![]() |
![]() |
ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Kickoff Workshop for Inter- laboratory Comparison Exercise for Hydraulic Pressure Standard” ระหว่างวันที่ 25-29 มกราคม 2559 โดยมีนายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เทคโนธานี คลอง5 รังสิต – นครนายก
การประชุมดังกล่าวมีแนวคิดจากการได้เข้าร่วมกิจกรรมกับ APMP-DEC (Asia Pacific Metrology Programme – Development Economy Country) ในโครงการ APMP-DEC Hydraulic pressure 10 MPa to 100 MPa comparison exercise 2008 โดย NML SIRIM ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันมาตรวิทยาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี PTB – Physikalisch-Technische Bundesanstalt (The National Metrology Institute of Germany) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดันประเภท High accuracy และการเข้าร่วมกิจกรรมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ
เพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาดังกล่าว มว.ได้มีการวางแผนขยายโครงการให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในคราวเดียวกัน หรือ Work Package ดังนั้นจึงได้มีการจัดหลักสูตร Hydraulic pressure (10 to 100) MPa comparison exercise ซึ่งห้องปฏิบัติการความดัน ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล (Pressure Lab) มว. เป็นเจ้าภาพ โดยอยู่ภายใต้ โครงการ MEDEA Project ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรวิทยาจาก APMP และ APLMF ( Asia- Pacific Legal Metrology Forum) โดยได้รับความร่วมมือ จาก Dr. Tokihiko Kobata และ Dr. Horiaki Kajikawa ฝ่ายมาตรวิทยาความดัน ของ สถาบันมาตรวิทยาประเทศญี่ปุ่น (National Institute Metrology of Japan : NMIJ)มาร่วมบรรยาย และผู้แทน PTB Dr. Kristin Kiesow ผู้ประสานงานโครงการด้านความร่วมมือทางวิชาการภูมิภาคเอเชีย โดย PTB สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดผ่าน MEDEA project มีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี นับจาก เดือนมกราคม 2559 – ธันวาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ด้านการวัดความดัน high accuracy ให้กับ สถาบันมาตรวิทยาต่างๆ (NMI) ที่มีประสบการณ์ในระดับนี้ไม่มากนักให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางการวัดในระดับ NMI และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม APMP Key Comparison in Pressure เพื่อสร้าง evidence
สำหรับการ submit CMC ในอนาคต โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม คือ
1. Kickoff Workshop มีผู้เข้าร่วม 19 คนจาก 11 NMI ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล มองโกเลีย กัมพูชา ปาปัวนิวกินี และ สาธารณรัฐคีร์กีซ โดยมี มว.เป็นเจ้าภาพ
2. Inter-Laboratory Comparison Exercise in Hydraulic Pressure (10 MPa to 100 MPa) บาง NMI ที่ไม่พร้อมก็ต้องถูกคัดออก ซึ่งประเมินโดย expert visit มี มว.เป็น pilot lab และ NMIJ สนับสนุน comparison artifact
3. Conclusion meeting & workshop จัดที่ มว. อีกครั้งในปลายปี 2560 เพื่อสรุปผลการเปรียบเทียบผลการวัด
ส่วนทางด้าน Dr. Tokihiko Kobata จาก NMIJ มองว่า การจัดเวิร์คช็อปในครั้งนี้น่าจะประสบความสำเร็จในแง่ของการสร้างความรู้ความเข้าใจการเปรียบเทียบผลการวัดให้กับประเทศ DEC ซึ่งหลังจากการเวิร์คช็อป 5 วันนี้ จะมีกิจกรรมแบบฝึกหัดเปรียบเทียบผลการวัด หลังจากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างกัน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศที่เข้าร่วม ในกิจกรรมการเปรียบเทียบผลการวัดในการนำผลที่ได้ไปขอ ความสามารถทางการสอบเทียบและการวัด (Calibration Measurement Capability : CMC)
ส่วนทางด้านตัวแทนจากแต่ละประเทศที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ต่างมองว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสอบเทียบเครื่องมือวัดได้มากขึ้น และมีประโยชน์อย่างมาก ทำให้มีทักษะมากขึ้นในการเข้าร่วมกิจกรรมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ
Mr. Bhuwan Dawadi – Nepal Bureau of Standards and Metrology : NBSM ตัวแทนจากประเทศเนปาล
Mr. Almazbek Baialiev Center for Standardization and Metrology Ministry of Economy of the Kyrgyz Republic ตัวแทนจาก สาธารณรัฐคีร์กีซ
Mrs. Altansetseg Tserenpil- Mongolian Agency Standardization and Metrology (MASM) ตัวแทนจากประเทศมองโกเลีย
Mrs. Sarah Jane Digay
Mr. Adindra Vickar Ega
Mr. Quang Duong Duc - Vietnam Metrology Institute (VMI) ตัวแทนจากประเทศเวียดนาม
Mrs. Jamumi Shanika Manoji Silva – Measurement Units, Standards and Services Department (MUSSD) ตัวแทนจากประเทศศรีลังกา
Mr. Md Zahid Hasan –Bangladesh Standards and Testing Institution ( BSTI) ตัวแทนจากประเทศบังคลาเทศ
Mr. Vannsis Suy – National Metrology Center (NMC) ตัวแทนจากประเทศกัมพูชา
Mr. Jeffrey Gabriel – National Institute of Standards and Industrial Technology ( NISIT) ตัวแทนจากประเทศ ปาปัว นิว กินี
ความสำเร็จของกิจกรรมนี้ จะช่วยสร้างประโยชน์โดยรวมต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ( National Quality Infrastructure : NQI) ในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นกรอบโครงสร้างเชิงองค์กรที่ทำงานร่วมกัน ประกอบด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมาตรวิทยา (Metrology) การมาตรฐาน (Standardization) การทดสอบ (Testing) และการบริหารคุณภาพ (Quality Management) เพื่อสร้างคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีผลทำให้สินค้าเข้าสู่ตลาดของอีกประเทศหนึ่งโดยไม่ต้องตรวจซ้ำ เป็นการอำนวยความสะดวกเชิงการค้า ลดต้นทุน ลดเวลาในการตรวจสอบ และกิจกรรมในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะทำให้ระบบมาตรวิทยาของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับบนเวทีโลก
ผู้เขียนข่าว : นางสาวกล่องเพชร จันทรโคตร
สัมภาษณ์ : นางสาว ชนิกชา จันทร์ศิริ
ผู้ประสานงาน : นายประสิทธิ์ บุบผาวรรณา / นางสาววัชรีพร กลิ่นขจร
http://www.nimt.or.th เบอร์โทรศัพท์ 02 577 5100 ต่อ 4226 -7 เบอร์แฟกซ์ 02 577 2823
e-mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
เผยแพร่ข่าว : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313