)
เรียบเรียงข่าว : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
ถ่ายภาพและวีดิโอ : นายรัฐพล หงสไกร ,นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook: sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313