กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ อาศัยวิกฤติการผลิตกุ้งกุลาดำของประเทศคู่แข่ง ใช้เทคโนโลยีพัฒนาสายพันธุ์ มุ่งสู่การเป็นเจ้าตลาดในอนาคต

กระทรวงวิทย์ฯ อาศัยวิกฤติการผลิตกุ้งกุลาดำของประเทศคู่แข่ง ใช้เทคโนโลยีพัฒนาสายพันธุ์ มุ่งสู่การเป็นเจ้าตลาดในอนาคต

พิมพ์ PDF

 


     ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง (ศวพก.) ที่ จ.สุราษร์ธานี ของ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ทราบว่า ตลาดกุ้งกุลาดำทั่วโลกมีความต้องการปีละประมาณ 350,000 - 400,000 ตัน ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อประมาณ 20,000 บ่อ ผลิตได้ปีละ 2 รอบการผลิตที่ 21,000 ตัน ใช้ลูกกุ้งรอบละ 525 ล้านตัว ซึ่งผู้นำเข้ากุ้งกุลาดำสนใจซื้อกุ้งกุลาดำไทยเพิ่มขึ้น แต่ด้วยภาวะปัจจุบันประเทศคู่แข่งล้วนต่างประสบปัญหาด้านการผลิต ซึ่งการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดกุ้งกุลาดำในอนาคตได้
   
   

     รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ศวพก. เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเก็บรักษา วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำและสายพันธุ์อื่นที่เป็นกุ้งเศรษฐกิจและกุ้งพื้นเมืองเดิมในประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลอดโรคจากรุ่นสู่รุ่น โดยเน้นพัฒนาพันธุ์ที่เน้นน้ำหนักตัวที่อายุ 5 เดือนซึ่งเป็นอายุที่จับขาย จนถึงปัจจุบันพัฒนาสายพันธุ์ได้ถึงรุ่นที่ 7 มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเมื่ออายุ 5 เดือน 26 กรัมต่อตัว จากรุ่นสู่รุ่นได้พัฒนากุ้งที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยพบว่ากุ้งรุ่นที่ 6 มีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่ารุ่นที่ 5 ประมาณร้อยละ 30 จนถึงปัจจุบัน ศวพก. ได้ส่งลูกกุ้งให้เกษตรกรแล้ว 90 ล้านตัว และส่งพ่อแม่พันธุ์ให้เอกชน 3,500 ตัว อีกทั้งยังส่งกุ้งวัยรุ่นและลูกกุ้งให้ศูนย์เพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 15,000 และ 900,000 ตัวตามลำดับ สร้างมูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท

     ดร.วรวรงค์ กล่าวต่อว่า รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสนใจในองค์ความรู้ที่สะสมมาตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี โดยใช้เวลาพูดคุยและซักถามกับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยตลอดการเยี่ยมชม ศวพก. อย่างละเอียด ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในอาคารที่ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ณ 28 องศาเซลเซียส การผสมเทียมกุ้งพ่อแม่พันธุ์ การเพาะฟักไข่กุ้ง การดูแลลูกกุ้งและกุ้งวัยรุ่น ตลอดจนวิธีการวัดน้ำหนักกุ้งในบ่อปลอดเชื้อถึง 20,000 ตัว รวมถึงการควบคุมโภชนาการ เทคนิคการเลี้ยงและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ครอบครัวกุ้งรุ่นต่อไปตามแผนการผสมพันธุ์
 
    “ท่านรัฐมนตรีฯ ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาที่ยั่งยืน โดยขอให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งให้กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ พร้อมกับดึงเกษตรกรในพื้นที่ให้มามีส่วนร่วม เพราะศวพก. มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน" รองโฆษก วท. กล่าว
 
 
ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02 333 3727-3732 โทรสาร 02 333 3834
facebook : sciencethailand
Call Center : 1313

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป