กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วิทย์ฯ แสดงความยินดีกับบุคคลดีเด่นของชาติ 2551

รมว.วิทย์ฯ แสดงความยินดีกับบุคคลดีเด่นของชาติ 2551

พิมพ์ PDF

          วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความยินดีและยกย่องเชิดชูบุคลากรผู้ที่ทำประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประเทศชาติ  ณ ห้องรับรองพระจอมเกล้า ชั้น 4  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 


         โครงการบุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี 2551  คัดเลือกโดยอนุกรรมการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ จำนวน 8 ราย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระองค์ เมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2552ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ประเภทบุคคล 4คน ได้แก่ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ (สาขาพัฒนาสังคม /ด้านเภสัชกรรม)ผู้คิดค้นยาต้านไวรัสรวมเม็ด และได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะประจำปี 2552  ศ.ดรปราโมทย์ เดชะอำไพ (สาขา ว.และ ท./ด้านวิศวกรรมการคำนวณ) นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ (สาขา ว. และ ท. /ด้านจักษุวิทยา)และนายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย (สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิไทย /ด้านการออกแบบและควบคุมการผลิตผ้าไหมยกทอง)ประเภทหน่วยงาน 3หน่วยงาน ได้แก่ บริษัทชุมพรคาบาน่า จำกัด (สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ /ด้านเศรษฐกิจพอเพียง)บริษัทไอ.ซี.ที (1933)จำกัด (สาขา ว.และ ท.)มหาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทย)ประเภทโครงการ 1โครงการ คือ โครงการรักษ์ช้าง สร้างป่า พัฒนาคน ของมูลนิธิหมู่บ้านช้างการบินไทย จ.สุรินทร์ (สาขาพัฒนาคน)
         ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ เดชะอำไพ (ด้านวิศวกรรมคำนวณ) ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานได้แก่ พัฒนาระบบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อใช้วิเคราะห์และออกแบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ NASAเมื่อปี 2530 – 2535 เป็นเวลา 5 ปี และได้กลับมาทำงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทิศทางงานวิจัยได้เปลี่ยนไปสู่งานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และนอกจากนั้นยังนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมการคำนวณและความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคำนวณที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 30 ปี มาประยุกต์ใช้ทั้งในภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การแต่งตำราด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมคำนวณ การนำความรู้ด้านวิศวกรรมการคำนวณมาใช้วิเคราะห์และออกแบบงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ การประหยัดพลังงาน และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณลักษณะการไหลเวียนของอากาศในห้องปรับอากาศหรือในอาคารสูง ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง
        นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ (ด้านจักษุวิทยา) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)มีผลงานในการพัฒนาด้านจักษุวิทยาของโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)จนเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ โดยพัฒนาวิธีการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวด์ ให้เหมาะกับผู้ป่วยชาวไทยที่เลนส์ตาและต้อกระจกที่มีความซับซ้อน จนกระทั่งทำการผ่าตัดในต้อกระจกที่ยากได้เป็นอย่างดี รวมทั้งได้นำเทคนิคดังกล่าวไปเผยแพร่ในการประชุมวิชาการในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ริเริ่มจัดทำโครงการหุ่นยนต์ตรวจสายตา ซึ่งสามารถทำงานแทนแพทย์ในโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล เพื่อช่วยในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยหลังการออกหน่วยผ่าตัดต้อกระจก และยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการธนาคารแว่นตาและการออกหน่วยผ่าตัดต้อกระจกช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดต่างๆ

          บริษัท ไอ.ซี.ที ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2536 ดำเนินธุรกิจด้านระบบทำความเย็นอุตสาหกรรม ผลงานสำคัญที่บริษัทฯ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ ได้แก่ การออกแบบและสร้างระบบความเย็นให้แก่โรงงานผลิตอาหาร ในเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลก “เทคโนโลยีอะวอร์ด” หมวดอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต จากสมาคมแอชเร่ย์ (ASHRAE) สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2551 “แอชเร่ย์” เป็นสมาคมทางวิชาการด้านวิศวกรรมการปรับอากาศและทำความเย็นระดับโลก บริษัท ไอ.ซี.ที เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบทำความเย็นอุตสาหกรรมได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีนโยบายหลักที่จะลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ จึงมีการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนการนำเข้า เช่น ชุดไล่อากาศเพื่อประหยัดพลังงาน ซอฟร์แวร์ ไอ.ที.ซี.ลิ้งค์ ในการควบคุมระบบทำความเย็นชนิดออนไลน์ เป็นต้น ด้วยคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ได้มีประเทศต่างๆ ให้ความไว้วางใจในการออกแบผลิตและติดตั้งเครื่องจักร เช่น สิงคโปร์ จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง ผลงานของบริษัทฯ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในการใช้เทคโนโลยีด้านทำความเย็นอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ต่างประเทศยอมรับในผลงานและความสามารถของคนไทย เป็นการขยายโอกาสให้แก่ทุกหน่วยงานต่างๆ ทุกภาคส่วนในการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศต่อไปในอนาคต


ผู้เขียนข่าว : จิตติมา เหมือนเสน โทร 02 354 4466 ต่อ 120

ถ่ายภาพโดย : สุนิสา ภาคเพียร โทร 02-3544466 ต่อ 199
ผู้ตรวจข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป