10 กุมภาพันธ์ 2559/ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ เทศบาลตำบลเกาะสีชังและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดประชุมสร้างความรับรู้และรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่เกาะสีชัง เพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินการ “โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนเทศบาลตำบลเกาะสีชัง อำเภอเกาะ สี ชัง จังหวัดชลบุรี” บูรณาการทั้งงบประมาณและเทคโนโลยี 3 ฝ่าย วงเงิน 19 ล้านบาท หวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการบริหารจัดการขยะครบวงจรสร้างความ ยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนในพื้นที่ โดยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญพร้อมลงพื้นที่พบปะประชาชนและผู้นำท้องถิ่นด้วยตนเอง
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญการพัฒนาประเทศโดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสแห่งการ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยมอบนโยบายให้ทุกกระทรวงดำเนินงานที่ตอบสนองความร้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนให้ทั่วถึง เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ การขับเคลื่อนใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ลงไปในพื้นที่นั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) อาศัยกลไกความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การพัฒนาจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 เห็นชอบให้ขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ในแต่ละจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ “โครงการ บริหารจัดการขยะชุมชนเทศบาลตำบลเกาะสีชัง” เป็นหนึ่งในโครงการการบูรณาการงานด้าน วทน. ระหว่าง (วท.) กับเทศบาลตำบลเกาะสีชัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีซึ่งเป็นคลินิก เทคโนโลยีเครือข่ายภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
ปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า การประชุมร่วมกันระหว่างผู้สนับสนุนโครงการ ผู้ต้องสนับสนุนการเทคโนโลยี และเจ้าของเทคโนโลยี นับเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายได้มาหารือทำความเข้าใจร่วมกันเวทีแสดงความคิด เห็นจะนำไปสู่ทางออกที่เป็นประโยชน์เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่มีต่อโครงการฯ และการบริหารจัดการขยะของเกาะสีชัง นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้สามารถบริหารจัดการการขยะและสิ่งแวด ล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน อันนำไปสู่การพึ่งพาตนเองในการจัดการขยะได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด อันเป็นการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนต่อไป
ดร. พรรษา ลิบลับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า เทคโนโลยีการบำบัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีการแบบเชิงกล-ชีวภาพ เป็นอีกหนึ่งในผลงานการคิดค้น วิจัย พัฒนาทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ผ่านมาการวิจัยและพัฒนามาเกือบ 10 ปี เป็นเทคโนโลยีที่สามารถปรับเสถียรภาพของขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นเชื้อเพลิงขยะและปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายเพื่อจัดการขยะชุมชนทั่วประเทศ ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ดำเนินการสำเร็จและใช้ประโยชน์เป็นรูปธรรมแล้วที่เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา
นอกจากนี้ นายพิศิษฐ สิริสวัสดินุกูล นายอำเภอเกาะสีชัง รู้สึกยินดีที่หน่วยงานภาครัฐจากส่วนกลางอย่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้มองเห็นปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่และดูจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งเกาะสีชังก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อทุกหน่วยให้ความสำคัญ ทำให้ท้องถิ่นไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเพียงลำพัง ต้องขอขอบคุณที่เลือกอำเภอเกาะสีชังเป็นพื้นที่ที่ดำเนินการโครงการบริหารจัดการขยะ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณซึ่งเป็นการวางรูปแบบเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับโครงการที่ท้องถิ่นมีอยู่เดิม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกันได้อย่างลงตัว และเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่เกาะสีชังอย่างแท้จริง
ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
อีเมลล์ : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน Facebook : sciencethailand