กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน โฆษก ก.วิทย์ฯ พบสื่อภาคเหนือ เชื่อมโยงภารกิจการสื่อสารข้อมูล วท.ระหว่าง ศวภ.1 และ ปชส.จว.ภาคเหนือ

โฆษก ก.วิทย์ฯ พบสื่อภาคเหนือ เชื่อมโยงภารกิจการสื่อสารข้อมูล วท.ระหว่าง ศวภ.1 และ ปชส.จว.ภาคเหนือ

พิมพ์ PDF

 

 

        19 กุมภาพันธ์ 2559 จ.เชียงใหม่ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยศูนย์ประสานงาน วท.ประจำภูมิภาค ภาคเหนือตอนบน (ศวภ.1) อาศัยโอกาสที่ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล โฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานประจำปีของ สวทช.ภาคเหนือ จัดกิจกรรม "โฆษก วท.พบสื่อมวลชนภาคเหนือ" โดยเปิดเวทีพบปะพูดคุยระหว่างโฆษก วท.กับประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ สื่อมวลชนท้องถิ่น ผู้แทนเครือข่าย วท. ในภาคเหนือ และ ศวภ.1 โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ได้อธิบายถึงนโยบายรัฐบาลปัจจุบันที่เน้นการสื่อสารสร้างความรับรู้ เข้าถึง เข้าใจแก่ประชาชนทุกภาคส่วน ดังนั้น ในฐานะที่ตนเองทำหน้าที่โฆษก วท. และมองเห็นว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ วท.มีกลไกขับเคลื่อนงานด้าน วทน.สู่จังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น อยู่หลายภาคส่วน ได้แก่ สวทช.ภาคเหนือ  คลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยประสานงาน วท.จากส่วนกลาง คือ ศวภ.1 ซึ่งกลไกเหล่านี้พร้อมจะทำงานร่วมกับพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ท้องถิ่น กับ ศวภ.1 ในฐานะ Center หลักของ วท.ในพื้นที่ โดยที่ผ่านมาได้ผลักดันภารกิจร่วมกับจังหวัดเป็นรูปธรรมหลายโครงการ เช่น ประสานให้เกิดโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการภัยพิบัติ หมอกควัน ไฟป่า ประสานให้เกิดโครงการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยพัฒนาอาหารหมักจากเศษเหลือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

     

 

          นอกจากนี้ ยังร่วมผลักดันโครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ ซึ่งดำเนินการร่วมระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อีกทั้ง มีส่วนผลักดันงาน วทน.เพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ด้านอื่นๆ โดยเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาจังหวัดด้านต่างๆ ได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนเมืองเกษตรสีเขียวเชียงใหม่ คณะทำงานกลั่นกรองแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ 4 ปี คณะทำงานพัฒนาจังหวัดด้วย วทน. เป็นต้น  ทั้งนี้ โฆษก วท. กล่าวเพิ่มเติมว่าปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือได้แก่ ปัญหาหมอกควัน และไฟป่า ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ของทุกปี  และ ศวภ.1 ได้มีบทบาทในการนำ วทน.มาร่วมแก้ไขปัญหา ด้วยการประสานงานกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมประเมินสถานการณ์หมอกควัน ไฟป่า มี War room ประจำ 9 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อนำข้อมูล GIS และภาพถ่ายดาวเทียมเข้าร่วมแก้ปัญหาภัยพิบัติดังกล่าว
 
           นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้คัดเลือกพื้นที่ อ.แม่แจ่ม นำร่องโครงการพัฒนาอาหารหมักจากเศษเหลือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโคขุน สามารถลดปัญหาฟกมอกควันได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรดังกล่าว และ ศวภ.1 ยังคงเป็นหน่วยเชื่อมโยงด้านองค์ความรู้ต่อไป จากการพบปะสื่อท้องถิ่นภาคเหนือครั้งนี้ ส่งผลให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ เชิญชวน ศวภ.1 ร่วมกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดซึ่งจะสื่อสารข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชน และประชาชนเป็นประจำทุกวันพฤหัสบดี นับเป็นโอกาสดีสำหรับการเผยแพร่บทบาท ผลงาน วท.ในพื้นที่ภาคเหนือได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

 
ข่าวโดย:เทียรทอง ใจสำราญ  กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สป.วท.
ภาพโดย:ศูนย์ประสานงาน วท.ประจำภูมิภาค ภาคเหนือตอนบน (ศวภ.1)

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป