กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยเกียวโต สนับสนุนการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ JASTIP

ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยเกียวโต สนับสนุนการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ JASTIP

พิมพ์ PDF

 

 

     26 กุมภาพันธ์ 2559: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จับมือมหาวิทยาลัยเกียวโต เสริมความเข้มแข็งการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ Japan – ASEAN Science and Technology Innovation Platform (JASTIP) ณ บ้านพักท่านเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่น กรุงเทพฯ  โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน พร้อมด้วย Mr. Kazuo Todani, Deputy Minister of Education, Culture, Sports, Science and Technology of Japan, Mr. Ei Takeuchi, Director of the Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology of Japan, Dr Yasuyuki Kono, JASTIP Project Leader/Director of the Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Japan, Dr. Alexander Alamil Lim, Head of the Science and Technology Division, ASEAN Secretariat, ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับผู้บริหารของหน่วยงานร่วมโครงการ จากประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย Dr. Ir Iskandar Zulkarnain, Chairman of LIPI, Indonesia และ Dr. Rubiyah Yusof, Dean of MJIIT, Malaysia ในการลงนามครั้งนี้

     ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีความร่วมมือการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัย ของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน เล็งเห็นความร่วมมือที่ผ่านมาที่เป็นไปด้วยดี จึงได้ขอความร่วมมือมาที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้เป็นหน่วยร่วมและประสานงานวิจัยในระดับอาเซียนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้มหาวิทยาลัยเกียวโตได้เสนอโครงการ Japan – ASEAN Science and Technology Innovation Platform (JASTIP) ต่อรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านกระทรวงศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ministry of Education, Cultures, Sports, Science and Technology: MEXT) โดยหน่วยงาน Japan Science and Technology Agency (JST) ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายไปสู่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนสนับสนุน (เป็นโครงการเดียวที่ได้รับคัดเลือก จากทั้งหมดที่เสนอรวม 18 โครงการ) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (เมษายน 2558 – มีนาคม 2563)

      โดยภายใต้โครงการนี้ นอกจากจะเน้นงานวิจัยร่วมด้าน Energy and Environment ที่มี สวทช. เป็นหน่วยงานหลักแล้ว ยังมีการวิจัยด้าน Biological Resource and Biodiversity Research ที่ประสานโดย Lembaga Iimu Pengetahuan Indonesia (LIPI) ประเทศอินโดนีเซีย และด้าน Disaster Prevention ที่ประสานโดย Malaysia-Japan International Institute of Technology (MJIIT) ประเทศมาเลเซีย ซึ่งผู้บริหารของหน่วยงานทั้งสอง ได้มาร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ด้วย

         ดร. ณรงค์ฯ กล่าวเสริมว่า สำหรับความร่วมมือในการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จะมีหน่วยประสานงานร่วมตั้งอยู่ที่อาคารกลุ่มนวัตกรรม 1อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. ซึ่งในระยะเริ่มต้น จะประกอบด้วยการดำเนินงานของ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยแห่งชาติ 3 แห่ง คือ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นที่นำโดยมหาวิทยาลัยเกียวโต โดยมีแนวคิดในการดำเนินงานเรื่อง “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าชีวมวลเป็นพลังงานและสารเคมีมูลค่าสูง” (Biomass to Energy and Chemicals: B2EC) โดยแบ่งเป็น 3 โครงการ ได้แก่

- โครงการที่ 1 นวัตกรรมการประยุกต์ใช้ชีวมวลสำหรับการสังเคราะห์วัสดุตัวเร่งปฏิกริยาและอุปกรณ์พลังงาน เน้นด้านเคมีและชีวภาพ (Innovations in Biomass Application for Catalytic Material Synthesis and Energy Devices)

- โครงการที่ 2 พัฒนาวัสดุคาร์บอนจากชีวมวลสำหรับการประยุกต์ใช้งานใน energy storage (Development of carbon materials from biomass for energy storage applications)

- โครงการที่ 3 นวัตกรรมในการประยุกต์ใข้ชีวมวลสำหรับการสังเคราะห์วัสดุเร่งปฎิกริยาและอุปกรณ์พลังงาน- เน้นด้านวัสดุนาโน

ภายหลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10.00-16.00น. ที่โรงแรม Pullman Bangkok Grande ถนนสุขุมวิท และประชุมเชิงปฏิบัติการเริ่มโครงการวิจัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10.00-17.00น. ที่อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต โดยจะมีผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศต่างๆ ในอาเซียน

         ดร. ณรงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือภายใต้โครงการ JASTIP จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนางานวิจัยด้านชีวมวลให้มีการใช้ประโยชน์มากขึ้นและมีมูลค่าสูงขึ้น โดยอาศัยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศญี่ปุ่นและประชาคมอาเซียน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมบทบาทและใช้ประโยชน์ในประชาคมอาเซียน และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ต้องการใช้การทูตวิทยาศาสตร์เป็นตัวเร่งในการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ

 

 

ข่าวโดย : ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สวทช.

โทรศัพท์ 0 2564 7000

e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน    Facebook: NSTDATHAILAND

 

 

เผยแพร่ข่าว : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์

ภาพข่าวโดย : นายรัฐพล หงสไกร และ นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  Facebook: sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป