กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก.วิทย์ฯ ประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานภูมิภาคระยะแรก ใช้เป็นแนวทางปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับพื้นที่ในระยะถัดไป

ก.วิทย์ฯ ประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานภูมิภาคระยะแรก ใช้เป็นแนวทางปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับพื้นที่ในระยะถัดไป

พิมพ์ PDF


       เมื่อวันที่ 15-16 มกราคม 2559 ณ ไร่กุสุมา รีสอร์ท อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาค” พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงานระยะที่ 1 (พ.ศ.2555-2558) เพื่อนำไปสู่การปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในระยะที่ 2 (พ.ศ.2559-2562) โดยได้รับเกียรติจากนายอลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการประชุมดังกล่าว
     
      นายอลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินงานโครงการศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาค (ศวภ.) ตามมติ ค.ร.ม. เมื่อปี 2554 โดยให้มีพื้นที่นำร่องในการปฏิบัติการของศูนย์ประสานงานภูมิภาค 8 พื้นที่ (ระยะแรกปี พ.ศ.2555-2558) ต่อมาได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ 4 ศูนย์ใน 4 ภูมิภาคโดยอาศัยพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเป็นสำนักงาน ประกอบด้วย ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคเหนือตอนบน (ศวภ 1) อยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน      (ศวภ 2) อยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น/ ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคใต้ (ศวภ 3) อยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคตะวันออก (ศวภ 4) อยู่ในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการให้มีหน่วยงานย่อยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระจายอยู่ตามภูมิภาค ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานระดับพื้นที่ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปสู่การพัฒนาจังหวัด ท้องถิ่น เป็นรูปธรรมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 
 
      ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานในระยะแรกของ ศวภ. จะต้องมีการรายงานความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรีทราบ จึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานในระยะที่ 1  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการดำเนินโครงการในระยะที่ 2 (พ.ศ.2559-2560) ตลอดจนจัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานฯ ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้เข้มแข็งเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น  
         ประเด็นการศึกษาประเมินผลประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านโครงสร้างพื้นฐาน มิติด้านระบบการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงกับจังหวัด มิติด้านผลการดำเนินงาน และมิติด้านความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยผลจากการศึกษาของผู้ประเมินโครงการ พบว่า ในมิติที่ 1 ด้านโครงสร้าง ศวภ. ยังมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ไม่ชัดเจน  ความซ้ำซ้อนของบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงานในสังกัด วท. และการมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่บุคลากรที่ยังไม่ชัดเจน มิติที่ 2 แนวทางการบริหารจัดการยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติและไม่สามารถกำหนดการดำเนินงานล่วงหน้าได้  มิติที่ 3 ด้านผลผลิตยังไม่สามารถดำเนินงานได้ครบตามตัวชี้วัด หรือลักษณะการดำเนินงาน ศวภ.ไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและเป้าประสงค์ของการจัดตั้ง ศวภ.

 

        ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว ได้มีข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนา ศวภ.ที่มีอยู่เดิมทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ การกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ ศวภ.ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดการดำเนินงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ที่ชัดเจน พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สภาพความจำเป็นและความต้องการของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน โดยยกระดับการทำงานจากการเป็นตัวกลางหรือคณะทำงานด้าน วทน. ให้สู่การเป็นคลัสเตอร์ประสานงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายท้องถิ่นและหน่วยงานด้าน วทน.เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบ Science Cluster ที่มีองค์ประกอบจากกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม


ข่าวโดย: เทียรทองใจสำราญ
ภาพโดย:สุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
E-mail :   
  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 


 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป