หลังจากที่ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้ตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ สถาบันพลังงานนิวเคลียร์เวียนาม (Vietnam Atomic Energy Institute :VINATOM) เมื่อกลางปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2559 สทน.จึงเป็น เจ้าภาพการจัดประชุม TINT-VINATOM 1st Joint Workshop on Nuclear Power Plant Safety Research เพื่อสรุปแนวทางการดำเนินกิจกรรมวิจัยด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ร่วมกัน
ทั้งประเทศไทยและเวียดนามต่างเป็นประเทศสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศด้านนิวเคลียร์ ทั้งระดับ ภูมิภาคเอเชียและระดับโลก อาทิ หรือ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA : International Atomic Energy Agency) มีสมาชิก 161 ประเทศ, สภาความร่วมมือทางด้านนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย (FNCA : Forum for Nuclear Cooperation) มีสมาชิก 12 ประเทศ และ ข้อตกลงความร่วมมือระดับ ภูมิภาคเพื่อการวิจัย พัฒนาและการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในเอเชีย และแฟซิฟิค (RCA : Regional Cooperative Agreement for Research, Development and Training Related to Nuclear Science and Technology for Asia and the Pacific) มีสมาชิก 34 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันในทั้งประเทศไทยและเวียดนามต่างพัฒนาด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อให้เกิดความร่วมมือพร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นิวเคลียร์ในอนาคต ตลอดจนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานวิจัย อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งสองประเทศจึง เห็นควรมีการหารือกันอย่างเป็นทางการขึ้น
ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์ ผู้อ านวยการ สทน. ฐานะประธานที่ประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้กล่าวว่า “หลังจากมีการตกลงว่า สทน. และ VINATOM จะร่วมมือกันร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงาน นิวเคลียร์ในทางสันติ สทน.ก็เตรียมการส าหรับความร่วมมือในครั้งนี้ โดยได้ก าหนดกลุ่มนักวิจัยที่จะร่วมท างาน กับทาง VINATOM แล้ว การประชุมในครั้งนี้เพื่อมาพิจารณาและก าหนดหัวเรื่องของการวิจัยให้มีความชัดเจน มากยิ่งขึ้น โดยเน้นงานวิจัยเรื่องความปลอดภัย และสทน.จะเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการเฝ้าระวัง ทางรังสีในระดับภูมิภาค เพราะเชื่อว่ากิจกรรมทางนิวเคลียร์ในภูมิภาคนี้จะเริ่มพัฒนาขึ้น
หลังจากที่โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ที่ประเทศเวียดนามเริ่มเดินเครื่อง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 75/47 ถนนพระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2333 3700 ต่อ 3727 – 3732 โทรสาร 0 2333 3833 www.most.go.th www.tint.or.th หลังจากมีการนำเสนอผลงานวิจัย และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายได้สรุปผลการประชุมและภารกิจที่จะทำร่วมกัน คือ การประเมินผลกระทบของอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้า Ninh Thuan 1 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของเวียดนามซึ่งคาดว่าจะเดินเครื่องอย่างเป็นทางการปี 2569 กิจกรรมนี้จะเริ่มดำเนินการทันทีโดยจะเริ่มจากการร่วมกันประเมินสภาพปัญหา โดยการตั้งสมมติฐาน หากมีอุบัติเหตุทางรังสีเกิดขึ้น สารกัมมันตรังสีที่ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า Ninh Thuan 1 ประเทศเวียดนาม และ โรงไฟฟ้า Fangchenggang ประเทศจีน ในอุบัติเหตุระดับ 4 – 7 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วย เหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ ( INES) โดยจะประเมินระยะเวลาในการแพร่กระจายให้ครอบคลุมการเดินทางของ สารกัมมันตรังสีมาถึงยังเขตแดนของประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อให้แต่ละประเทศได้วางแนวทางในการ ป้องกันอันตรายหากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้น ทั้งนี้สทน. รับจะเป็นผู้ร่างข้อเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมนี้เพื่อ ส่งให้ผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายพิจารณา
สุดท้ายจากการเริ่มต้นความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรมีการจัดกิจกรรมนี้ทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลัง นิวเคลียร์
เขียนข่าวโดย นางสาวปณิธา รื่นบรรเทิง ฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทร. 02 401 9889 ต่อ 1102 ส่งข่าววันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559