วันนี้นายกรัฐมนตรีมีเรื่องที่อยากจะพูดคุยกับพี่น้องประชาช นผ่านผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
- ประการแรก เรื่อง การสร้างความเข้าใจของพี่น้องประชาชน ข้าราชการ เอกชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วน ขอเรียนว่าการชี้แจง ทำความเข้าใจต่อพี่น้องประชาชน รวมทั้งข้าราชการโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐในระดับพื้นที่นั้น ยังไม่ทั่วถึงนัก ยังไม่มองถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาแบบองค์รวม ให้ครบวงจรในทุกกิจกรรม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน การสร้างการรับรู้ในช่วงที่ผ่านมาให้กับทุกภาคส่วนมีน้อยมาก รัฐบาลนี้ต้องการสร้างความยั่งยืน โดยทำให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายมีความเข้มแข็งในตนเอง เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วน ตัวอย่างคือ หลายเรื่องที่มีความขัดแย้ง ฝ่ายหนึ่งเสนอ ฝ่ายหนึ่งคัดค้าน ทั้งพวกเสียประโยชน์ การเมือง องค์กรต่าง ๆ NGO ตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายที่เสนอก็ส่งเรื่องให้รัฐบาลตัดสินใจ แม้ว่ารัฐบาลจะมีอำนาจตามกฎหมาย แต่ถ้าตัดสินใจอย่างทันที ความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น ไม่ใช่ว่าไม่กล้าทำอะไร แต่รัฐบาลต้องพยายามลดความขัดแย้งนั้นลงให้ได้ หากผู้เสนอ ผู้หวังดี อยากช่วยรัฐบาล ท่านก็ไปหารือกลุ่มต่อต้าน กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยเหล่านั้นด้วย หาข้อยุติให้ได้ อะไรทำได้ ทำไม่ได้ แล้วเอาที่ทำได้มาให้รัฐบาลทำก่อน ไม่ใช่เอาปัญหากิจกรรมเดียว กว่า ๑๐ ปัญหาทับซ้อน มาให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมาย การเริ่มต้นการปรองดอง ที่ต้องเริ่มจากภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ร่วมกันแสวงหาความร่วมมือกันก่อน ก้าวข้ามความขัดแย้ง
- ประการที่สอง เรื่องการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบันการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ การทำประมงผิดกฎหมาย กำลังดำเนินแก้ไขอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ทุกอย่างเป็นไปตาม Road Map ตามแผน และตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ ทั้งกิจกรรมหลัก รอง โดยคำนึงถึง กฎ กติกา ประชาคมโลก กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายในประเทศ รวมทั้งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกมิติ ทั้งผู้ประกอบการ และลูกจ้าง ทุกคนร่วมกันทำงานตามบทบาทหน้าที่ ตามแผนที่กำหนด
- ประการที่สาม เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรัฐบาลนี้มุ่งเน้นในเรื่องการศึกษาและการสาธารณสุข ด้านการสาธารณสุขนั้น ยึดหลักการความทั่วถึง เป็นธรรม สอดคล้องกับระบบการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลต่าง ๆ รวมถึงการบริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ มีความโปร่งใส ประชาชนไว้วางใจ ประชาชนมีสุขภาพที่ดี สติปัญญาดี ด้านการศึกษา เริ่มตั้งแต่การศึกษา มุ่งเน้นการผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศและต่างประเทศ พัฒนาคนในรุ่นปัจจุบัน และเตรียมคนสู่อนาคตตั้งแต่ก่อนวัยเรียน วันนี้ต้องเร่งทำให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย
- ประการที่สี่ เรื่องการปฏิรูป และการบูรณาการ การปฏิรูปที่คสช. รัฐบาล สนช. สปท. กำลังดำเนินการนั้น ขอให้มองภาพใหญ่ คือ 11 ด้านการปฏิรูป ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และ 37 วาระที่ สปช. เดิมทำไว้ รวมทั้งแผนการปฏิรูปที่ สปท.กำลังขับเคลื่อน ทุกเรื่อง ทั้งที่ปฏิรูปไปแล้ว กำลังทำ และกำหนดไว้ให้ทำต่อ มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกันหลายมิติ ดังนั้นข้าราชการทุกกระทรวงต้องมีการบูรณาการกัน ทั้งภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน ร่วมกันจัดทำแผนงาน งบประมาณแบบบูรณาการให้ได้ งานสำคัญของรัฐบาลนี้ เช่น การบริหารจัดการน้ำ การจัดที่ดิน การปรับโครงสร้างการเกษตร นโยบายประชารัฐสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ล้วนแล้วแต่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการบูรณาการทุกส่วนราชการทั้งนั้น มิเช่นนั้นปัญหาจะแก้ไขไม่ได้ การปฏิรูปจะเดินต่อไม่ได้
- ประการที่ห้า การประชาสัมพันธ์ การสร้างความเข้าใจ และการสร้างการรับรู้ของรัฐบาลและ คสช. เริ่มจาก 1. นโยบาย ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและ คสช. แผนปฏิรูป กิจกรรมหลัก-รอง-เสริม เป็นกรอบใหญ่ 2. การนำสู่การปฏิบัติ การติดตาม ขับเคลื่อน รัฐบาลและ คสช. ผลงานโดยสรุป 3. การประชาสัมพันธ์ ทีมประชาสัมพันธ์ รัฐบาลกระทรวง ผลงาน บูรณาการ กลุ่มงาน คณะกรรมการขับเคลื่อน 4. ตั้งกรอบให้ชัด Roadmap 1 – 2 - 3 ระยะที่ 1 คสช. ระยะที่ 2 คสช. รัฐบาล แก้ไข บริหาร ปฏิรูประยะที่ 1 ระยะที่ 3 ส่งต่อรัฐบาลใหม่ แผนปฏิรูป ยุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อตั้งโจทย์วางระยะเวลาผลสัมฤทธิ์ว่าจะต้องดำเนินการเร่งด่วนในระยะสั้น ให้สำเร็จภายใน 1 ปี ครึ่ง และส่งแผนยุทธศาสตร์อีก 20 ปี ในทุกกิจกรรม ในแผนปฏิรูปให้รัฐบาลหน้าไปพิจารณา ดำเนินการต่อ อย่างยั่งยืน ต่อเนื่องด้วยการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล
- ประการที่หก การสร้างการรับรู้ ปัจจัยสำคัญที่สื่อต้องคำนึงถึง ไปพร้อม ๆ กัน คือ ข้อเท็จจริง สิ่งที่หลายฝ่ายขัดแย้ง นำมากล่าวอ้าง เรากำลังทำอะไร แก้อะไร ปัญหาเกิดเมื่อไหร่ เราเข้ามาเพื่อทำในสิ่งที่เขาทำไม่ได้ รัฐบาลและ คสช. ทำตามความรู้สึกไม่ได้ ต้องรับฟังทุกฝ่าย ให้ได้ข้อยุติ อย่างไรทำได้ ไม่ได้ ไม่ใช่เอามาติทั้งหมด การกล่าวอ้างเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้สื่อ สังคม ย้อนกลับไปดูก่อน ว่ามีข้อกฎหมายหรือไม่ ทำผิดกฎหมายหรือเปล่า รัฐบาล คสช. รู้สถานะตนเองดี ไม่เคยปฏิเสธความรับผิดชอบสิ่งที่ทำ แต่ไม่ใช่ติติงทุกเรื่อง จนเกิดความขัดแย้ง ทำไม่ได้สักอย่าง ไม่ให้ความร่วมมือ กลับขยายความขัดแย้ง กลุ่มการเมืองที่ทำให้ คสช. ต้องเข้ามา วิพากย์วิจารณ์ในสิ่งที่เขาไม่ทำ ไม่เคยทำ วิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่สุจริต ส่งเรื่องความขัดแย้งไปต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ อ้างความชอบธรรม ทำไมไม่สร้างการรับรู้ ว่าเขาทำอย่างไร ผิดถูกบ้าง สื่อควรให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย อย่างที่กล่าวว่า ต้องมีจรรยาบรรณ
- ประการที่เจ็ด เรื่องปฏิรูป รัฐธรรมนูญ ก็ทำตามหน้าที่กันอยู่ ประเด็นคือ ถ้าไม่เข้าใจว่า ปัญหาประเทศ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ความเข้มแข็ง ขีดความสามารถของประเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างยั่งยืน ที่ไม่เคยเกิดขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม แก้ปัญหา ไม่ครบวงจร แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเดียว ด้วยการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นการสร้างภาพลวงตา ประชาชนเข้าใจผิด เข้มแข็งด้วยตัวเองไม่ได้ กับการที่รัฐบาล คสช. ปัจจุบัน พยายามจะทำให้ยั่งยืน ไม่ควรเอามาเปรียบเทียบกัน เพราะคิดกันคนละอย่าง หากทุกคนคิดว่า วันข้างหน้า เราจะอยู่กับแบบเดิม ก็ไม่ต้องไม่ทำอะไรใหม่ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ทำแผนปฏิรูป แล้วก็อยู่กับแบบเดิม ๆ เมื่อ คสช.ไปแล้ว
สรุปสาระโดย: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลจาก: เว็บไซต์รัฐบาลไทย