.jpg)
วันนี้17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา13.00 น. รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติบรรยายเรื่องการใช้ฐานข้อมูลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมในพื้นที่จังหวัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการใช้ประโยชน์และการพัฒนาพื้นที่จังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.) (Geographical Area - based Mapping) ณ ห้องฝึกอบรมและเรียนรู้ ชั้น 6 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 |
 |
จากมติการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ณ กระทรวงมหาดไทย นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลยี ร่วมกันดำเนินการเรื่องการบริหารงาน วทน. ในจังหวัดและผลักดันแผนงานด้าน วทน. เพื่อพัฒนาจังหวัดให้เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ในแต่ละจังหวัด และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ทุกกระทรวงดำเนินการบูรณาการแผนงาน/โครงการในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่(Area-Based)เพื่อให้แผนงาน/โครงการที่จะดำเนินการในระดับพื้นที่จังหวัดสามารถตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงวิทย์ฯ มีนโยบายนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในจังหวัด/ชุมชน/ท้องถิ่น โดยการบูรณาการงานด้าน วทน. เพื่อนำศักยภาพของจังหวัดมาผสมผสานกับงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ การบริการและการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ให้แก่ท้องถิ่นเพื่อสามารถพึ่งตนเองและสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆเพื่อสนองตอบต่อเรื่องดังกล่าวในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยใช้ฐานความรู้ด้าน วทน.เป็นกลไกในการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ รวมทั้งมีการดำเนินภารกิจซึ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้บรรลุเป้าหมาย
รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวต่อว่า กระทรวงวิทย์ได้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อรายงานข้อมูลการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมในพื้นที่จังหวัดของกระทรวงวิทย์ ในการนำองค์ความรู้ด้าน วทน.ไปพัฒนาจังหวัด ระบบฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงข้อมูลในเชิงภูมิศาสตร์ ซืงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทย์ฯ และผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลแบบ Real Time อีกทั้งเพิ่มเติมข้อมูลและกรอกผลการดำเนินงานได้บน www.gmap.most.go.th
สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่1. ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นข้อมูลในการจัดการด้าน วทน. ในพื้นที่ 2.สามารถดูข้อมูล/ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆได้จากฐานข้อมูลดังกล่าวแทนการลงพื้นที่ 3.เป็นการรวบรวมการดำเนินงานโครงการในการนำ วทน. ที่ไปพัฒนาพื้นที่ในภาพรวมของ วท. เพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นข้อมูลในการบริหารงานด้าน วทน. ในพื้นที่ 4.จัดหวัดสามารถนำองค์ความรู้ด้าน วทน. ในพื้นที่อื่นไปปรับใช้ในการบริหารงานในพื้นที่จังหวัดของตัวเอง 5.เกิดแนวคิดในการนำงานด้าน วทน. ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับศาสตร์แขนงอื่นแบบบูรณาการ เช่น ด้านการเกษตร การท่องเที่ยว การพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ OTOP 6.เกิดการบรูณาการงานด้าน วทน. ร่วมกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่จังหวัด
ที่มาข้อมูล: สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (สส.)
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.)
ข่าวโดย: นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
ถ่ายภาพ : นายรัฐพล หงสไกร
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313