กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน มว. ร่วมเวทีมาตรวิทยานานาชาติ ชี้แนวทาง ปรับนิยาม SI Units พร้อมชูมาตรวิทยาหนุนส่งออก สู่ตลาดโลก

มว. ร่วมเวทีมาตรวิทยานานาชาติ ชี้แนวทาง ปรับนิยาม SI Units พร้อมชูมาตรวิทยาหนุนส่งออก สู่ตลาดโลก

พิมพ์ PDF

        นายประยูร  เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)  และในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนา  Chair, Developing Economies’ Committee Asia Pacific Metrology Programme  ( DEC APMP) ได้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในการเข้าร่วมประชุมสัมมนา International Metrology Symposium (IMS) ครั้งที่ 12 ในหัวข้อ Redefinition of SI Base Units & Developing NMIs จัดโดย สถาบันมาตริทยาประเทศญี่ปุ่น (National Metrology Institute Japan- NMIJ)ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2559 โดยได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการพยายามทำให้มาตรฐานการวัด (Measurement Standards) ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมีความถูกต้องคงที่ (Stable)เนื่องจากในปัจจุบัน มาตรฐานการวัด ( SI Base Unit) กำหนดค่า โดยอิงปรากฏการณ์ธรรมชาติ จึงมีความถูกต้องคงที่มากขึ้น เช่น เวลา ( Second ) อิงกับ นาฬิกาอะตอม ( Atomic Clock ) ความยาว ( Meter ) อิงกับความยาวคลื่นแสงเลเซอร์ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ มีเพียงมวล ( Mass ) ( Kilogram ) ที่อิงกับลูกตุ้มน้ำหนัก ซึ่งมีการตรวจพบว่าค่ามีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ดังนั้นองค์การมาตรวิทยานานาชาติที่ฝรั่งเศสซึ่งมีประเทศต่างๆทั่วโลก กว่า 80 ประเทศ สมาชิก (รวมทั้งประเทศไทย) จึงพิจารณาที่จะปรับการกำหนดค่ามวล (กิโลกรัม) ใหม่ อิงค่าคงที่ทางฟิสิกส์ ( Planck Constant ) ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการทดลองเพื่อที่จะยืนยันการกำหนดค่าดังกล่าวว่ามีความถูกต้องเป็นที่น่าพอใจเพื่อนำไปสู่การประชุม และตัดสินใจขององค์การมาตรวิทยานานาชาติ ในปี 2018 ( พ.ศ. 2561) และได้มีการบรรยายลำดับความเป็นมา และพัฒนาการของมาตรฐานการวัด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432) โดยดร.ทาคาชิ อุซูดะ ( Dr. Takashi Usuda) จากสถาบันมาตรวิทยาของญี่ปุ่น  การบรรยายถึงลำดับ และ การสร้างหลักประกัน ในการกำหนดค่าของกิโลกรัม ให้ถูกต้อง แม่นยำขึ้น โดย  ดร.ฟิลิปป์ ริชาร์ด.( Dr.Philippe Richards) จากสถาบันมาตรวิทยาสวิสเซอร์แลนด์ (Federal Institute of Metrology MATAS)

   

 

           โดย นายประยูร ได้ทำการบรรยายเรื่องความสัมพันธ์ของมาตรวิทยา เพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ ของประเทศกำลังพัฒนา สู่ตลาดโลก (เพื่อความอยู่รอด และ เพื่อพัฒนาการด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ)  พร้อมเน้นย้ำว่า การปรับเปลี่ยนใดๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องไม่สร้างอุปสรรค ในการเข้าถึง สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกัน ควรพิจารณา แนวทางต่างๆ เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นเป็นลำดับด้วย

          นอกจากนี้ยังได้มีการเข้าเยี่ยมชม Railway Technical Research Institute (RTRI) ซึ่งเป็นหน่วยงานการรถไฟของประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่2 โดยได้มีการรวบรมวิศวกร และช่างผู้ชำนาญการมาร่วมงานกับสถาบันแห่งนี้ นับเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกที่สำคัญในการพัฒนา ชินคันเซน (Shinkansen) โดยการเข้าเยี่ยมชมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ทำความเข้าใจถึงความต้องการด้านการวัดที่สำคัญในระบบราง เพื่อที่ทาง มว. จะนำมาจัดทำแผนการดำเนินงานในการเตรียมครุภัณฑ์และบุคลากรที่จำเป็น เพื่อเป็นพื้นฐานรองรับการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย ได้อย่างปลอดภัย และมีคุณภาพ  จากนั้นคณะเยี่ยมชมจาก มว. ได้เดินทางไปประชุมกับทีมงานของ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) เพื่อปรึกษาหาแนวทางร่วมกันในการดึงนักลงทุนวิจัยและพัฒนาจากวิสาหกิจญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสนับสนุนแนวคิด Food Innopolis ของรัฐบาลอีกด้วย

 

ผู้เขียนข่าว/ผู้ประสานงาน นางสาวกล่องเพชร จันทรโคตร /นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา

เบอร์โทรศัพท์ 02 577 5100 ต่อ 4226 -7 เบอร์แฟกซ์ 02 577 2823 e-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน     

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป